พื้นที่โฆษณา

พื้นที่ติดเชื้อสีแดงเกือบทั้งโคราช จากการติดเชื้อโควิด-19  ที่มียอดติดเชื้อวันนี้อยู่ที่ 502 ราย และยังมีผลตรวจ ATK + จำนวน 296 ราย รวมติดเชื้อ จำนวน 798ราย และไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง ตราบที่คนโคราชไม่มหันตภัยร้ายจากเชื้อนรก โควิด “วิเชียร”ผวจ.โคราช สงสัยคำสั่ง สธ.ให้ โรงพยาบาลทั่วประเทศจัดบริการรักษาแบบผู้ป่วยนอก(OPD)ในผู้ติดเชื้อที่ไม่มีอาการ หรืออาการน้อย คือรักษาแบบไหน ต้องประชาสัมพันธ์ให้ชาวบ้านได้เข้าใจ “หมอมหาราช”แจงยังรักษาเหมือนเดิม เพียงเตรียมความพร้อม เพื่อรักษาแบบ “โรคประจำถิ่น” รองนายอพทย์สาธารณสุขแจง ผู้สูงอายุที่ป่วยติดเชื้อ โควิดรักษาหายแล้วโดยเฉพาะผู้ชายจะมีอาการของโรคLong COVID ประมาณ 2 เดือน ส่วนเด็กจะมีอันตรายจากโรค MIS-C หากอาการหนักถึงตาย เตือนผู้ปกครองเฝ้าระวัง!!

พื้นที่โฆษณา

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อ-และคณะอนุกรรมการศูนย์ติดตามสถานการณ์ตอบโต้โรคติดเชื้อโควิด-19จังหวัด โดยนายสมเกียรติ วิริยะกุลนันท์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา , นพ.วิญญู จันทร์เนตร รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา  พร้อมเจ้าหน้าที่ผู้เกี่ยวข้อง ได้รายงานสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 จ.นครราชสีมา วันที่ 28กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2565 พบผู้ติดเชื้อในพื้นที่ชุมชนเพิ่มขึ้นอีก   502 ราย และยังมีผลตรวจ ATK + จำนวน 296 ราย รวม +798ราย แยกเป็นการติดเชื้อนอกเขตจังหวัด 14 ราย เป็นผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ (อิสราเอล) 1 ราย  มาจากพื้นที่เสี่ยง (กทม.) 3 ราย  มาจากพื้นที่เสี่ยง (ชลบุรี) 2 ราย มาจาก พื้นที่เสี่ยง (ชัยภูมิ) 3 ราย  มาจากพื้นที่เสี่ยง (สมุทรปราการ) 2 ราย  ป่วยจาก ชลบุรี กลับมารักษา  2 รายป่วยจาก ระยอง กลับมารักษา  1 ราย  และติดเชื้อในเขตจังหวัด 488 ราย

พื้นที่โฆษณา

.จากสถานการณ์นี้ทำให้จังหวัดนครราชสีมา มีผู้ป่วยติดเชื้อสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 รวม 17,557 ราย  ยังรักษาอยู่ 7,564 ราย  รักษาหายสะสม 9,953 ราย  เสียชีวิตสะสม 40 ราย  โดยในวันนี้มีผู้เสียชีวิต 1 ราย เป็นรายที่ 40 ของจังหวัดนครราชสีมา เป็นเพศชาย อายุ 92 ปี มีภูมิลำเนาอยู่ที่ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา เป็นผู้สูงอายุมีอาการป่วยติดเชื้อโควิด-19 เมื่อวันที่ 9 กพ.65 เข้ารักษาตัวที่ รพ.มหาราชอาการไม่ดีขึ้นและเสียชีวิตเมื่อ 28 กพ.65 รายงานยังได้แบ่งผู้ป่วยติดเชื้อตามรายอำเภอปรากฏว่า อ.เมือง มีผู้ติดเชื้อสูงสุด 140 ราย  รองไปเป็น อ.ครบุรี 46 ราย ถัดไปเป็น อ.ปากช่อง 45 ราย, อ.ด่านขุนทด 36 ราย, อ.สูงเนิน 27 ราย, อ.จักราช 24 ราย, อ.เสิงสาง 22 ราย, อ.ชุมพวง 22 ราย, อ.ปักธงชัย 21 ราย, อ.บัวใหญ่ 19 ราย, อ.โนนสูง 17 ราย, อ.โชคชัย 17 ราย, อ.แก้งสนามนาง 14 ราย, อ.บ้านเหลื่อม 10 ราย, อ.เมืองยาง 9 ราย, อ.พิมาย 8 ราย, อ.ขามสะแกแสง 6 ราย, อ.พระทองคำ 4 ราย, อ.โนนแดง 4 ราย, อ.สีดา 4 ราย, อ.สีคิ้ว 4 ราย, อ.วังน้ำเขียว 2 ราย และ อ.ลำทะเมนชัย 1 ราย

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้สอบถามทางโรงพยาบาลมหาราชถึงกรณีที่มีหนังสือด่วนที่สุดจาก “ศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์ และสาธารณสุข กรณีโรคติดเชื้อโควิด สำนักปลัดกระทรวงสาธาณสุข” แจ้งมายังสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และโรงพยาบาลทั่วประเทศ เรื่องการเตรียมการดูแลรักษาผู้ป่วยจากการติดเชื้อไวรัสโคโรน่า 2019 (COVID-19) กรณีที่ผู้ป่วยติดเชื้อไม่แสดงอาการป่วยหรืออาการป่วยน้อย และแจ้งว่าในขณะนี้ประเทศไทยได้รับการระบาดอย่างรวดเร็วจากโควิดเชื้อโควิดสายพันธ์ “โอมิครอน”( Omicron)เพิ่มขี้นอย่างต่อเนื่อง และเพื่อเป็นการเตรียมความพร้อม ในการดูแลผู้ป่วยแบบโรคประจำถิ่น ( Endemic ) โดยให้โรงพยาบาลทุกแห่งได้มีการเริ่มเตรียมความพร้อมตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2565 และขอให้การจัดบริการรักษาแบบผู้ป่วยนอก(OPD) สำหรับผู้ป่วยติดเชื้อไม่แสดงอาการ หรือผู้ป่วยที่มีอาการไม่มาก วิธีการคืออย่างไร ทั้งนี้เพื่อให้ประชาชนได้เข้าใจในการรักษาพยาบาลตั่งแต่วันนี้ไป

นายแพทย์เจษฎ์ บุณยวงศ์วิโรจน์ รองผู้อำนวยการภารกิจด้านอำนวยการ โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา ได้แจ้งให้ที่ประชุมทราบว่า เป็นแนวทางการรักษาพยาบาลผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ที่มีเป้าหมายเริ่มการดำเนินการประมาณเดือนมิถุนายน ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขมีความมั่นใจว่าการติดเชื้อแม้จะรวดเร็ว แต่ความรุนแรงถึงขั้นอันตรายสำหรับผู้ป่วยที่ไม่ใช่กลุ่ม 608 เมื่อมีผลตรวจว่ามีการติดเชื้อไม่รุนแรง ก็จะแจ้งหรือแนะให้ผู้ป่วยดูและ และสังเกตอาการอยู่ที่บ้าน โดยให้สังเกตตัวเองอยู่ที่บ้าน Self Observation ตามความสมัครใจผู้ป่วย  เพื่อขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขมีความพร้อมในด้านของเวชภัณฑ์ และวัคซีนที่พร้อมจะดูแลผู้ป่วย ซึ่งจากนี้ไปโควิดก็จะเป็นแค่โรคประจำถิ่น

พื้นที่โฆษณา

“สำหรับในช่วงตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม เป็นต้นไปทางโรงพยาบาลมหาราชก็คงจะมีการรักษาคนไข้เหมือนเดิม คนไข้ที่มีอาการมากก็จะรับเข้ารักษาในโรงพยาบาลเช่นเคย ส่วนผู้ป่วยที่เป็นสีเหลืองและสีเขียว ก็จะนำไปรักษาที่โรพยาบาลสนาม หรือ กักตัวในชุมชน Community Isolation(CI) และ ขอรักษาตัวอยู่บ้าน แบบ Home Isolation (HI)ตามความสมัครใจเช่นเดิม ซึ่งก็จะเป็นระบบเดียวกับ การสังเกตตัวเองอยู่ที่บ้าน Self Observation โดยคำสั่งดังกล่าวเป็นเพียงสั่งการที่ให้มีการเตรียมพร้อมสำหรับการดำเนินการกับคนไข้ ที่มีความสมัครใจ เพียงแต่จะมีอุปกรณ์บางอย่างที่ไม่มีให้ผู้ติดเชื้อเท่านั้น”นายแพทย์เจษฎ์ กล่าว

ด้านนายแพทย์วิญญู จันทร์เนตร รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ได้กล่าวถึงเด็กที่ติดเชื้อโควิด-19 และรักษาหาย อาจมีอาการของโรค MIS-C อันเป็นอาการอักเสบหลายระบบ ที่เป็นภาวะแทรกซ้อนรุนแรงหลังเด็กหายจากการติดเชื้อโควิด ซึ่งอาการจะเริ่มขึ้นระหว่าง 2-6 สัปดาห์หลังหายจากการติดเชื้อ  โดยสาเหตุน่าจะมาจากการตอบสนองของภูมิคุ้มกันจากเชื้อไวรัสนี้มากเกินไป ซึ่งเด็กที่ป่วยเป็นโรคนี้อาจเกิดอาการซ๊อค หรือเสียชีวิตได้แม้จะมีสุขภาพแข็งแรงก็ตาม ซึ่งผู้ปกครองจะต้องเฝ้าระวังเด็กที่หายจากการติดเชื้อโควิด หากพบว่าเด็กมีอาการเป็นโรค MIS-C หรือโรคคาวาซากิต้องรีบพาเด็กเข้าพบแพทย์โดยด่วน สำหรับอาการของโรค MIS-C หรือ คาวาซากิ ที่เกิดขึ้นกับเด็กจะมีการมีไข้สูง มีผื่น ตาแดง หรือปากและลิ้นแดง มือเท้าบวมแดง และมีต่อมน้ำเหลืองที่คอโตคลายคลึงกับโรคคาวาซากิ มีอาการถ่ายเหลว ปวดท้องและอาเจียน  หากมีอาการรุนแรงผู้ป่วยอาจช๊อคและเสียชีวิดได้

“สำหรับผู้ใหญ่ก็จะมีอาการของโรค Long COVID จะมีอาการตามมาหลังจากการติดเชื้อโควิด-19 อันเป็นอาการที่หลงเหลือหลังการติดเชื้อ ส่วนมากตั้งแต่ 3 เดือนที่ตรวจพบเชื้อ และจะมีอาการต่อเนื่อง 2 เดือน ซึ่งเกิดขึ้นได้หลายระบบ และจะหายได้เอง และหากมีอาการนานต่อเนื่องในระยะ 2 เดือนก็ต้องรีบพบแพทย์ โดยกลุ่มเสี่ยงต่อการเกิดภาวะ Long COVID ก็จะเป็นกลุ่มผู้สูงอายุเพศชาย โดยเฉพาะผู้ป่วยกลุ่ม 608 โดยอาการของโรคมีผลกระทบกับอวัยวะต่างๆของร่างกาย เช่นสมอง ระบบผิวหนัง ระบบของร่างกายที่มีอาการอ่อนเพลีย ระบบหัวใจและหลอดเลือด รวมทั้งระบบทางเดินหายใจ หลอดลมและปอด”นายแพทย์วิญญูกล่าว

ทีมข่าว MC. news.com รายงานจากจังหวัดนครราชสีมา