พื้นที่โฆษณา

คณะกรรมการควบคุมโรคติดต่อจังหวัดฯสั่งผู้นำชุมชน กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ประสาน สถานีอนามัยให้ “พาเข็มไปหาแขน”เพื่อเร่งฉีดวัคซีนเปิดเมืองเป็นเมืองท่องเที่ยวในวันที่ 1 มิย.65 พร้อมเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่นของโควิด เนื่องจากฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นได้ถึงวันนี้แค่ 30 % จึงต้องเร่งทำยอดฉีดให้ได้ 50% ของจำนวนประชากร !! ส่วนสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 เมืองโคราช ยังยืนหยัดอยู่หลักพัน วันนี้ยอดเพิ่มอยู่ที่   PCR +61 ราย และยังมีผลตรวจ ATK +1,131 ราย รวม 1,192 ราย เสียชีวิต 1 ราย โดยคุณยายวัย 92 ปี มีญาติเดินทางมาจากต่างจังหวัดมาเยี่ยมเยียน หลังจากนั้นเกิดมีอาการไอ เจ็บคอ เป็นไป จึงไปตรวจที่โรงพยาบาลครบุรี พบติดเชื้อโควิด เสียชีวิตภายในวันเดียว อย่างน่าสลดใจ!!

นพ.วิญญู จันทร์เนตร รองนายแพทย์สาธารสุขจังหวัดนครราชสีมา (แฟ้มภาพ )
พื้นที่โฆษณา

นายแพทย์วิญญู  จันทร์เนตร รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาเปิดเผยว่า มาตรการสำคัญในการเปิดเมืองรองรับการเป็นประเทศเข้าสู่ภาวะปรกติ ทางกระทรวงสาธารณสุขได้วางเกณฑ์การปรับระดับพื้นที่สถานการณ์ทั่วราชอาณาจักรเกณฑ์ที่ใช้ เพื่อรองรับการเปิดประเทศ และ Smart Control and Living with Covid-19 โดยใช้เกณฑ์การพิจารณาเป็นรายจังหวัด ดังนี้ 1. ระดับความรุนแรงของการระบาด โดยพิจารณาเป็น 4 กลุ่ม ตามอัตราป่วยต่อประชากรแสนคน รายสัปดาห์ ได้แก่ มีผู้ติดเชื้อประปราย เกิดการระบาดรุนแรงน้อย ปานกลาง และรุนแรงมาก 2. อัตราครองเตียงสำหรับผู้ป่วยอาการรุนแรง  แบ่งเป็น 3 ระดับ ได้แก่ ต้องมีผู้ป่วยน้อยกว่า 50%, 51-80%, มากกว่า (โดยปรับให้สอดคล้องกับสถานการณ์)

การประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา ( แฟ้มภาพ )
พื้นที่โฆษณา

ทั้งนี้ให้มี เกณฑ์การพิจารณาร่วม จากการคาดการณ์แนวโน้มการระบาด และผู้เสียชีวิต ประกอบด้วย  1. แนวโน้มการระบาดจากจำนวนผู้ติดเชื้อในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมา และคาดการณ์ในช่วง 2 – 4 สัปดาห์ถัดไป 2. ระดับความครอบคลุมวัคซีนโควิด-19 ในประชากร ภาพรวมจังหวัด และกลุ่ม 608 โดยเฉพาะวัคซีนเข็มกระตุ้น ที่ระดับ น้อยกว่า 40%, 40-60%, มากกว่า 60% เพื่อคาดการณ์แนวโน้มพบผู้ป่วยอาการรุนแรงและเสียชีวิต 3. จังหวัดที่ติดกับชายแดน หรือ เคยมีผู้เดินทางเข้ามาในพื้นที่แล้วติดเชื้อ 4. จังหวัดที่มีพื้นที่นำร่องการท่องเที่ยว และ Endemic approach ซึ่งปรับแนวทางการควบคุมป้องกันโรคด้วยมาตรการ “2U” และ “3 พอ” รวมทั้งการติดตาม กำกับมาตรการ COVID-Free Setting ในสถานบริการ

พื้นที่โฆษณา

ในที่ประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดนครราชสีมา ฯ ได้มีการขออนุมัติดำเนินการมาตรการเร่งรัดการฉีดวัคซีน จ.นครราชสีมา เน้นย้ำ การใช้กลใกระดับพื้นที่ โดยให้ผู้นำท้องถิ่น ท้องที่ ได้แก่ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และ อาสาสมัครต่างๆ รวมถึง แกนนำจิตอาสาในชุมชน กลุ่มจิตอาสา ฯ อาสาสมัครจิตอาสาด้านข้อมูลให้สำรวจข้อมูล ค้นหากลุ่มเป้าหมายที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน พร้อมวิเคราะห์ความต้องการรูปแบบริการประชาสัมพันธ์ เชิญชวนเข้ารับการฉีดวัคซีน โดยเน้นประชาสัมพันธ์ถึงประโยชน์ของวัคซีนป้องกัน

ทั้งนี้ต้องแจ้ง หรือประสาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุขหรือหน่วยบริการ (รพ.สต/รพช) จัดบริการฉีดวัคซีนให้กลุ่มดังกล่าว ทันทีพร้อมทั้งปรับรูปแบบการบริการวัคซีนใช้กลยุทธ์ “พาเข็มไปหาแขน ต่อเนื่อง”โดยจัดเป็น Mobile เคลื่อนที่ไปให้บริการในระดับหมู่บ้าน ชุมชน เพื่อลดข้อจำกัดในการเข้าถึงบริการ ลดปัญหาการเดินทางลำบาก ลดปัญหาไม่มีคนพาไป ฯลฯ สุดท้ายก็คือต้องเพิ่มความถี่ในการบริการวัคซีน โดยให้ทุกพื้นที่ ฉีดวัคซีนทุกวันหรือไม่น้อยกว่าสัปดาห์ละ 2-3 วัน(อังคารศุกร์ หรือ จันทร์ พุธ ศุกร์ ) เพื่อความสะดวกในการให้บริการแก่ประชาชน โดยให้มีการติดตามกำกับต่อเนื่อง โดย สุ่มอำเภอรายงานผลการฉีดวัคซีน ต่อ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดทุกสัปดาห์

โดยในวันนี้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และ คณะอนุกรรมการป้องกันตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แถลงถึงสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธ์ “โอมิครอน” ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ประจำวันที่ 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ว่าการตรวจพบผู้ติดเชื้อในพื้นที่ชุมชนจากการตรวจ  PCR +61 ราย และยังมีผลตรวจ ATK +1,131 ราย รวม 1,192 ราย จากสถานการณ์นี้ทำให้  จ.นครราชสีมา มีผู้ติดเชื้อสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 รวม  170,644 ราย รักษาอยู่ 14,021 ราย รักษาหายสะสม 156,358 ราย เสียชีวิตสะสม 265 ราย จำแนกแยกอาการผู้ป่วยเป็นอาการสีเหลือง 13 ราย และผู้ป่วยอาการสีเขียว 1,179 ราย

วันนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตจำนวน 1 ราย เป็นรายที่ 265 ของจังหวัดนครราชสีมา เป็นเพศหญิง  อายุ92ปี มีภูมิลำเนาอยู่ที่ ต.อรพิมพ์  อ.ครบุรี  จ.นครราชสีมา  ไม่มีประวัติว่ามีโรคประจำตัว  ไม่มีประวัติการฉีดวัคซีน  ติดเชื้อโควิด-19  เริ่มมีอาการป่วยเมื่อวันที่ 23พค.65  จากการตรวจด้วยชุดตรวจ ATK ที่ รพ.ครบุรี เนื่องจากมีอาการไอ เจ็บคอ หายใจหอบเหนื่อย นอนราบกับพื้นไม่ได้  สอบประวัติบอกว่ามีญาติมาจากต่างจังหวัด  จนกระทั่งวันที่ 24 พค.65 มีอาการเหนื่อยหอบมากขึ้น และซึมลง จนเสียชีวิตในที่สุด

รายงานได้แบ่งผู้ป่วยติดเชื้อตามรายอำเภอ จากผลตรวจ PCR และ ATKที่มีผลเป็นบวกพบว่า อ.โนนสูง แซงนำพโงมีผู้ติดเชื้อสูงสุดอยู่ที่ 146 ราย รองลงมาเป็น อ.เมือง 105 ราย ถัดไปเป็น อ.ปักธงชัย 104 ราย, อ.ด่านขุนทด 98 ราย, อ.แก้งสนามนาง 70 ราย, อ.ห้วยแถลง 66 ราย, อ.คง 54 ราย, อ.สีคิ้ว 50 ราย, อ.ประทาย 45 ราย, อ.เสิงสาง 45 ราย, อ.ครบุรี 41 ราย, อ.เทพารักษ์ 37 ราย, อ.พิมาย 30 ราย, อ.ชุมพวง 30 ราย, อ.บ้านเหลื่อม 30 ราย, อ.บัวใหญ่ 25 ราย, อ.ลำทะเมนชัย 25 ราย, อ.เฉลิมพระเกียรติ 25 ราย, อ.ขามสะแกแสง 24 ราย, อ.ขามทะเลสอ 21 ราย, อ.ปากช่อง 20 ราย, อ.เมืองยาง 18 ราย, อ.โนนแดง 17 ราย, อ.โชคชัย 16 ราย, อ.สูงเนิน 16 ราย, อ.พระทองคำ 11 ราย, อ.สีดา 11 ราย, อ.วังน้ำเขียว 9 ราย, อ.จักราช 2 ราย, อ.หนองบุญมาก 1 ราย

.ทีมข่าว MC.news.com รายงานจากจังหวัดนครราชสีมา