พื้นที่โฆษณา

นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9  พร้อมด้วยแพทย์หญิงอัจฉรา  นิธิอภิญญาสกุล สาธารณสุขนิเทศก์ เขตสุขภาพที่ 9 นายแพทย์สำเริง แหยงกระโทก ประธานกรรมการเขตสุขภาพเพื่อประชาชนเขต 9  รศ. ดร. อนันต์ ทองระอา อธิการบดี มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และนางสุมาลี คริสธานินทร์  ประธานกรรมการบริษัท โนวาร์ตีส (ประเทศไทย) จำกัด ร่วมกันเป็นสักขีพยานในพิธีลงนามบันทึกข้อตกลงMOUโครงการความร่วมมือเพื่อบูรณาการการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด  

พื้นที่โฆษณา

หลักการของโครงการก็เพื่อเพิ่มคุณภาพการบริการด้านสุขภาพผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล ด้วยการพัฒนาต่อยอดเทคโนโลยีดิจิทัล ที่มีการใช้ในเขตสุขภาพที่ 9 เพื่อช่วยในการตรวจคัดกรองผู้มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจและหลอดเลือด การระบุผู้มีปัจจัยเสี่ยง การติดตาม รวมทั้งการให้การดูแลรักษาที่มีความเหมาะสมแก่ผู้ป่วยแต่ละราย เพื่อให้เกิดความร่วมมือในด้านการศึกษาวิจัย  ในการนำมาตรการจัดการปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิด โรคหัวใจและหลอดเลือดไปใช้ในเขตพื้นที่จริง รวมทั้งเพื่อให้เกิดระบบจัดการความรู้สุขภาพที่ช่วยให้ประชาชนรู้เท่าทันสุขภาวะได้ด้วยตนเอง

พื้นที่โฆษณา

อันจะเป็นการสร้าง การรับรู้ด้านสุขภาพผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล (health literacy) รวมทั้งพัฒนาศักยภาพและส่งเสริมความรู้ของ บุคลากรทางการแพทย์ในเขตสุขภาพที่ 9 เกี่ยวกับโรคหัวใจและหลอดเลือดและเพื่อบูรณาการความร่วมมือในการลดปัญหาโรคหัวใจและหลอดเลือดให้ครอบคลุมทุกมิติแบบองค์รวม ตั้งแต่การส่งเสริมให้เกิดการคัดกรอง การวินิจฉัย การติดตาม ไปจนถึงการเข้าถึงนวัตกรรมการรักษาอย่างมีประสิทธิภาพ

พื้นที่โฆษณา

นายแพทย์พงศ์เกษม ไข่มุกด์ ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข เขตสุขภาพที่ 9 กล่าวว่า จากข้อมูลการตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข ปีงบประมาณ 2565 เขตสุขภาพที่ 9 พบว่าโรคที่เป็นสาเหตุการตายของประชาชนในพื้นที่ เขตสุขภาพที่ 9 ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ โรคหัวใจ โรคไตวายเรื้อรัง โรคหลอดเลือดสมอง โรคความดันโลหิตสูง และโรคเบาหวาน สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาสุขภาพด้านโรคไม่ติดต่อเรื้อรังในพื้นที่เขตสุขภาพที่ 9 อย่างชัดเจน การที่ภาครัฐ ภาคีเครือข่ายในเขตสุขภาพที่ 9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี และภาคเอกชน โดย บริษัท โนวาร์ตีส ได้ตกลงที่จะร่วมมือกัน เร่งหาทางแก้ไขและพัฒนาการจัดการเพื่อขจัดหรือลดปัจจัยเสี่ยงของประชาชนในการเกิดโรคหัวใจและหลอดเลือด จะนำไปสู่กระบวนการป้องกันและควบคุมโรคหัวใจและหลอดเลือดอย่างยั่งยืนและเป็นรูปธรรม”

เขตสุขภาพที่ 9 เป็นหนึ่งในสี่เขตสุขภาพนำร่องของการปฏิรูปสุขภาพตามนโยบายรัฐบาล ที่มีความพร้อม มีการปรับระบบบริหารจัดการแบบบูรณาการโดยชุมชน/ภาคี/อปท. มีส่วนร่วม มีจุดคัดกรองสุขภาพ (Health Station) 9,041 แห่ง ครอบคลุมทุกตำบล ทุกจังหวัด ช่วยเพิ่มการเข้าถึงระบบคัดกรองสุขภาพเบื้องต้น เช่น ตรวจวัดความดันโลหิต ตรวจระดับน้ำตาลในเลือด และเพิ่มความรอบรู้ด้านสุขภาพ ด้านการป้องกัน และดูแลรักษาโรคไม่ติดต่อ สำหรับประชาชนและผู้ป่วย ด้วยระบบ H4U กับ 3 หมอ ลดกลุ่มเสี่ยงโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง ลดผู้ป่วยรายใหม่ และลดการใช้ยา รวมถึงพัฒนาระบบ  H4U เพื่อให้แพทย์และประชาชนสามารถเข้าถึงข้อมูลสุขภาพและนำไปใช้ประโยชน์ รวมทั้ง ยังรองรับนโยบาย 30 บาท รักษาทุกที่ เพิ่มความสะดวกในการเข้าถึงบริการของประชาชน โดยไม่มีขีดจำกัด

พื้นที่โฆษณา

ทีมข่าว MC.news.com รายงานจากจังหวัดนครราชสีมา