พื้นที่โฆษณา

ยอดติดเชื้อโควิดเมืองโคราช วันนี้พบ 1,060 ราย จากการติดเชื้อในชุมชนรายใหม่  ที่มีผล PCR+ 400 ราย และยังมีผลตรวจ ATK +660 ราย ชายผู้สูงอายุเสียชีวิตเซ่นโควิด-19 อีก 1 ราย อายุ 75 ปี เพิ่มยอดตาย 54  ราย  การติดเชื้อที่อำเภอเมืองมียอดนำโด่งแบบครองแชมป์ตลอดกาล โดยตรวจหาเชื้อทั้ง 2 ระบบ PCR – ATK พบติดเชื้อเหยียบ 331 ราย ผู้ป่วยวันนี้เป็นผู้ป่วยที่มีอาการสีเหลืองจำนวน 75 ราย เป็นผู้ป่วยสีเขียว 985 ราย ไม่มีผู้ป่วยสีแดงที่มีอาการหนัก ขณะที่ภาพรวมทั้งจังหวัดมีผู้ป่วยรักษาอยู่ในโรงพยาบาลหลัก 1,863 ราย รักษาอยู่โรงพยาบาลสนาม 181 ราย รักษาอยู่ในชุมชนแบบ (CI)จำนวน 1,679 ราย รักษาตัวอยู่ที่บ้าน (HI)จำนวน 6,637 ราย และเป็นผู้ป่วยแบบ OP-SI มีจำนวนเพิ่มขึ้นเป็น 2/58 ราย !!!

แฟ้มภาพ
พื้นที่โฆษณา
แฟ้มภาพ

ทั้งนี้สถานการณ์ของผู้ป่วยติดเชื้อเป็นไปตามที่รายงานจากคณะกรรม การโรคติดต่อแห่งชาติ  ที่ได้มีมติเห็นชอบ ปรับโรคติดเชื้อไวรัสโควิด-2019 ให้เป็นโรคประจำถิ่นโดยให้ เริ่มตั้งแต่ 1 ก.ค. 65 กรอบการดำเนินการได้แบ่งระยะของโควิดเป็นโรคประจำถิ่น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 ห่วงตั้งแต่ 12 มี.ค.-ต้น เม.ย. จะเรียกว่า Combatting ต้องออกแรงกดตัวเลขไม่ให้ยอดการติดเชื้อสูงกว่านี้ เป็นระยะต่อสู้ เพื่อลดการระบาด ลดความรุนแรงลง ซึ่งจะมีมาตรการต่างๆ ออกไป การดำเนินการให้กักตัวลดลง  ระยะที่ 2 ตั้งแต่เดือน เม.ย.-พ.ค. เรียกว่า Plateau คือ การคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น ให้เป็นระนาบจนลดลงเรื่อยๆ  ระยะที่ 3 ช่วงปลาย พ.ค.-30 มิ.ย. เรียกว่า Declining  จะเป็นการลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้เหลือ 1,000-2,000 คน  และสุดท้ายระยะ 4 เริ่มตั้งแต่ 1 ก.ค. 65 เป็นต้นไป เรียกว่า Post pandemic คือ ออกจากโรคระบาด เข้าสู่โรคประจำถิ่น ซึ่งการรักษาผู้ป่วยก็จะเป็นระบบธรรมดาตามอาการ แบบผู้ป่วยนอก(

พื้นที่โฆษณา

คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และ คณะอนุกรรมการป้องกันตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แถลงถึงสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธ์ “โอมิครอน” ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ในวันที่ 14 มีนาคม พ.ศ. 2565 ว่ามีผู้ติดเชื้อในพื้นที่ชุมชนรายใหม่  จากผลตรวจ  PCR+ 400 ราย และยังมีผลตรวจ ATK +660 ราย รวม +1,060 ราย  แยกเป็นการติดเชื้อจากนอกเขตจังหวัด 15 ราย โดยเป็นผู้ติดเชื้อเดินทางมาจากพื้นที่เสี่ยง  กรุงเทพมหานครฯ 1 ราย  มาจากพื้นที่เสี่ยงจังหวัดปทุมธานี 2 ราย  มาจากพื้นที่เสี่ยงจังหวัดราชบุรี 1 ราย มาจากพื้นที่เสี่ยงจังหวัดสมุทรปราการ 2 ราย  เป็นผู้ป่วยมาจากกรุงเทพมหานครฯ มารักษาตัวที่โคราช 8 ราย และจากจังหวัดชลบุรี 1 รายที่กลับมารักษาตัวเช่นกัน ส่วนผู้ป่วยติดเชื้อในจังหวัดนครราชสีมามีจำนวน 1,045 ราย

พื้นที่โฆษณา

จากสถานการณ์นี้ทำให้จังหวัดนครราชสีมามีผู้ติดเชื้อสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 รวม 32,583 ราย  ยังคงรักษาอยู่ 10,608 ราย  รักษาหายสะสม 21,921 ราย  เสียชีวิตสะสม 54 ราย  วันนี้มีรายงานผู้เสียชีวิต 1 ราย เป็นรายที่ 54 ของ จ.นครราชสีมาเพศ ชาย อายุ 79 ปี มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ที่ ต.กุดพิมาน อ.ด่านขุนทด ติดเชื้อโควิด-19 มีโรคประจำตัว เสียชีวิต ที่ รพ.เทพรัตน์นครราชสีมา

 รายงานได้แบ่งผู้ป่วยตามรายอำเภอจากผลการตรวจ PCR และก็พบว่า อ.เมืองมีผู้ติดเชื้อสูงสุด จำนวน 159 รายถัดไปเป็น อ.ปากช่อง 67 ราย รองลงไปเป็น อ.สูงเนิน 44 ราย, อ.โนนสูง 34 ราย, อ.แก้งสนามนาง 26 ราย, อ.คง 24 ราย, อ.จักราช 21 ราย, อ.เสิงสาง 15 ราย, อ.บัวใหญ่ 5 ราย และ อ.สีดา 5 ราย ส่วนรายงานจากผลการตรวจด้วยชุดตรวจ  ATK  ก็พบอีกว่า อ.เมือง มีผู้ติดเชื้อสูงสุด  172 ราย รองลงไปเป็น อ.ปักธงชัย 151 ราย ถัดไปเป็น อ.พิมาย 129 ราย, อ.เสิงสาง 73 ราย, อ.วังน้ำเขียว 40 ราย, อ.บัวใหญ่ 21 ราย, อ.ชุมพวง 20 ราย, อ.ขามทะเลสอ 18 ราย , อ.ขามสะแกแสง 14 ราย, อ.บ้านเหลื่อม 11 ราย, อ.สีดา 9 ราย, อ.จักราช 1 ราย และ อ.โนนสูง 1 ราย

นายวิเชียร จันทรโณทัย ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมาตั้งข้อสังเกตถึงการเสียชีวิตของผู้ติดเชื้อ ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นผู้สูงอายุ ที่มีอายุตั้งแต่ 60ขึ้นไป บางรายเป็นผู้ที่เสียชีวิตที่อยู่ในกลุ่ม 608 คือมีโรคประจำตัวทั้ง 8 โรค ที่สำคัญก็คือผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ไม่มีประวัติการฉีดวัคซีนเลย คณะกรรมทการควบคุมโรคติดต่อจึงได้มอบนโยบาย ให้หน่วยบริการฉีดวัคซีน ได้มีการประชาสัมพันธ์ เพื่อกระตุ้นให้กลุ่มเสี่ยงเหล่านี้ได้มาฉีดวัคซีนเพื่อป้องกันโรคโควิด-19  ซึ่งก็มีทั้งการกระตุ้นการฉีดวัคซีนเข้ม 3 เพื่อเป็นกระตุ้นสร้างภูมิคุ้มกัน  และประสัมพันธ์เรียกร้องให้ชาวสบ้านในอำเภอต่างๆที่มีผู้เฒ่าผู้แก่อยู่ในบ้านให้นำมาฉีดวัคซีนเพื่อป้องการติดเชื้อจนเสียชีวิต

.

ทีมข่าว MC.news.com รายงานจากจังหวัดนครราชสีมา