วันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2566 ณ.ห้องประชุมชั่วคราว ห้าง สรรพสินค้าเทอมินอล ชั้น 2 กลุ่มสภาพลเมืองคนโคราช  ได้เปิดเวทีรับฟังเพื่อระดมความคิดเห็นจากผู้ที่จะได้รับผลกระทบจากโครงการก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดกลางเมืองทั้ง 2แห่ง ได้แก่โครงการก่อสร้างอุโมงค์สามแยก ( เทอร์มินอล 21 ) และ โครงการก่อสร้างอุโมงค์ลอดทางแยก (บ้านประโดก) ตรงแยก รร.พีกาซัสที่จะได้งบประมาณก่อสร้าง ปี 2566 ประมาณ 1,330ล้านบาท รวม 2 โครงการและจะมีการก่อสร้างในกลางปีนี้โดยมีบรรดาพ่อค้า นักธุรกิจ ผู้ประกอบการร้านค้าที่อยู่บนถนนมิตรภาพ ที่คาดว่าจะได้รับผลกระทบกว่า 200 ราย และมีนายวัชระพล โตมรศักดิ์ สส.พรรคชาติพัฒนากล้า และนายเกษม ศุภรานนท์ สส.พรรคพลังประชารัฐ โคราชเข้าร่วมรับฟังและแสดงความคิดเห็นด้วย

เวทีสภาพลเมืองคนโคราช  มีนายชัยวัฒน์ วงศ์เบญจรัตน์กรรมการผู้จัดการ บจก.นครชัย21และเป็นกรรมการที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดนครราชสีมา ทำหน้าที่เป็นวิทยากร โดยมีนายพรชัย ศิลารมย์ ผู้อำนวยการสำนักก่อสร้างกรมทางหลวงเป็นผู้ชี้แจงผู้แทนกรมทางหลวงได้ชี้แจงถึงความคืบหน้าในการประชุม ร่วมกับคณะอนุกรรมการจัดระบบการจราจรทางบกจังหวัดนครราชสีมา (อจร.นม.) ครั้งที่ 1/2566 ผ่านระบบวีดิทัศน์ทางไกล (VCS : Webex Meetings) ครม.ได้อนุมัติงบ 480 ล้านบาท ให้ดำเนินโครงการก่อสร้างฯ ทางแยกนครราชสีมา และทางแยกประโดก 850 ล้านบาท โดยทั้ง 2 โครงการ อยู่ระหว่างประกาศจัดซื้อจัดจ้างคาด ภายในเดือนกันยายน 66 ดำเนินการก่อสร้างแน่นอน

บรรยากาศการเปิดเวทีให้ประชาชนได้ชีแนะและแสดงความคิดเห็นก็ปัญหาที่คาใจให้กับบรรดาพ่อค้านักธุรกิจ ที่ต้องได้รับผลกระทบจากการก่อสร้าง โดยก่อหน้านี้ได้มีการศึกษาระบบการก่อสร้าง พร้อมทั้งรวบรวมข้อมูลผลกระทบมาโดยละเอียดแล้ว จากการเปิดเวทีรับฟังความคิดเห็นที่ผ่าน ทั้งระบบทั้งสองโครงการ อย่างไรก็ตามในช่วงเปิดให้มีการซักถามปัญหาต่างๆ ผู้แทนกรมทางหลวงก็ตอบคำถามได้กระจ่าง และความกังวลบางปัญหาก็รับปากว่าจะนำไปพิจารณาปรับปรุงให้ดีขึ้นในระหว่างการก่อสร้าง

นายเกษม ศุภรานนท์ สส.นครราชสีมา เขต 1 เปิดเผยกับผู้สื่อข่าว เห็นด้วยกับการก่อสร้างอุโมงค์ทั้งสองแห่ง เพราะว่าเมืองโคราชมีปัญหาในเรื่องของการจราจรในเขตเมืองเป็นอย่างมาก ยังล้าหลังจากจังหวัดอื่นๆเช่นเชียงใหม่หรือขอนแก่น  อย่างไรก็ตามการก่อสร้างประชาชนผู้สัญจรและผู้ประกอบร้านค้าที่อยู่ในบริเวณก่อสร้างคงได้รับผลกระทบอย่างมาก แต่คิดว่ากรมทางหลวงก็คงต้องมีความระเอียดรอบคอบ เตรียมแก้ไขปัญหาตามที่ได้รับคำชี้แนะและความวิตกกังวลต่างที่จะเกิดขึ้นในระหว่างการก่อสร้าง สิ่งสำคัญที่สุดก็คือการก่อสร้างต้องใช้เวลายาวนาน ผู้ที่ได้รับผลกระทบน่าจะได้รับการชดเชยจากทางภาครัฐด้วย

ทีมข่าว MC.news.com รายงานจากจังหวัดนครราชสีมา