พื้นที่โฆษณา

แดงเถือกทั้งโคราช การติดเชื้อโควิด-19  ที่มียอดติดเชื้อสูงขึ้นตลอดทั้งสัปดาห์ที่ผ่าน โดยวันนี้ยอดการติดเชื้ออยู่ที่ 609 ราย และยังมีผลตรวจ ATK + จำนวน 270 ราย รวมติดเชื้อ จำนวน 879ราย โดยไม่มีแนวโน้มว่าจะลดลง ตราบที่คนโคราชยังไม่ระมัดระวังภัยจากเชื้อนรก นอกจากนั้นปัจจัยที่ทำให้เชื้อโคราชมีจำนวนสูงขึ้นก็คือมีผู้ติดเชื้อจากนอกจังหวัดเข้าในพื้นที่ รวมถึง 42 ราย โดยมาจากกรุงเทพฯส่วนใหญ่ ส่วนการติดเชื้อในเขตจังหวัด อำเภอเมืองนครราชสีมากลับมาครองแชมป์ติดเชื้อ 112 ราย  รวมกับอำเภออื่นๆอีก 15 อำเภอที่ยังมียอดติดเชื้อขึ้นด้วยตัวเลขจำนวน 2 หลัก  เผยสถานการณ์เตียงรักษาผู้ป่วยติดเชื้อจากโรงพยาบาล 4 แห่งมีสภาพล้นเกินพิกัด ต้องรักษาตัวในโรงพยาบาลสนาม และเข้ารับบริการ Community Isolation (CI) กับHome Isolation (HI) ในกรณีผู้ป่วยอาการสีเหลืองและสีเขียว  !

พื้นที่โฆษณา

คณะกรรมการโรคติดต่อ-และคณะอนุกรรมการศูนย์ติดตามสถานการณ์ตอบโต้โรคติดเชื้อโควิด-19จังหวัด ได้รายงานสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 จ.นครราชสีมา วันที่ 28กุมภาพันธ์  พ.ศ. 2565 พบผู้ติดเชื้อในพื้นที่ชุมชนเพิ่มขึ้นอีก  609 ราย และยังมีผลตรวจ ATK + จำนวน 270 ราย รวม +879ราย จำแนกเป็นการติดเชื้อนอกเขตจังหวัด 42 ราย  ตรวจพบการติดเชื้อซึ่เป็นผู้เดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง (กทม.) 18 ราย  มาจากพื้นที่เสี่ยง (กระบี่) 3 ราย  มาจากพื้นที่เสี่ยง (ขอนแก่น) 2 ราย  มาจากพื้นที่เสี่ยง (ชลบุรี) 5 ราย  มาจากพื้นที่เสี่ยง (เชียงใหม่) 3 ราย  มาจากพื้นที่เสี่ยง (นนทบุรี) 1 ราย  มาจากพื้นที่เสี่ยง (บุรีรัมย์) 1 ราย  มาจากพื้นที่เสี่ยง (ปทุมธานี) 2 ราย  มาจากพื้นที่เสี่ยง (ลพบุรี) 1 ราย  มาจากพื้นที่เสี่ยง (สมุทรปราการ) 2 ราย  มาจากพื้นที่เสี่ยง (สระบุรี) 1 ราย  มาจากพื้นที่เสี่ยง (สุรินทร์) 1 ราย  มาจากพื้นที่เสี่ยง (อยุธยา) 1 ราย และเป็นคนป่วยติดเชื้อจาก กทม. กลับมารักษา  1 ราย  โดยติดเชื้อในจังหวัด 567 ราย

พื้นที่โฆษณา

จากสถานการณ์นี้ทำให้จังหวัดนครราชสีมา มีผู้ป่วยติดเชื้อสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 รวม 17,055 ราย  ยังคงรักษาอยู่ 7,441 ราย  และรักษาหายสะสม 9,575 รายมีผู้เสียชีวิตสะสม 39 ราย  รายงานยังได้แบ่งแยกผู้ป่วยตามรายอำเภอพบว่าอำเภอเมือง นครราชสีมากลับมามีผู้ป่วยติดเชื้อสูงสุดจำนวน 112 ราย  รองลงไปเป็น อ.สูงเนิน  83 ราย ลำดับถัดไปเป็น อ.ด่านขุนทด 59 ราย, อ.พิมาย 54 ราย, อ.โนนไทย 47 ราย, อ.โนนสูง 39 ราย, อ.ปักธงชัย 31 ราย, อ.เสิงสาง 25 ราย, อ.จักราช 21 ราย, อ.ปากช่อง 20 ราย, อ.ชุมพวง 20 ราย, อ.บัวใหญ่ 19 ราย, อ.โชคชัย 18 ราย, อ.สีคิ้ว 13 ราย, อ.ขามสะแกแสง 12 ราย, อ.ลำทะเมนชัย 8 ราย, อ.แก้งสนามนาง 8 ราย, อ.บ้านเหลื่อม 6 ราย, อ.คง 5 ราย, อ.บัวลาย 4 ราย, อ.วังน้ำเขียว 4 ราย และ อ.ขามทะเลสอ 1 ราย

พื้นที่โฆษณา

นอกจากนั้นยังมีรายงานถึงสถานการณ์การรักษาในโรงพยาบาลของรัฐทั้ง 4 แห่งคือ โรงพยาบาลมหาราช-โรงพยาบาลเทพรัตน์-โรงพยาบาลค่ายสุรนารี-โรงพยาบาลปากช่อนานา ที่มีเตียงผู้ป่วยรวมกันทั้งหมด 282 เตียง ขณะนี้มีคนไข้ครองเตียงอยูในขณะนี้จำนวน 213 เตียง คงเหลือเพียง 69 เตียงทั้ง 4 แห่งที่ต้องเปิดไว้ผู้ป่วยสีแดง และยังมีรายงานเตียงของโรงพยาบาลเอกชนนอกสังกัดที่มีรวมกันถึง41 แห่ง มีเตียงรองรับผู้ป่วยติดเชื้อ 2,256 เตียง แต่มีผู้ป่วย 1,734 เตียง เหลือเตียงว่างอยู่เพียง 522 เตียง ส่วนโรงพยาบาลสนาม ในพื้นที่อำเภอเมือง และปากช่องมีเตียงรวมกัน 338 เตียง มีผู้ป่วยครองเตียง 2 73 เตียง คงเหลือเพียง 65 เตียง นอกจากนั้นยังมีสถานที่กักตัวในชุมชน Community Isolation(CI) จำนวน 255 แห่ง มีเตียงรวมกัน 5,143 เตียง มีผู้ป่วยอยู่แล้วจำนวน 3,798 เตียง ยังคงมีเหลืออีก 3,565เตียง ซึ่งมีผู้ป่วยบางรายที่ขอรักษาตัวอยู่บ้าน แบบ Home Isolation (HI)มากกว่า

แฟ้มภาพ

นายชรินทร์ ทองสุข รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ในฐานะรองประธานคณะกรรมการโรคติดต่อ-และคณะอนุกรรมการศูนย์ติดตามสถานการณ์ตอบโต้โรคติดเชื้อโควิด-19จังหวัด เปิดเผยว่า สถานการณ์การติดเชื้อโควิดในจังหวัดนครราชสีมาในขณะนี้ คงจะเรียกว่าเป็นการติดเชื้อแบบ “นิวไฮ”ไม่ได้ เพราะมันน่าจะเพิ่มขึ้นอีกตามสถานการณ์  สิ่งสำคัญขณะนี้ที่ ศปก.ทุกแห่งไม่ว่าจะเป็นอำเภอหรือเทศบาลนคร หรือในพื้นที่ต่างๆ ต้องพิจารณาการจัดตั้ง Community Isolation(CI) โรงพยาบาลสนามเพื่อรองรับผู้ป่วย ที่จะเพิ่มขึ้นตามสถานการณ์ โดยใช้ตัวเลขเก่าที่เคยนำเสนอไว้แล้วเอามาทบทวน เพื่อการจัดตั้งแล้วขออนุมติมาทางคณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อเพื่ออนุญาติให้ถูกต้องต่อไป

นอกจากนั้นยังได้เห็นด้วยกับที่ประชุมที่มีมติให้จัดประกาศคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา เพื่อให้ลดจำนวนผู้เข้าร่วมงานหรือผู้เข้าร่วมสัมมนา ลงจากเดิมให้เหลือเพียงครึ่งเดียว และขอให้เจ้าหน้าที่ของศปก.ในทุกอำเภอที่มีการอนุญาตให้จัดงาน ได้ลงไปกำกับดูแลด้วย เพราะหากเจ้าหน้าที่จาก ศปก.ในทุกอำเภอไม่เข้มข้นลงพื้นเข้าควบคุมและตรวจสอบก็คงจะมีการระบาดเหมือนเดิม คงต้องเสนอความเข้มข้นของเจ้าหน้าที่ ศปก.เข้าเป็นข้อกำหนดในประกาศด้วย เพื่อจะให้มาตรการที่ประกาศไปเป็นผลตอบสนองในการลดยอดการติดเชื้ออีกทางหนึ่งโดยประกาศฉนับนี้จะนำเสนอเสนอต่อนายวิเชียร จันทรโนทัย ผวจ.โคราชให้ลงนาม

แฟ้มภาพ

ด้านนายแพทย์วิญญู จันทร์เนตร รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาได้แจ้งไปยัง ศปก.ในเขตอำเภอเมือง และ ศปก.ของเทศบาลนครนครนครราชสีมาว่า ในขณะนี้สถานการณ์ของผู้ป่วยที่เข้ารักษาตัวที่โรงพยาบาลมหาราช ต้องพิจารณาอาการของผู้ป่วยเป็นหลัก โดยผู้ป่วยสีเหลือง และสีเขียว ที่มีอาการไม่หนักควรนำเข้าโรงพยาบาลสนาม CI ที่เปิดขึ้นใหม่ทั้ง 4 แห่ง ที่ได้มีการเตรียมพื้นที่รองรับไว้แล้ว โดยที่โรงพยาบาลมหาราชจะรับเข้าเฉพาะผู้ป่วยสีแดง หรือผู้ป่วยที่ต้องการใช้เครื่องช่วยหายใจ หรือให้ออกซิเจนเท่านั้น เนื่องจากเตียงนอนมีปริมาณที่จำกัด จึงขอความร่วมมือไปยังศปก.อ.เมือง ทุกแห่งด้วย

จากสถานการณ์การติดเชื้อที่ข้นข้าวรวดเร็วหลังวันที่ 1 มค.65 นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาได้สั่งตั้งจุดตรวจเชื้อด้วยชุดตรวจ ATK ในทุกวันศุกร์ เสาร์ อาทิตย์ ระหว่างเวลา10.00 – 15.30 น.เพื่อให้คนโคราชเช็คตัวเองโดยด่วน!! ซึ่งจังหวัดได้จัดให้มีการตรวจ ATK ฟรี  ทั้งนี้ได้ออกประกาศให้ชาวโคราชที่ประเมินตนเองว่า “เสี่ยง สงสัยติดเชื้อโควิด-19 “ ขอเชิญตรวจ  ATK ฟรี ทุกวันศุกร์ / เสาร์ / อาทิตย์ เริ่มตั้งแต่วันศุกร์ที่ 25 ก.พ. ถึง 31 มี.ค.65 ที่บริเวณศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา (ใต้ต้นโพธิ์) ตั้งแต่เวลา 10.00 – 15.30 น.

ทีมข่าว MC. news.com รายงานจากจังหวัดนครราชสีมา