พื้นที่โฆษณา

ช่วงการระบาดของโควิดที่ผ่านมา มีหลายสถาบันเผยแพร่รายงาน ดัชนีความมั่นคงทางด้านสาธารณสุข  โดยจัดอันดับให้ ประเทศไทย เป็น 1 ในประเทศที่มีระบบสาธารณสุข มั่นคงที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อาทิ มหาวิทยาลัย John Hopkins และองค์กร Nuclear Threat Initiative รายงานปี 2019 พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 6 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย และเป็น 1 ใน 13 ประเทศที่มีความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาดมากที่สุด   ขณะเดียวกันวัคซีน AstraZeneca ที่รัฐบาลเกาหลีบริจาคให้ไทย จำนวน 470,000 โดส ได้ถูกขนส่งออกจากท่าอากาศยานอินชอนเมื่อวันวาน และถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแล้ว!!ส่วนยอดการติดเชื้อวันนี้มีจำนวนเพิ่มขึ้นอยู่ที่ 11,276 ราย เสียชีวิต  112ราย หายป่วย 10,407 ราย!!

พื้นที่โฆษณา

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด –19 วันพฤหัสบดีที่ 14 ตุลาคม 2564  มียอดผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 11,276 ราย จำแนกเป็นผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 10,413 ราย  ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 677 ราย  ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 134 ราย  ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 52 ราย  ผู้ป่วยสะสม 1,722,841 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) แพทย์รักษาหายป่วยกลับบ้าน 10,407 ราย  รวมหายป่วยสะสม 1,598,324 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)  ผู้ป่วยกำลังรักษา 107,925 ราย และมีผู้เสียชีวิตวันนี้จำนวน 112 ราย 

พื้นที่โฆษณา

ส่วนสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลกเมื่อวาน วันพุธที่ 13 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น. มียอดผู้ติดเชื้อรวม 239,477,111 ราย  มีอาการรุนแรง 80,993 ราย  แพทย์รักษาหายแล้ว 216,836,376 ราย  มีผู้เสียชีวิต 4,881,538 ราย  จัดอันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด   1. สหรัฐอเมริกา ติดเชื้อ จำนวน 45,431,167 ราย   2. อินเดีย ติดเชื้อ จำนวน 34,000,500 ราย   3. บราซิล ติดเชื้อ จำนวน 21,590,097 ราย   4. สหราชอาณาจักร ติดเชื้อ จำนวน 8,231,437 ราย   5. รัสเซีย ติดเชื้อ จำนวน 7,832,964 ราย  สำหรับประเทศไทย ติดเชื้ อยู่ในอันดับที่ 24 จำนวน 1,740,428 ราย

พื้นที่โฆษณา

สำหรับประเทศไทยรายงานจากศูนย์ข้อมูลCOVID19 ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ MOPH-IC มี จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. – 12 ต.ค. 2564) รวม 61,995,809 โดส ใน 77 จังหวัด  โดยภาพรวมยอดฉีดวัคซีนเมื่อ วันที่ 12 ตุลาคม 2564 มียอดฉีดทั่วประเทศ 962,558 โดส   ฉีดเข็มที่ 1 จำนวน 433,814 ราย  ฉีดเข็มที่ 2 จำนวน 486,189 ราย  ฉีดเข็มที่ 3 จำนวน 42,555 ราย  จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 35,895,984 ราย  จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 24,282,686 ราย จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 1,817,139 ราย

มีรายงานข่าวจากกระทรวงต่างประเทศแจ้งว่าทันทีที่ ครม.อนุมัติการรับการช่วยเหลือจากรัฐบาลเกาหลี นางสาวรมณี คณานุรักษ์ เอกอัครราชทูตไทย ประจำกรุงโซล ได้เดินทางไปรับมอบวัคซีน AstraZeneca จำนวน 470,000 โดส ที่รัฐบาลเกาหลีใต้บริจาคให้แก่ประเทศไทย ณ.คลังสินค้าของบริษัท Korea Superfreeze ที่เมืองพย็องเทค จังหวัดคยองกี และในโอกาสดังกล่าวได้ลงนามในใบรับรองการส่งมอบวัคซีนร่วมกับนายคิม มินซู รองผู้อำนวยการ Korea Disease Control and Prevention Agency (KDCA) โดยวัคซีน AstraZeneca จำนวน 470,000 โดสดังกล่าวจะถูกขนส่งออกจากท่าอากาศยานอินชอนในวันที่ 12 ต.ค. 2564 เวลา 21:50 น. และถึงท่าอากาศยานสุวรรณภูมิแล้วในวันที่ 13 ต.ค. 2564 เวลา 05:15 น.

สำนักโฆษกรัฐบาลแจ้งว่าหลายดัชนียืนยันประเทศไทยเป็นหนึ่งในประเทศที่มีระบบสาธารณสุขที่ดีที่สุดในโลก โดยในช่วงของการระบาดของโควิดที่ผ่านมา ได้มีการเผยแพร่รายงานดัชนีความมั่นคงทางด้านสาธารณสุข  หรือมีการจัดอันดับหลายแห่งที่แสดงให้เห็นว่า ประเทศไทย เป็น 1 ในประเทศที่มีระบบสาธารณสุข ที่ดีที่สุดแห่งหนึ่งของโลก อาทิ มหาวิทยาลัย John Hopkins และองค์กร Nuclear Threat Initiative รายงานปี 2019 พบว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับ 6 ของโลก และเป็นอันดับ 1 ของเอเชีย ทั้งยังได้รับการยกย่องว่าเป็น 1 ใน 13 ประเทศที่มีความพร้อมในการรับมือกับโรคระบาดมากที่สุด นิตยสาร CEOWorld Magazine ประจำปี 2021 (Health Care Index) จัดไทยอยู่อันดับที่ 13 จาก 89 ประเทศทั่วโลก หรือเป็นอันดับที่ 4 ของทวีปเอเชีย (รองจาก เกาหลีใต้ ไต้หวันและญี่ปุ่น ตามลำดับ) และเป็นอันดับที่ 1 ของอาเซียน ด้วยคะแนน 59.52

ทั้งนี้ ไทยมีความโดดเด่นที่สุดในเรื่อง ความพร้อมของยาที่จะให้บริการ และโครงสร้างพื้นฐานด้านระบบบริการสุขภาพ มีปัจจัยที่ใช้ประกอบการวิเคราะห์หลักๆ 5 ปัจจัย ดังต่อไปนี้ ได้แก่ 1)โครงสร้างพื้นฐานของระบบบริการสุขภาพ (Infrastructure) ได้รับ 98.7 คะแนน 2) บุคลากรทางการแพทย์ (แพทย์, พยาบาล และบุคลากรทางสาธารณสุข หรือ Professionals) ได้รับ 29.05 คะแนน 3) ค่าใช้จ่ายต่อคนต่อปี (Cost) ได้รับ 94.99 คะแนน  4) ความพร้อมของยาที่ให้บริการ (Medicine Availability) ได้รับ 98.74 คะแนน และ 5)ความพร้อมของรัฐบาล (Government Readiness) ได้รับ 96.1 คะแนน

ผลจากการจัดอันดับ ดัชนีระบบบริการสุขภาพ ดังกล่าว แสดงให้เห็นถึงสัญญาณที่ดีของการขับเคลื่อนประเทศไทยสู่การเป็น “ศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ (Medical Hub)” ภายในปี 2569 เพื่อยกระดับมาตรฐานการดูแลสุขภาพในเชิงการท่องเที่ยว ต่อยอดสู่การสร้างอาชีพ

#ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ#ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 #ศูนย์ข้อมูลCOVID19 #ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ 

สำนักข่าว MC.news.com รายงาน