ปล่อยขบวนแก้ภัยแล้งพร้อมกัน 22 จังหวัดที่ประกาศเขตภัยแล้ง หลังระดม ผวจ.76 จังหวัดหาแนวทางแก้ปัญหายั่งยืน จังหวัดนครราชสีมา บูรณาการทุกภาคส่วนจัดพิธีตรวจความพร้อม ทรัพยากรของทุกหน่วยงานและปล่อยขบวนยานพาหนะ กิจกรรมจิตอาสาต้านภัยแล้ง ประสานความร่วมมือแก้ไขปัญหาภัยแล้ง  เมืองโคราชเป็นต้นแบบในการแก้ไขปัญหา!!

วันที่ 28 กุภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เวลา 09.30 น. ที่สนามหน้าศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา นายฉัตรชัย พรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทย เป็นประธานพิธีตรวจความพร้อมทรัพยากรของหน่วยงาน และปล่อยขบวนยานพาหนะ กิจกรรมจิตอาสาต้านภัยแล้ง การประสานความร่วมมือการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน โดยมีพลเรือเอกปวิตร รุจิเทศ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน และพลเอกศิระ ภระมรกัต ผู้บัญชาการกองกำลังจิตอาสา ร่วมสังเกตการณ์

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา กล่าวรายงาน โดยน้อมนำแนวทางพระราชทานของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ที่ทรงพระราชทานเมื่อครั้งการช่วยเหลือเยาวชนที่พลัดหลงบริเวณถ้ำหลวงขุนน้ำนางนอน แผนบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ รวมทั้ปัญหาภัยแล้ง โดยนั้นให้ประชาชนทุกภาคส่วนและจิตอาสาพระราชทาน ร่วมมือร่วมใจกันแก้ไขปัญหาภัยแล้ง สามารถนำพาทุกภาคส่วนสนธิกำลังและยุทโธปกรณ์ รวมถึงงบประมาณที่มีอยู่ในหน่วยงาน ดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ของตนเองได้ในระดับชุมชน และจะเป็นตันแบบในการปฏิบัติการแกขปัญหาภัยแล้งที่เกิดขึ้น

สำหรับกิจกรรมในวันนี้ประกอบด้วย 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 การตรวจความพร้อมของส่วนรวม ประกอบด้วย การตรวจสายการบังคับบัญชา การตรวจการติดต่อสื่อสาร การตรวจยานพาหนะของกำลังพล ทุกภาคส่วน จำนวนทั้งสิ้น 1,219 คน หน่วยที่เข้ารับการตรวจความพร้อมจำนวน 18หน่วย ยานพาหนะ 60 คัน ส่วนขั้นตอนที่ 2 เป็นการปล่อยชบวนยานพาหนะของหน่วยปฏิบัติการแก้ปัญหาภัยแล้ง เพื่อเดินทาง เข้าสู่พื้นที่ที่ประสบปัญหาภัยแล้ง เพื่อดำเนินการปฏิบัติตามแผนของแต่ละอำเภอ ตามที่ได้มีการวางแผนเตรียมการปฏิบัติต่อภัยแล้งไว้แล้ว

โดยกิจกรรมการตรวจความพร้อมทรัพยากรของหน่วยงาน และปล่อยขบวนยานพาหนะ กิจกรรมจิตอาสาต้านภัยแล้งเป็นการประสานความร่วมมือการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน มีจังหวัดที่ดำเนินการพร้อมกับจังหวัดนครราชสีมา ซึ่งประกาศเป็นพื้นที่ประสบปัญหาภัยแล้ง ประกอบด้วย เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนคร กาฬสินธุ์ มหาสารคาม บุรีรัมย์ ชัยภูมิศรีสะเกษ นครสวรรค์ อุทัยธนี ชัยนาท สุพรรณบุรี กาญจนบุรี และจังหวัดฉะเชิงเทรา

รอประธานมาเปิดงาน

ทั้งนี้ กิจกรรมจิตอาสาต้านภัยแล้ง การประสานความร่วมมือการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน ดำเนินการมาตั้งแต่วันเสาร์ที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563 โดยมีการอบรมจิตอาสาต้านภัยแล้งด้วยเกษตรทฤษฎีใหม่ ให้กับผู้ว่าราชการจังหวัด 76 จังหวัด ผู้ปฏิบัติงานในสำนักงานชลประทานจังหวัดสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด สำนักงานเกษตรจังหวัด และสำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจังหวัด 22 จังหวัดที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือภัยแล้งณ หอประชุมเปรมติณสูลานนท์ ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา

ทั้งนี้จังหวัดนครราชสีมา เป็นจังหวัดต้นแบบจิตอาสาต้านภัยแล้ง และนำจิตอาสาหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ลงพื้นที่ฝึกและสำรวจพื้นที่เป้าหมายในพื้นที่อำเภอปักธงชัย อำเภอโนนสูง และอำเภอชุมพวง ซึ่งเป็นอำเภอต้นแบบของจังหวัดนครราชสีมาส่วนกิจกรรมสุดท้ายของจิตอาสาต้านภัยแล้ง การประสานความร่วมมือการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืนคือการตรวจความพร้อมและปล่อยขบวนยานพาหนะในวันนี้ ซึ่งจะมีการขายผลการดำเนินการไปสู่อำเภออื่นๆ ที่ประสบกับปัญหาภัยแล้งอยู่ในขณะนี้

ทีมข่าว MC.news.com รายงาน