ผู้สื่อข่าวรายงานว่า วันที่ 11 ตุลาคม 65  ที่บริเวณตลาด ก.ม.79 ริมถนน 304 อ.วังน้ำเขียว จ.นครราชสีมา พระธรรมวรนายก ที่ปรึกษาเจ้าคณะภาค 11 เป็นประธานฝ่ายสงฆ์  นาย วิเชียร จันทรโณทัย  อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ประธานฝ่ายฆราวาส  พร้อมด้วย  นายอำเภอวังน้ำเขียว  และ  นาย ชุณห์  ศิริชัยคีรีโกศล  สมาชิกสภา อบจ.นครราชสีมา  นาย ยงยุทธ  ศิริชัยคีรีโกศล  นายกเทศมนตรีตำบลศาลเจ้าพ่อ  และสมาชิกเทศบาลตำบลศาลเจ้าพ่อ  นาย ประนอม  โพธิ์คำ  ข้าราชการ  ผู้นำชุมชน    นำพุทธศาสนิกชนในอำเภอวังน้ำเขียว ตักบาตรเทโวโรหณะ ซึ่งเทศบาลตำบลศาลเจ้าพ่อ ร่วมกับอำเภอวังน้ำเขียว และคณะสงฆ์อำเภอวังน้ำเขียวจัดขึ้นเป็นประจำทุกปี   โดยจัดเป็นซุ้มดอกไม้ตลอดเส้นทางยาวกว่า 1,500 เมตร  ให้พี่น้องประชาชนจำนวนกว่า 3,000 คน ได้ร่วมตักบาตร   ตามความเชื่อของพุทธศาสนิกชน เพื่อเป็นการสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอันดีงาม ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง  อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอวังน้ำเขียวอีกด้วย

นาย วิเชียร จันทรโณทัย  อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  กล่าวว่า  ด้วยวันเทโวโรหณะ ตามพุทธประวัติหมายถึงวันที่พระพุทธเจ้าเสด็จลงจากสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ ในเวลาเช้า วันแรม 1 ค่ำ เดือน 11  หลังจากที่พระองค์ทรงจำพรรษาที่นั้นเป็นเวลา  3 เดือน ในพรรษาที่ 7 นับแต่ปีที่ตรัสรู้ พระพุทธเจ้าได้เสด็จไปยังสวรรค์ชั้นดาวดึงส์  ทรงจำพรรษาและแสดงพระอภิธรรมโปรด  พระพุทธมารดา พอออกพรรษาก็เสด็จลงจากเทวโลกมายังโลกมนุษย์  โดยเสด็จที่ประตูเมือง สังกัสสะนคร ใกล้เมือพาราณสี ประเทศอินเดีย   การตักบาตรรับเสด็จพระพุทธเจ้า ได้ปฎิบัติสืบเนื่องต่อกันมาเป็นประเพณี จนถึงเมืองไทย จากศรัทธาและความเลื่อมใสในพระพุทธศาสนา ของประชาชนชาวไทยจึงเรียกประเพณีนี้ว่า การตักบาตรเทโวโรหณะ   และชาวอำเภอวังน้ำเขียว ได้ปรารภเหตุแห่งบุญนี้ จึงได้จัดทำโครงการสืบสานอนุรักษณ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น “ ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ “ 

นาย ชุณห์  ศิริชัยคีรีโกศล  สมาชิกสภา อบจ.นครราชสีมา   กล่าวว่า การจัดงานโครงการสืบสานอนุรักษณ์วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น “ ประเพณีตักบาตรเทโวโรหณะ “ ได้มีการจัดงานมาเป็นประจำทุกปี   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อ ระลึกถึงพระพุทธคุณที่มีต่อพุทธบริษัท  และเพื่อส่งเสริมอนุรักษณ์ประเพณีอันดีงามของท้องถิ่น  ทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาให้เจริญรุ่งเรือง   ใช้ประเพณีอันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นเครื่องยึดเหนี่ยว สร้างความรัก ความสามัคคีในชุมชน   อีกทั้งยังเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของอำเภอวังน้ำเขียวอีกด้วย และที่สำคัญโดยเฉพาะข้าวสาร อารแห้ง น้ำดื่ม ยารักษาโรค  รวมทั้งสิ่งของต่างที่ได้รับจากการบิณฑบาตรของพระภิกษุสงฆ์และสามเณร  ทั้งหมดในครั้งนี้   จะนำไปแจกจ่ายช่วยเหลือพี่น้องประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากภัยพิบัติน้ำท่วมในพื้นที่ จ.อุบลราชธานี  เพื่อเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนในเบื้องต้น อีกด้วย

  ข่าว MC.news.com  รายงานจากจังหวัดนครราชสีมา