พื้นที่โฆษณา

นายประเสริฐ บุญชัยสุข นายกเทศมนตรีนครนครราชสีมา เปิดแถลงนโยบายต่อสภาเทศบาลนครนครราชสีมาตามข้อกฎหมาย พ.ร.บ.เทศบาล พ.ศ.2496 แก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 14 ) พ.ศ.2552 มาตรา 48 ทศ วรรคหนึ่ง  และวรรคสาม ที่กำหนดให้นายกเทศมนตรีก่อนจะเข้าบริหารงานต้องแถลงนโยบายต่อสภาภายในสามสิบวันนับจากวันประกาศรับรองผลการเลือกตั้ง โดยมีนโยบายเร่งด่วนที่ต้องทำทันทีรวม 7 ด้าน ชูปรับปรุงถนน แก้น้ำท่วมทั้งระบบ ติดตั้งระบบไฟฟ้า ผลิตน้ำประปาเพิ่ม และร่วมบูรณาการทุกภาคส่วนแก้ไขปัญหาระบาดของโรคไวรัสโควิด-19 นอกจากนั้นยังมีนโยบายหลักอีก 5 ด้านที่เป็นการพัฒนาเมืองโคราชแบบครบวงจร

พื้นที่โฆษณา

การแถลงนโยบายมีขึ้นที่ห้องประชุม กาญจนาภิเษก ชั้น 5 อาคารฉลองศิริราชสมบัติ ครบ 50 ปี เมื่อวันที่ 4 มิถุนายน 2564 โดยมีนายอุทัย มิ่งขวัญ ประธานสภาเทศบาลนครนครราชสีมา พร้อมสมาชิกสภาเทศบาล 4 เขต 24 คน โดยฝ่ายบริหารนำโดยนายประเสริฐ บุญชัยสุข นายกเทศมนตรี พร้อมคณะที่ปรึกษา หัวหน้าส่วน-ข้าราชการสังกัดเทศบาลฯพร้อมทั้งกรรมการชุมชนในเขตเทศบาลสื่อมวลชนเข้าร่วมรับฟังจำนวนมาก

พื้นที่โฆษณา

นายประเสริฐ บุญชัยสุข นายกเทศมนตรีฯ ได้แถลงต่อสภาฯว่า ตนได้กำหนดนโยบายในการบริหารพัฒนาเทศบาลไว้รวม 2 ประเภท ได้แก่นโยบายเร่งด่วน  7 ด้าน และนโยบายหลัก 5 ด้านที่จะดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 4 ปีบริหารโดยนโยบายเร่วด่วนด้านแรกคือการควบคุมป้องโรคโควิด-19อย่างเข้มข้น โดยให้ความร่วมบูรณาการการกับภาครัฐ-เอกชน และประชาชน ให้เกิดประโยชน์กับการควบคุมป้องกันการแพร่ระบาดของโรคให้สำเร็จอย่างจริงจังและต่อเนื่อง

พื้นที่โฆษณา

“เรื่องด่วนที่ต้องเร่งดำเนินการก็คือการปรับปรุงซ่อมแซมผิวจราจรในเขตเมือง ที่ชำรุดทรุดโทรมจากอายุการใช้งาน และจาการก่อสร้างโครงกาต่างๆ ให้อยู่ในสภาที่ใช้การได้ดี  รวมทั้งการปรับปรุงซ่อมแซมทางเท้า ติดตั้งระบบไฟฟ้าสาธารณะ และระบบสัญญาณไฟจราจรให้สามารถใช้การได้ดี และการจัดเก็บขยะมูลฝอยด้วยการจัดการอย่างมีประสิทธิภาพ ตามอัตราการเจริญเติบโตของเมืองจากขยะวันละ 250 ตัน เป็นวันละ 500 ตัน โดยใช้เทคโนโลยีที่เหมาะ เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม แปรสภาพขยะให้เป็นพลังงานไฟฟ้า โดยจัดหาเอกชนมาร่วมลงทุน”

นายประเสริฐกล่าวต่อว่าการควบคุมอากาศต้องอยู่ในเกณฑ์ที่ปลอดภัย จะต้องควบคุมการปล่อยมลพิษทางอากาศ ไม่ว่าจะเป็นจากท่อไอเสียรถยนต์ เมรุเผาศพ การก่อสร้าง ต้องมีระบบเฝ้าระวังในการตรวจหาฝุ่นละออง ไม่ให้มีค่าแขวนลอยขนาดเล็กPM 2.5  การแก้ปัญหาน้ำท่วมเมืองต้องดำเนินการเป็นไปอย่างถาวร ไม่ว่าจะเป็นย่านเซฟวัน ชุมชนมหาชัยชุมชนคลองโพธิ์ จะต้องมีการก่อสร้างระบบระบายน้ำรางขนาดใหญ่ เพื่อนำน้ำลงสู่ลำน้ำสาธารณะโดยเร็ว และสุดที่ต้องทำเร่งด่วนก็คือการฟื้นฟูเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากปัญหาวิกฤติโควิด-19 ด้วยมาตรการเร่งด่วนด้วยการสร้างอาชีพและรายได้ให้กับผู้ประกอบการและผู้บากไร้ที่ได้ผลกระทบ

“สำหรับนโยบายหลัก 5 ด้าน ที่จะต้องดำเนินการให้แล้วเสร็จภายใน 4 ปี ประการแรกการพัฒนาเมืองน่าอยู่อย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาสองริมฝั่งลำตะคอง ด้วยการปรับปรุงภูมิทัศน์ ในช่วงริมฝั่งที่ผ่านตัวเมืองให้สวยงาน รื้อฟื้นวิถีชุมชน สร้างวิสาหกิจชุมชน เปลี่ยนหลังบ้านเป็นห้าบ้าน สร้างเป็นแหล่งท่องเที่ยว อนุรักษ์พัฒนาคูเมืองโดยรอบให้สวยงาม สะอาด ร่มรื่น เป็นแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติ พร้อมเพิ่มปอดของเมืองให้มากขึ้น โดยปรับปรุงสวนสาธารณะมีมีอยู่แล้ว และสร้างแห่งใหม่เพิ่มเติม เร่งแก้ไขปัญหาจราจรติดขัดสนับสนุนให้ก่อสร้างอุโมงค์ทางลอดที่โคกไผ่อย่างเร่งด่วน ขยายสถานบริการสาธารณสุขปฐมภูมิ เพื่อบริการแก่ประชาชนเพิ่มขึ้นเพื่อการเข้าถึง รวมทั้งยกระดับการศึกษาในโรงเรียนสังกัดเทศบาลให้มีมาตรฐานขึ้น”

นายประเสริฐกล่าวถึงการจัดหาน้ำดิบมาจัดทำน้ำประปาเพื่อบริการประชาชน เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมือง โดยต้องมีการวางท่อประปาแห่งใหม่ที่โรงกรองน้ำมะขามเฒ่า อันเป็นการขยายกำลังผลิตให้เพียงพอกับความต้องการของประชาชน รวมทั้งการเร่งรัดก่อสร้างระบบขนส่งมวลชนสาธารณะให้เกิดขึ้นโดยเร็ว โดยประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อรองรับการเจริญเติบโตของเมือง  รวมทั้งการเร่งดำเนินการนำเทคโนโลยีในยุคดิจิทัลมาใช้ในการบริหารงาน เพื่อความสะดวกรวดเร็วโปร่งใสตรวจสอบได้

“เรากำหนดเมืองให้เป็นศูนย์กลางคมนาคม ด้วยการผลักด้นโครงการต่างๆที่สอดคล้องกับการเจริญเติบโตของเมือง ทั้งระบบมอเตอร์เวย์ รถไฟทางคู่ รถไฟความเร็วสูง เพื่อรองรับการลงทุน การท่องเที่ยว และธุรกิจการค้า รวมทั้งการแปรกิจกรรมประเพณีของโคราชและอีสาน ให้เป็นตลาดเฉพาะสำหรับการท่องเที่ยว รวมทั้งผลักดันให้เป็นเมืองของการประชุมและการแสดงสินค้าการลงทุน ร่วมขับเคลื่อน”โคราชจีโอพาร์คโลกยูเนสโก”เพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทั่วโลก ในขณะเดียวกันก็แปรสภาพชุมชนให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวแบบวิถีไทย”

นอกจากนั้นยังมีนโยบายที่เกี่ยวกับการกีฬา ที่จะมีการส่งเสริมในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นองค์หรือสโมสร  การฟื้นฟู้ฟูศิลปะมวยไทยโคราช การเสนอตัวเป็นเจ้าภาพในการแข่งขันกีฬา เพื่อมีการตื่นตัว รวมทั้งการพัฒนาการกีฬาให้มีศักยภาพยิ่งขึ้น สุดท้ายก็คือการสร้างเมืองอัจฉริยะ (Smart City)ด้วยการพัฒนาเมืองนครราชสีมาอย่างยั่งยืนอย่างเป็นขั้นตอน ไม่ว่าจะเป็นการพัฒนาการขนส่ง(Smart Mobility) การพัฒนาชุมชน (Smart Community)การพัฒนาระบบสิ่งแวดล้อม(Smart Environment)การใช้เทคโนโลยีมาพัฒนาทำธุรกิจ(Smart Economy)การสร้างอาคารสีเขียวประหยัดพลังงาน(Smart Building)การนำระบบบริหารจัดการที่ดีมาใช้(Smart Governance)

ทีมข่าว MC.news.com รายงานข่าวจากจังหวัดนครราชสีมา