พื้นที่โฆษณา

น้ำท่วมไหลหลากทำเอาเมืองโคราช”จมบาดาล”รวมสองระลอก จึงต้องประกาศเขตภัยพิบัติรวม 24อำเภอ ค่าเสียเป็นเงินตรายังหามูลค่าประเมินไม่ได้ เพราะมวลน้ำเพิ่งจะเริ่มหลาก ท้ายน้ำด้านทิศตะวันออกอีกหลายอำเภอ ยังต้องเจอกับภาวะเจ็บปวดซ้ำแล้วซ้ำเล่า เบื้องต้นขณะนี้มี  12 อำเภอที่เจอระลอกแรก และระลอกสอง จำนวนผู้เสียหายอยู่ที่ 7,403ครัวเรือน สถานที่ราชการถูกน้ำท่วมได้รับความเสียหาย 10 แห่ง พื้นที่เพราะปลูกนับล้านไร่จมน้ำ พื้นที่ประมงเสียหาย กว่า 4 พันไร่ วัวควายหมูเป็ดไก่นับหมื่นตัวต้องอพยพ และขาดอาหาร  นักธุรกิจให้ข้อคิดผู้รับใช้ประชาชนต้องออกมาร่วมกันทำแผนแม่บทแก้ปัญหาระยะยาว

พื้นที่โฆษณา

วันพฤหัสบดี ที่ 21 ตุลาคม พ.ศ. 2564 นายวิเฃียร จันทรโณทัย ผวจ.โคราช ได้มีการประฃุมติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ที่ศูนย์บัญชาการเหตุการณ์ป้องกันและแก้ไขปัญหาอุทกภัย และดินโคลนถล่ม จังหวัดนครราชสีมา สรุปสถานการณ์อุทกภัยจังหวัดนครราชสีมา เบื้องต้นพบว่า มีพื้นที่ประสบภัยน้ำท่วมหนักรวม 12 อำเภอ ได้แก่ อำเภอโนนสูง อ.คง อ.เมืองยาง อ.ประทาย อ.สีคิ้ว อ.พิมาย อ.ด่านขุนทด อ.สูงเนิน อ.ขามทะเลสอ อ.ปักธงชัย อ. เมืองนครราชสีมา เละ อ.โนนไทย รวม 58 ตำบล 280 หมู่บ้าน1 เทศบาลนคร 12 ชุมชน 7,403 ครัวเรือน

พื้นที่โฆษณา

โดยพื้นที่ ที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วมเป็นพื้นที่กี่งเศรษฐกิจในเขตเทศบาลนครนครราชสีมา รวม 1 เทศบาลนคร 12 ชุมชน 2,259 ครัวเรือน ถนน 4 สาย สถานที่ราชการ 10 แห่ง วัด 2 แห่ง ประกอบด้วย โรงเรียนอนุบาลเมืองนครราชสีมา, วิทยาลัยอาชีวะศึกษา, โรงเรียนอนุบาลนครราชสีมา, โรงเรียนสุรนารีวิทยา, โรงเรียนอัสสัมชัญ, โรงเรียนเทศบาล 4 (เพาะชำ), สถานีขนส่งผู้โดยสารนครราชสีมาแห่งที่ 2, วัดโคกไผ่, สำนักงานทางหลวงนครราชสีมา1-2 , มหาวิทยาลัยราชภัฎนครราชสีมา และ วัดศาลาลอย  ทางด้านถนนหนทางที่ถูกน้ำท่วม4 สายประกอบด้วย ทางหลวงหมายเลข 204 ทางเลี่ยงเมืองตอนสามแยกปักธงชัย-จอหอ น้ำท่วมผิวทางการจราจรสูง 20-30 ซม. ระยะทางประมาณ 1 กม., ถนนมิตรภาพ ทางหลวงหมายเลข 2 กม. 148+500+149+400, ถนนสุระ 2 (นม.1120) ถนนสิริราชธานี(ทางเข้าประโดก-โคกไผ่) -ถนนทางเผือกทางเข้า รพ.มหาราชนครราชสีมา สถานการณ์น้ำมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

พื้นที่โฆษณา

สำหรับผลกระทบจากอุทกภัยในด้านการเกษตร โดยเกษตรจังหวัดนครราชสีมาแจ้งว่า พื้นที่การเกษตรที่ประสบอุทกภัย 1,060,820 ไร่ คาดว่าจะเสียหาย 855,322 ไร่ ข้าว 590, 564 ไร่ มันสำปะหลัง 204,290 ไร่ ข้าวโพด 52,560ไร่ อ้อย 3,944 ไร่ พืชผักอื่นๆ 2,361 ไร่ ไม้ผล และอื่นๆ 1,604 ไร่ ในด้านประมง พื้นที่ที่ประสบอุทกภัย รวม 13 อำเภอ 44ตำบล 200 หมู่บ้าน เกษตรกร 2,672 ราย บ่อปลา จำนวน 4,803.50 ไร่ ข้อมูลสำนักงานประมง จ.นครราชสีมา ณ วันที่ 5 ต.ค.64) ด้านปศุสัตว์ จำนวนสัตว์ที่อพยพ รวม 8 อำเภอ 17 ตำบล 78 หมู่บ้าน เกษตรกร 1,027 ราย อพยพสัตว์โค 9,585 ตัว กระบือ 212 ตัว สุกร 36 ตัว แพะ 249 ตัว ไก่ 84 ตัว การให้ความช่วยเหลือ พืชอาหารสัตว์ 44,200 กิโลกรัม อาหารผสมสำเร็จ 18,000 กิโลกรัม ข้อมูลสำนักงานปศุสัตว์ จ.นครราชสีมา ณ วันที่ 8 ต.ค.64

พื้นที่โฆษณา

ทั้งนี้ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา ได้ประกาศเขตการให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน (อุทกภัย) ตามระเบียบกระทรวงการคลัง ว่า ด้วยเงินทดรองราชการเพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยพิบัติกรณีฉุกเฉิน พ.ศ. 2562 รวม 24 อำเภอ 166 ตำบล 1,577 หมู่บ้าน 13ชุมชน ได้แก่ อำเภอด่านขุนทด โนนสูง พิมาย โนนไทย พระทองคำ เทพารักษ์ เฉลิมพระเกียรติ เสิงสาง แก้งสนามนาง ปักธงชัย ปากช่อง สูงเนิน บ้านเหลื่อม สีคิ้ว ลำทะเมนชัย หนองบุญมาก ชุมพวง เมืองยาง โชคชัย ขามทะเลสอ คง โนนแดง ประทาย และสีดา

นอกจากนี้ กองอำนวยการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา ได้ประกาศพื้นที่ประสบสาธารณภัย(อุทกภัย) ตามแผนป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ พ.ศ.2558 รวม 31 อำเภอ 218 ตำบล 2,164 หมู่บ้าน 23 ชุมชน ได้แก่ อำเภอโนนสูง ด่านขุนทด ปักธงชัย วังน้ำเขียว โชคชัย ครบุรี ปากช่อง เสิงสาง พิมาย โนนไทย จักราช เฉลิมพระเกียรติ พระทองคำ เทพารักษ์ แก้งสนามนาง เมืองนครราชสีมา ชุมพวง สูงเนิน ขามสะแกแสง คง ห้วยแถลง บ้านเหลื่อม หนองบุญมาก บัวใหญ่ สีคิ้ว ประทาย โนนแดง ขามทะเลสอ สีดา เมืองยาง และลำทะเมนชัย

นายสุนทร  สุวรรณชาติ นักธุรกิจโคราช ได้ให้ทัศนถึงน้ำท่วมคราวนี้ว่า  เมื่อเกิดปัญหาน้ำท่วม น้ำหลาก โดยมีหน่วยงานหลายภาคส่วนเข้าไปช่วยเหลือดูแลเป็นสิ่งที่ดี แต่เป็นการแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า จึงไม่สามารถขจัดปัญหาได้ในระยะยาว เพราะตามธรรมชาติสภาวะภูมิอากาศ และภูมิประเทศย่อมเกิดน้ำท่วมน้ำหลากได้อีก ปัญหาน้ำท่วมในเขตเมืองนครราชสีมา ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นในพื้นที่ที่อยู่ใกล้กับ “คลองลำตะคอง” โดยธรรมชาติของน้ำย่อมไหลจากที่สูงไปสู่ที่ต่ำ ที่ผู้คนในอดีตได้กำหนดไว้โดยสอดคล้องกับธรรมชาติ

 แต่ปัจจุบันนี้เฉพาะในเขตเมืองนครราชสีมา “คลองลำตะคอง” ซึ่งเปรียบเหมือนทางระบายน้ำให้ไหลจากพื้นที่สูงไปสู่พื้นที่ต่ำ ไม่สามารถระบายน้ำได้ดีเท่าที่ควร เนื่องจากในปัจจุบันมีสิ่งปลูกสร้างกีดขวางรุกล้ำลำคลอง ผสมผสานกับสภาพตื้นเขินของลำน้ำที่ไม่มีการขุดลอกกันเลย  นอกจากนี้ พื้นที่ท้องไร่ท้องนาที่เป็นแหล่งกักเก็บน้ำล้นน้ำหลาก ไว้ใช้ยามน้ำแล้งก็มีไม่เพียงพอ ซึ่งปัญหาเหล่านี้ผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ต้องมีแผนแม่บทในแก้ไข ตามภารกิจที่เสนอตัวเข้ามารับผิดชอบเพื่อประโยชน์สาธารณะ แม้ต้องบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดก็ต้องดำเนินการ เหตุเพราะผู้ที่ได้รับความเดือดร้อนจากปัญหาน้ำท่วมน้ำหลากไม่ใช่แค่ “พวกเรา” แต่ก็คือ “เรา” ทุกคนที่อยู่ร่วมกันในสังคมเดียวกัน

ทีมข่าว MC.news.com รายงานจากจังหวัดนครราชสีมา