กรณี อบจ.โคราชอนุมัติงบประมาณจัดซื้อเวชภัณฑ์ครุภัณฑ์ทางการแพทย์ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) จำนวน 19 รายการ โดยสนับสนุนงบประมาณ 51,548,500 บาท ให้กับโรงพยาบาลและหน่วยงานของรัฐ รวม 13 แห่ง แต่ปรากฏว่าโรงพยาบาลมหาราช นครราชสีมาไม่ยอมรับของบริจาค จึงทำให้มีเสียงวิพากษ์วิจารณ์ในสื่อออนไลน์ และนำเสนอข้อมูลใน ลักษณะกล่าวหา ให้ร้าย อบจ.นครราชสีมา ซึ่งเป็นองค์กรปกครองท้องถิ่น (อปท.) ได้รับความเสียหาย

เมื่อเวลา 10.30 น. วันที่ 16 กรกฎาคม ที่ห้องประชุมรวงผึ้ง องค์การบริหารส่วนจังหวัด (อบจ.) นครราชสีมา ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ สุวรรณฉวี นายก อบจ.นครราชสีมา พร้อมด้วยนางปิยะฉัตร อินสว่าง รอง ผวจ.นครราชสีมา นายวัชรวิชย์ สุขวัฒนาภิรมย์ ท้องถิ่นจังหวัดนครราชสีมานายแพทย์ชาญชัย บุญอยู่ รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด (รอง สสจ.) นครราชสีมา แพทย์หญิงศุภมาส ลิ่วศิริรัตน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา นางวันเพ็ญ อำพาส คลังจังหวัด และผู้บริหารกรมบัญชีกลาง จังหวัดนครราชสีมา และหัวหน้าศูนย์ดำรงธรรมฯและหัวหน้าส่วนราชการที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นสักขียานได้เปิดการแถลงข่าวตอบโต้สื่อโซเชียลที่กล่าวหารวมทั้งแจงข้อเท็จจริงให้สาธารณชนทั่วไปได้รับทราบ

ร้อยตรีหญิงระนองรักษ์ นายก อบจ.นครราชสีมา เปิดเผยว่า อบจ.นครราชสีมา ได้สนับสนุนตามหนังสือเลขที่ นม 0032.007.1/10990 ลงวันที่ 10 เมษายน 2563 ได้จัดชื่อตามที่ ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสโควิด-19 นครราชสีมา (ศบค.นม.) เห็นชอบให้ อบจ.นครราชสีมา สนับสนุนครุภัณฑ์เวชภัณฑ์ทางการแพทย์ให้กับหน่วยบริการทางการแพทย์และสาธารณสุขจังหวัด ประกอบด้วย โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา รพ.เทพรัตน์นครราชสีมา รพ.มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) นครราชสีมา รพ.ปากช่องนานา รพ.จักราช รพ.พิมาย รพ.บัวใหญ่ รพ.โชคชัย รพ.ครบุรี รพ.ด่านขุนทดและ รพ.ปักธงชัย ซึ่งได้ส่งมอบตามคำร้องขอโดยการกลั่นกรองจากสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมที่เป็นเลขาและคณะทำงาน ศบค.นม.ในขณะเดียวกันนางวันเพ็ญ อำพาส คลังจังหวัดนครราชสีมาก็ได้ยืนยันต่อสื่อมวลชนว่าการจัดซื้อจัดจ้างเป็นไปตามระเบียบของทางราชการ และกรมบัญชีกลางทุกขั้นตอน

 แพทย์หญิงศุภมาส ลิ่วศิริรัตน์ รองผู้อำนวยการโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา กล่าวถึงกรณีไม่รับครุภัณฑ์จำนวน 7 รายการว่า เริ่มแรกทางโรงพยาบาลมหาราชทำเรื่องขอการสนับสนุนครุภัณฑ์ไปทั้งสิ้นรวม  10 รายการ แต่ในระยะที่ดำเนินการตรวจรักษาผู้ป่วยติดเชื้อ ปรากฏว่ามีบรรดาเอกชนนำครุภัณฑ์ที่ทางมหาราชไม่รับมาบริจาคครบแล้ว จึงได้รับไว้เพียง 2 รายการคือเครื่องสกัดสารพันธุกรรมและเครื่องเพิ่มสารพันธุกรรม ส่วนอีก 8 รายการที่เหลือ ได้ขอให้ทาง อบจ.โคราชไปมอบให้กับโรงพยาบาลอื่นที่ยังขาดแคลน

“กรณีสื่อโซเชียลกล่าวหา อบจ.นครราชสีมา มีปัญหาการส่งมอบครุภัณฑ์ให้ รพ.มหาราชนครราชสีมา ข้อเท็จจริง รพ.มหาราช ได้ทำหนังสือขอรับการสนับสนุนครุภัณฑ์และเวชภัณฑ์ทางการแพทย์ เมื่อ อบจ.นครราชสีมา ได้ส่งมอบให้ตามที่ขอมา แต่ รพ.มหาราช ขอเลือกรับบางประเภท คือเครื่องสกัดสารพันธุกรรมและเครื่องเพิ่มสารพันธุกรรม ขอยืนยันไม่ได้ยัดเยียดครุภัณฑ์ที่ไม่มีคุณภาพให้  เราได้จัดซื้อซึ่งครุภัณฑ์ที่มีคุณภาพได้มาตรฐาน มีที่มาที่ไปและเป็นตามระเบียบทุกประการ กระบวนการโปร่งใสและสามารถตรวจสอบได้”นายก อบจ.โคราช กล่าว

ทีมข่าว MC.news.com รายงาน