
โคราชเตรียม 4 ยุทธศาสตร์รับมือพร้อมก้าวเข้าสู่โรคประจำถิ่น อย่างเต็มรูปแบ ขนานไปกับการเปิดเมืองเป็นเมืองท่องเที่ยวในวันที่ 1 มิย.65 ทั้งด้านการสาธารณสุขเร่งฉีดวัคซีนให้ครบตามเป้า การเตรียมงานในด้านการแพทย์เพื่อรักษาพยาบาลมีมีการติดเชื้อ พร้อมยุทธศาสตร์ในด้านกฎหมายและสังคมเพื่อขจัดการแพร่ระบาดของเชื้อโรค และ การประชาสัมพันธ์เพื่อสร้างความเข้าใจให้กับประชาชน ส่วนสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 เมืองโคราช ยังยืนหยัดอยู่หลักพัน วันนี้ยอดเพิ่มอยู่ที่ PCR +63 ราย และยังมีผลตรวจ ATK +1,037 ราย รวม 1,100 ราย เสียชีวิต 2 ราย!!



นายชูศักดิ์ ชุนเกาะ รองผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ได้รับมอบหมายจากนายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ให้เป็นประธานในการประชุมคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และ คณะอนุกรรมการป้องกันตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19)ผ่านระบบ ZOOM ไปยังผู้เกี่ยวข้องในพื้นที่ติดเชื้อ32อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา ในที่ประชุม แพทย์หญิงอารีย์ ชัยเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมา ได้แถลงถึงสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธ์ “โอมิครอน” ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ประจำวันที่ 27 พฤษภาคม พ.ศ. 2565 ว่าการตรวจพบผู้ติดเชื้อในพื้นที่ชุมชนจากการตรวจ PCR +63 ราย และยังมีผลตรวจ ATK +1,037 ราย รวม 1,100 ราย จากสถานการณ์นี้ทำให้ จ.นครราชสีมา มีผู้ติดเชื้อสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 รวม 171,744 ราย รักษาอยู่ 13,494 ราย รักษาหายสะสม 157,983 ราย เสียชีวิตสะสม 267 ราย จำแนกแยกอาการผู้ป่วยเป็นอาการสีเหลือง 8 ราย และผู้ป่วยอาการสีเขียว 1,092 ราย



วันนี้มีรายงานผู้เสียชีวิตจำนวน2 ราย เป็นรายที่ 266 ของจังหวัดนครราชสีมา เป็นเพศชาย อายุ 74ปี มีภูมิลำเนาอยู่ที่ ต.ด่านขุนทด อ.ด่านขุนทด จ.นครราชสีมา มีโรคประจำตัวเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในหลอดเลือด มีประวัติการฉีดวัคซีน Astra จำนวน 2 เข็ม ติดเชื้อโควิด-19 เริ่มมีอาการป่วยเมื่อวันที่ 12พค.65 มีอาการอ่อนเพลีย เบื่ออาหาร นอนติดเตียง เดินไม่ได้ มาตรวจที่ รพ.ด่านขุนทด นำส่งต่อ รพ.เทพรัตน์ จนกระทั่งวันที่ 24 พค.65 ผู้ป่วยมีอาการเหนื่อยหอบมากขึ้น และซึมลง ในวันที่ 25 พค.65 และเสียชีวิตในที่สุด, ผู้ป่วยเสียชีวิตรายที่ 267 เป็นเพศหญิง อายุ83ปี มีภูมิลำเนาอยู่ที่ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา มีโรคประจำตัวความดันโลหิตสูง โลหิตจาง ไตวายเฉียบพลัน ไม่มีประวัติการฉีดวัคซีน ติดเชื้อโควิด-19 เริ่มมีอาการป่วยเมื่อวันที่ 23พค.65 มีอาการเหนื่อยเพลีย หายใจไม่สะดวก1วันก่อนมาโรงพยาบาลมหาราชฯ จนกระทั่งวันที่ 25 พค.65 มีอาการเหนื่อยหอบมากขึ้น และซึมลง จนเสียชีวิตในที่สุด


รายงานได้แบ่งผู้ป่วยติดเชื้อตามรายอำเภอ จากผลตรวจ PCR และ ATKที่มีผลเป็นบวกพบว่า อ.เมือง กลับมามีผู้ติดเชื้อสูงสุดอยู่ที่ 138 ราย รองลงมาเป็น อ.โนนสูง 104 ราย ถัดไปเป็น อ.พิมาย 85 ราย, อ.จักราช 73 ราย, อ.ปักธงชัย 69 ราย, อ.ห้วยแถลง 66 ราย, อ.ประทาย 62 ราย, อ.เสิงสาง 43 ราย, อ.ชุมพวง 41 ราย, อ.บัวใหญ่ 36 ราย, อ.สีคิ้ว 35 ราย, อ.ปากช่อง 32 ราย, อ.ลำทะเมนชัย 32 ราย, อ.เฉลิมพระเกียรติ 30 ราย, อ.ด่านขุนทด 28 ราย, อ.ครบุรี 27 ราย, อ.ขามสะแกแสง 25 ราย, อ.ขามทะเลสอ 23 ราย, อ.เทพารักษ์ 23 ราย, อ.วังน้ำเขียว 21 ราย, อ.สูงเนิน 20 ราย, อ.สีดา 19 ราย, อ.แก้งสนามนาง 17 ราย, อ.หนองบุญมาก 14 ราย, อ.โนนแดง 13 ราย, อ.บัวลาย 10 ราย, อ.โชคชัย 8 ราย, อ.พระทองคำ 5 ราย, อ.เมืองยาง 1 ราย

แพทย์หญิงอารีย์ เชื้อเดช รองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมากล่าวถึงสถานการณ์ในภาพรวมในขณะนี้พบว่า การระบาดขณะนี้สามารถควบคุมได้ จะเห็นได้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อทยอยลดลงอย่างต่อเนื่องตลาดสัปดาห์ที่ผ่านมา การติดเชื้อส่วนใหญ่ก็จะเป็นคนในจังหวัด ส่วนต่างจังหวัดนั้นมีน้อย ทำให้การควบโรคสามารถดำเนินการได้ดี และโรงพยาบาลสนามได้ปิดตัวลงทั้งหมด คงเหลือไว้เฉพาะอุกรรณ์ต่างๆ ที่พร้อมจะเปิดบริการได้ทันที่ โดยผู้ป่วยในขณะนี้มีจำนวน 13,494 ราย แต่รักษาอยู่ในโรงพยาบาลต่างๆเพียง 811 ราย ที่เหลือนอกนั้นก็จะรักษาตัวที่บ้านในระบบ HI และเป็นผู้ป่วยนอกแบบOP-SI จึงเชื่อได้ว่าจังหวัดนครราชสีมาจะสามารถเข้าสู่โรคประจำถิ่น และเปิดเมืองเพื่อการท่องเที่ยว


อย่างไรก็ตามในที่ประชุมได้มีการเสนอยุทธศาตร์เพื่อเตรียมความพร้อมในการที่จังหวัดนครราชสีมาโรคติดเชื้อไวรัสโคโรน่าโควิด 2019 กำลังจะก้าวเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น และการเปิดเมืองท่องเที่ยวเพื่อพื้นฟูเศรษฐกิจ โดยมีการดำเนินงาน 4 ยุทธศาสตร์ได้ ยุทธศาสตร์ด้านการสาธารณสุข ใช้กลยุทธ์ในการ เร่งรัดการฉีดวัคซีน ที่ใช้มาตรการ รณรงค์การเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้กับ”ทุกคน ทุกเข็มทุกเงื่อนไข” บูรณาการโดยผู้นำชุมชนและเจ้าหน้าที่ สสจ.”พาเข็มไปหาแขน”โดยมีเป้าหมายเข็มกระตุ้น (Booster) 260% ของ ประชากร พร้อมกับปรับระบบการเฝ้าระวัง การระบาดเป็นกลุ่มก้อนและผู้ป่วยปอดอักเสบ ปรับแนวทางการแยกกักตัว/กักกันผู้สัมผัส เสี่ยงสูง(ตามแนวทางของกระทรวง) มาตรการ เน้นแยกกักผู้ป่วยแบบ self isolation มากขึ้น


ยุทธศาสตร์ด้านการแพทย์ ที่ต้องมีการปรับแนวทางการรักษาแบบผู้ป่วยนอก พร้อมยกระดับการตรวจวินิจฉัย การดูแลรักษา ระบบส่งต่อผู้ป่วย ภายใต้แนวคิด “ต้นโพธิ์โมเดล” และการขยายผลการให้บริการกลุ่มที่ไม่มีอาการกลุ่มที่มีอาการและกลุ่มเสี่ยง เน้น OP-SI/HIมาตรการ กลุ่มผู้ป่วยปอดอักเสบ ส่งเสริมการบริการ Semi ICU – AIR-ICU ในทุกโรงพยาบาล มาตรการ ผู้ให้บริการสุขภาพ วัคซีนเข็มกระตุ้น ให้มากถึง 98%/Standard Precautions/ตามแนวทางของกรมการแพทย์ นอกจากนั้นยังต้องให้การดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงอาการรุนแรง จากอากร Long COVID ที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิดและรักษาหายแล้ว ซึ่งจะต้องให้บริการแบบปฐมภูมิ การประเมินและ ดูแลเบื้องต้นในการรักษาอาการ Long COVID ในโรงพยาบาลทุกแห่งมาตรการทั้งจังหวัด


ยุทธศาสตร์ด้านกฎหมายและสังคม ที่นับเป็นความจำเป็นในบริหารจัดการให้สอดคล้องกับการเข้าสู่ การที่มีประกาศมาตรการฯสำหรับจังหวัดนำร่องการท่องเที่ยว อันเป็นการผ่อนคลายมาตรการทางสังคม ให้มีผลในทางเศรษฐกิจ แต่ก็ยังคงมีมาตรการ พิจารณาควบคุมการจัดกิจกรรมการรวมตัว/การจัดกิจกรรมในสถานที่เสี่ยง ตามความเหมาะสม ในสขณะเดียวกันก็ส่งเสริมมาตรการ COVID Free Setting โดยมีมาตรการ การยกระดับการกำกับ มาตรการ COVID Free Setting ทุกกิจการ/กิจกรรมระดับจังหวัด/อำเภอ/พื้นที่


ยุทธศาสตร์สุดท้ายก็คือยุทธศาสตร์ด้านการสื่อสารประชาสัมพันธ์ ต้องดำเนินการในเชิงรุก อย่างครอบคลุม สร้างความรู้ ความเข้าใจ ให้ประชาชนในการที่จะอยู่ร่วมกับโควิดโรคประจำถิ่น สื่อสารในทุกช่องทาง เน้นปรัเด็นสถานการณ์(จำนวนผู้ติดเชื้อเพิ่ม,อาการ รุนแรงน้อย,กลุ่มเสี่ยง ของโรคประจำถิ่น รณรงค์ให้ประชาชนทุกกลุ่มมาฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น ที่สำคัญคือต้องเน้นกลุ่มผู้สูงอายุที่มีโรคประจำตัว หรือกลุ่มเสี่ยง 608 และสร้างความเข้าใจในการจำแนกผู้ป่วยเพื่อเป็นแนวทางในการรักษาในทุกระบบไม่ว่าจะเป็นแบบ (HI, CI, OPSI)/ UCEP COVID Plus

.ทีมข่าว MC.news.com รายงานจากจังหวัดนครราชสีมา