วันที่ ๑๓ มกราคม ๒๕๖๓ เวลา ๐๙.๐๐ น. ที่ศาลาเอนกประสงค์ บ้านหนองเสาเดี่ยวใหม่พัฒนา หมู่ที่ 10 ตำบลท่าอ่าง อำเภอโชคชัย และอำเภอปักธงชัย จังหวัดนครราชสีมานายเทวัญ ลิปตพัลลภ รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี นายธงชัย ลืออดุลย์ เลขานุการรัฐมนตรี พร้อมด้วยนายประเสริฐ บุญชัยสุข อดีตรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอุตสาหกรรม นายวัชรพล โตมรศักดิ์ สส.พรรคชาติพัฒนา และนายอภิชา เลิศพัชรกมล สส.นครราชสีมาพรรคภูมิใจไทย  ได้เดินทางมาตรวจภาวะภัยแล้งของจังหวัดนครราชสีมา  โดยนางปียะฉัตร อินสว่าง รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา พร้อมด้วยหัวหน้าส่วนราชการ นายอำเภอโชคซ้ย ผู้นำองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน และประชาชนในพื้นที่ อำเภอโชคชัย ให้การต้อนรับ

นางปิยฉัตร รอง ผวจ.กล่าวสรุปสถานการณ์ภัยแล้ง ปี 2563 เนื่องจากในปี 2562 ที่ผ่านมา จังหวัดนครราชสีมา มีฝนตกในพื้นที่ รวม ๖๕๐ มิลลิเมตร ซึ่งต่ำกว่าค่าเฉลี่ย ๔๒๑ มิลลิเมตร (ค่าเฉลี่ย ๓๐ ปี ๑,๐๗๓ มิลลิเมตร) จึงส่งผลให้เกิดสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่ สำหรับอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ จำนวน ๔ แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำลำตะคอง ปริมาณน้ำ คงเหลือ ๔๘ % อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง ปริมาณน้ำ คงเหลือ ๑๔ % อ่างเก็บน้ำมูลบน ปริมาณน้ำ คงเหลือ ๓๔ % และอ่างเก็บน้ำลำแชะปริมาณน้ำ คงเหลือ ๓๐ % ทั้งนี้ อ่างเก็บน้ำลำพระเพลิง มีปริมาณใช้งานได้ ๒๑.๐๐ ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งได้วางแผนการบริหารจัดการน้ำร่วมกับกลุ่มผู้ใช้น้ำในพื้นที่ แบ่งการใช้น้ำ ๔กิจกรรม ได้แก่ อุปโภค บริโภค อุตสาหกรรม รักษาระบบนิเวศ และการรั่วซึม โดยวางแผนการส่งน้ำช่วงฤดูแล้งเดือนมกราคม- เมษายน ๒๕๖๓ ใช้น้ำ ๙ ล้านลูกบาศก์เมตร และแผนการส่งน้ำช่วงก่อนฤดูฝน เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน ๒๕๖๓ใช้น้ำ๔ ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งเพียงพอในพื้นที่

สถานการณ์ภัยแล้งปัจจุบัน (๑ พฤศจิกายน ๒๕๖๒ ถึงปัจจุบัน) จังหวัดนครราชสีมาได้ประกาศเขตพื้นที่ประสบสาธารณภัย ตาม พรบ.ปภ. ๒๕๕๐ เพื่อให้ส่วนราชการ หน่วยงานองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภาคเอกชน สามารถใช้งบประมาณช่วยเหลือผู้ประสบภัย รวม ๗ อำเภอ ๕๒ ตำบล ตัด๒ หมู่บ้าน ๑ ทต. ๑๓ ชุมชนได้แก่ ประกอบไปด้วย อำเภอแก้งสนามนาง  เทพารักษ์  จักราช  โชคชัย ปักธงชัย โนนสูง และอำเภอโนนไทย  พร้อมกันนั้นก็ได้ประกาศเขตให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (ภัยแล้ง)เ งินทดรองราชการฯ รวม ๕ อำเภอ ๔๕ตำบล ๔๔๑ หมู่บน ๑๓ ชุมชน ในอำเภอจักราช ปักธงชัย โนนสูง เทพารักษ์ และอำเภอโชคชัย โดยมีการให้ความช่วยเหลือ จัดตั้งศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาภัยแล้ง จังหวัดนครราชสีมา โดยได้มีการประชุมทุกวันอังคาร ของสัปดาห์ เพื่อสั่งการและแก้ไขปัญหาภัยแล้งในพื้นที่ โดยมีเป้าหมาคือ”ราษฎร ต้องไม่ขาดแคลนน้ำอุปโภค บริโภค เด็ดขาด”

จากนั้นได้มีการแจกจ่ายน้ำอุปโภค บริโภค รวม ๗ อำเภอ ๑๖ ตำบล ๒๔ หมู่บ้าน และมีการประเมินหมู่บ้านที่คาดว่าจะขาดแคลนน้ำ จากเดือนมกราคม ถึง เดือนมีนาคม รวม ๒๒ อำเภอ ๘๒ ตำบล ๒๙๘ หมู่บ้าน ในส่วนของการประปาส่วนภูมิภาค ที่คาดว่าจะขาดแคลนน้ำ จำนวน ๒ แห่ง ได้แก่ การประปาส่วนภูมิภาค สาขาด่านขุนทด อยู่ระหว่างเชื่อมระบบท่อมนประปากับการประปาส่วนภูมิภาค สาขาสีคิ้ว และการประปาส่วนภูมิภาค สาขาพิมาย สถานีผลิตอำเภอคง อยู่ระหว่างดำเนินการวางท่อน้ำดิบจากอ่างเก็บน้ำห้วยยางพะไล ตำบลสุก อำเภอแก้งสนามนาง มาที่แหล่งผลิตน้ำประปาในพื้นที่ สำหรับการแก้ไขปัญหาระยะสั้นได้ดำเนินการสำรวจหมู่บ้านที่ไม่สามารถใช้วิธีอื่นในการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง ต้องแจกจ่ายน้ำอย่างเดียว รวม ๑๐ อำเภอ ด๖ ตำบล ๒๕ หมู่บ้าน

การขุดเจาะบ่อน้ำบาดาล รวม ๑๑๕ โครงการ จากงบกลาง (ท่านรองนายกรัฐมนตรีพลเอกประวิตร วงษ์สุรรณ) จำนวน ๓๒ โครงการ งบสำนักงานพัฒนาภาค ๕ หน่วยบัญชาการทหารพัฒนา จำนวน ๓๖ โครงการ และงบองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๔๗ โครงการ การสูบน้ำสำรองเพื่อกรอุปโภค บริโภค รวม๑๖ อำเภอ ๒๙ตำบล ๔๙ หมู่บ้านการจัดทำฝ่ายประชารัฐ ช่วงที่ผ่านมา รวม ๒๔ อำเภอ ๒๓๘ แห่ง การเป้าล้างบ่อบาดาล โดยเครื่องจักรกล ของศูนย์ ปภ.เขต ๕ รวม ๓๗ บ่อ นอกจากนั้นยังสั่งการมอบหมาย รองผู้ว่าราชการจังหวัด หัวหน้าส่วนราชการ ลงพื้นที่ตรวจติดตามสถานการณ์ภัยแล้งในพื้นที่อย่างใกล้ชิด

จุดดำเนินการแก้ไขปัญหาภัยแล้งที่สำคัญ การผันน้ำจากเขื่อนลำตะคอง เพื่อช่วยเหลือราษฎรอำเภอโนนสูง ระยะทาง ๑๖๐ กิโลเมตร รวม ๘ ตำบล โดยขอให้อำเภอที่เป็นทางผ่านของน้ำได้แก่ อำเภอสีคิ้ว สูงเนิน ขามทะเลสอ เมืองนครราชสีมา และอำเภอโนนไทย จัดเจ้าหน้าที่เดินน้ำตามน้ำ และขอให้งดเว้นกาสูบน้ำในช่วงการสงน้ำดังกล่าว คาดว่าน้ำจะเดินทางถึงอำเภอโนนสูง ในวันที่ ๑๕ มกราคม ๒๕๖๓ นี้

ส่วนการแก้ไขปัญหาระยะกลาง โดยพิจารณางบประมาณจากงบยุทธศาสตร์จังหวัด งบหน่วยงานงบองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ในการดำเนินโครงการ ขุดลอกแหล่งน้ำ ขุดบ่อบาดาลสร้างฝ่ายแก้มลิง คลองไส้ไก่ ฯลฯ เป็นแหล่งกักเก็บน้ำในพื้นที่ให้ได้มากที่สุด และการแก้ไขปัญหาระยะยาว ได้จัดทำโครงการแก้ไขปัญหาภัยแล้ง เสนอขอรับการสนับสนุนงบประมาณ จำนวน ๕๕ โครงการ งบประมาณทั้งสิ้น ๖๑,๒๒๕,๙๐๐ บาท การจัดทำโครงการขนาดใหญ่ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยหน่วยงาน กรมชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมโยธาธิการและผังเมือง หน่วยบัญชาการ ทหารพัฒนา ๆลฯ โครงการเพิ่มศักยภาพลุ่มน้ำ ได้แก่ โครงการผันน้ำจากลำน้ำชี โครงการพัฒนาพื้นที่ลำสะแทค และลำน้ำแอก

ทีมข่าว MC.news.com.net รายงาน