ศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทานกระทรวงกลาโหม กรมกิจการพลเรือนทหารบก กระทรวงมหาดไทย โดยกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย, จังหวัดนคราชสีมา และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ดำเนินโครงการจิตอาสาต้านภัยแล้ง การประสานความร่วมมือการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน เพื่อการจัดการและแก้ไขปัญหาภัยลงในระดับจังหวัด และกลุ่มจังหวัดให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกกาดส่วน รวมถึงส่งเสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนและจิตอาสาในการแ ก้ไขปัญหาภัยแล้อย่างเป็นระบบ โดยจัดกิจกรรมฯ ระหว่างวันที่  22 – 28 กุมภาพันธ์ 2563 ณ จังหวัดนคราชสีมา เพื่อเป็นตันแบบการบูรณาการการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในมิติเชิงพื้นที่รวมถึงขับเคลื่อนกลไกจิตอาสาสนับสนุน การป้องกันและลดผลกระทบจากภาวะขาดแคลนน้ำ เพื่อบรรเทาปัญหาความเดือดร้อนของประชาชนให้ได้มากที่สุด

วันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2563 ที่หอประชุมพลเอกเปรมติณสูลานนท์ ชั้น 2 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา นายฉัตรชัยพรหมเลิศ ปลัดกระทรวงมหาดไทยเดินทางมาเป็นประธานเปิด “กิจกรรมจิตอาสาต้านภัยแล้ง การประสานความร่วมมือการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน”โดย พล.ร.อ.ปวิตร รุจิเทศ ผู้อำนวยการศูนย์อำนวยการใหญ่จิตอาสาพระราชทาน พลเอก ศิวะ ภระมรทัต  ผู้บัญชาการกองกำลังจิตอาสาพระราชทาน  พร้อมทั้งชี้แจงรายละเอียดของโครงการให้หน่วยงานภายใต้บังคับบัญชาประกอบไปด้วย อธิบดีกรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย  ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง76จังหวัด และผู้แทนหน่วยงานระดับกระทรวง กรม หน่วยงานภาคเอกชนเข้าร่วมรับฟัง พร้อมพิธีเปิด

การดำเนินโครงการจิตอาสาต้านภัยแล้ง การประสานความร่วมมือการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน มุ่งเน้นการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้แห่งวิชาการ แนวคิดและภูมิปัญญาท้องถิ่นในการบริหารจัดการน้ำ รวมถึงประสานความร่วมมือการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างยั่งยืน ระหว่างหน่วยงาน นักวิชาการ ปราชญ์ชาวบ้าน และจิตอาสา เพื่อเชื่อมโยงการมีส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาภัยแล้งในทุกระดับ การดำเนินโครงการจิตอาสาต้นภัยแล้งฯจะมีใน ระหว่างวันที่ 22 – 28 กุมภาพันธ์ 2563

สำหรับการเปิดโครงการฯในวันนี้ได้มอบนโยบายแก่ผู้ว่าราชการจังหวัดทั้ง 76 จังหวัด ผู้แทนส่วนราชการที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง และผู้แทนจังหวัดที่ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง) 22 จังหวัดรวมถึงหารือแลกเปลี่ยนองค์ความรู้และแนวทางแก้ไขปัญหาภัยแล้งให้สอดคล้องกับสภาพปัญหาของแต่ละพื้นที่ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ 2563 จะเป็นการฝึกทดสอบแผนบนโต๊ะ (Table Top Exercise : TX) ครอบคลุมการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างรอบด้าน เพื่อให้บรรลุประสงค์แก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างเป็นระบบและยั่งยืน

 โดยเน้นเป้าหมายสำคัญ อาทิ การกำหนดพื้นที่เสี่ยง การจัดลำดับความสำคัญเร่งด่วนของการบรรเทาปัญหาภัยแล้ง การจัดสรรทรัพยากร การแบ่งมอบพื้นที่รับผิดชอบ และการมีส่วนร่วมของกลไกจิตอาสา สำหรับในวันที่ 24 -25 กุมภาพันธ์ 2563 เป็นการฝึกปฏิบัติในพื้นที่ ณ ศูนย์สาธิต ทฤษฎีใหม่ ตำบลธงชัยเหนือ อำเภอปักธงชัย อำเภอสูงเนิน และอำเภอชุมพวง จังหวัดนครราชสีมาหลังจากเสร็จสิ้นการดำเนินกิจกรรม ที่โคราชแล้ว ผู้แทนจากจังหวัดที่ประกาศเขตฯ ภัยแล้งจำนวน 22 จังหวัด ประกอบด้วย เชียงราย พะเยา น่าน อุตรดิตถ์ สุโขทัย เพชรบูรณ์ หนองคาย บึงกาฬ นครพนม สกลนครกาฬสินธุ์ มหาสารคาม นครราชสีมา บุรีรัมย์ ชัยภูมิ ศรีสะเกษ นครสวรรค์ อุทัยธานี ชัยนาท กาญจนบุรี สุพรรณบุรี และฉะเชิงเทรา

โดยจังหวัดข้างต้นจะนำรูปแบบการบริหารจัดการปัญหาภัยแล้งของจังหวัดนครราชสีมาไปประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับสภาพปัญหาและสถานการณ์ของแต่ละพื้นที่ โดยให้ความสำคัญการสำรวจและชี้เป้าพื้นที่เสี่ยงภัย การกำหนดแนวทางแก้ไขปัญหารวมถึงสำรวจและจัดเตรียมทรัพยากรให้พร้อมปฏิบัติการแก้สถานการณ์ภัยลัง ทั้งนี้ในวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 จะมีการบูรณาการสรรพกำลัง และปล่อยขบวนเครื่องจักรกล ยานพาหนะออกปฏิบัติการแก้ไขปัญหาภัยแล้งอย่างพร้อมเพรียงกันทั้ง 22จังหวัด และปฏิบัติภารกิจอย่างต่อเนื่องจนกว่าสถานการณ์จะสิ้นสุด ทั้งนี้ เพื่อให้ประชาชนได้รับการดูแลอย่างดีที่สุด

ทีมข่าว MC.news.com รายงาน