ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด –19ประจำวันจันทร์ที่ 30สิงหาคม 2564 ยอดผู้ติดเชื้อรวม 15,972 ราย จำแนกเป็นติดเชื้อใหม่ 15,692 รายติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 280 รายผู้ป่วยสะสม 1,161,200 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)หายป่วยกลับบ้าน 17,281 รายหายป่วยสะสม 974,418 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)ผู้ป่วยกำลังรักษา 176,137 รายเสียชีวิต 256 ราย

พื้นที่โฆษณา

สถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลก  เมื่อวันอาทิตย์ที่ผ่านมา( 29 สิงหาคม 2564) มียอดผู้ติดเชื้อรวม 216,748,018 ราย  อาการรุนแรง 113,324 ราย  แพทย์รักษาหายแล้ว 193,674,666 ราย เสียชีวิต 4,507,840 ราย  อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด 1. สหรัฐอเมริกา 🇺🇸 จำนวน 39,617,417 ราย 2. อินเดีย 🇮🇳 จำนวน 32,694,188 ราย 3. บราซิล 🇧🇷 จำนวน 20,728,605 ราย 4. รัสเซีย 🇷🇺 จำนวน 6,863,541 ราย 5. ฝรั่งเศส 🇫🇷 จำนวน 6,728,858 รายโดยที่ประเทศไทย 🇹🇭 อยู่ในอันดับที่ 30 จำนวน 1,174,091 ราย

พื้นที่โฆษณา

#ศูนย์ข้อมูลCOVID19 เผยตัวเลขการฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติในประเทศไทย โดยมีจำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. – 28 ส.ค. 2564) รวม 30,679,289 โดส ใน 77 จังหวัด ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 28 สิงหาคม 2564 ยอดฉีดทั่วประเทศ 258,782 โดส ฉีดเข็มที่ 1 : 189,377 ราย ฉีดเข็มที่ 2 : 66,517 ราย ฉีดเข็มที่ 3 : 2,888 ราย รวมจำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 22,807,078 ราย (จำนวนผู้ได้รับวัคซีนทั้งหมด) จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 7,287,885 ราย(จำนวนผู้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์) จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 584,326 ราย

พื้นที่โฆษณา

มีรายงานจาก กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข ที่มีความเป็นห่วงกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ในช่วงสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 เฉพาะในพื้นที่กรุงเทพมหานคร พบติดเชื้อสะสมสูง 488 ราย แนะหากมีความเสี่ยงสูงให้ตรวจคัดกรองเบื้องต้นด้วย ATK พร้อมสนับสนุนให้ฉีดวัคซีนในหญิงตั้งครรภ์ทุกคน และงดออกจากบ้านหรือทำงานที่บ้านแทน นอกจากนั้นกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ยังมีความเป็นห่วงเด็กกำพร้าจากผลกระทบโควิด-19  โดยผู้พบเห็นสามารแจ้ง พม.จว.ทุกแห่งทั่วประเทศ หรือ สายด่วน 1300 ตลอด 24 ชม.

พื้นที่โฆษณา

ทั้งนี้รัฐบาลห่วงใยเด็กที่ต้องสูญเสียครอบครัวจากสถานการณ์โรคโควิด-19 โดยกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (พม.) กำหนดแนวทางช่วยเหลือ ดังนี้  1. การเลี้ยงดูทดแทนโดยเครือญาติ พม.จะสนับสนุน 2,000 บาท / เด็ก 1 คน / เดือน จนถึงอายุ 18 ปี และมี จนท.คุ้มครองเด็กช่วยให้ครอบครัวดูแลเด็กได้อย่างมีคุณภาพ 2. การเลี้ยงดูในครอบครัวบุญธรรม ที่ผ่านการพิจารณาคุณสมบัติตามกฎหมาย 3. การเลี้ยงดูในสถานสงเคราะห์ของ พม. จนท.ยังคงลงพื้นที่สำรวจเชิงรุกอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ความช่วยเหลือโดยคำนึงถึงประโยชน์สูงสุดของเด็กเป็นสำคัญ ประชาชนที่พบเด็กกำพร้าจากผลกระทบโรคโควิด-19 แจ้งได้ที่ สำนักงาน พม.จังหวัดทุกแห่งทั่วประเทศ อาสาสมัคร พม.ในพื้นที่ หรือ โทรสายด่วน 1300 ได้ตลอด 24 ชม.

พื้นที่โฆษณา

#ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19#ศูนย์ข้อมูลCOVID19 #ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ

สำนักข่าว MC.news.com รายงาน