สั่งซื้อสินค้าได้ที่ FB : http://m.me/Koypichataya
Line : https://bit.ly/3aYaRUD
(พื้นที่โฆษณา)

นาย วิเชียร จันทรโณทัย  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  พร้อมด้วย นาง ณัฎฐินีภรณ์  จันทรโณทัย  นายกเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา  ได้เดินทางไปตรวจเยี่ยมให้กำลังใจเจ้าหน้าที่ซึ่งปฏิบัติหน้าที่ ภายในศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี   เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19  โดยมี รศ.ร.อ.ดร.กนต์ธร ชำนิประศาสน์  รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนาความเป็นสากล ประธานศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน   ( EOC ) โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ( รพ.มทส.) ให้การต้อนรับ  และมีสื่อมวลชนหลายสำนักเข้าร่วมรายงานข่าว เมื่อวันที่ 11 เมษายน 2563  เวลา 16.00 น. ที่ผ่านมา 

นาย วิเชียร จันทรโณทัย  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  กล่าวว่า  ต้องขอชื่นชมทาง ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน   ( EOC ) โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ( รพ.มทส.) ซึ่งมีการวางระบบที่ดีมีการวางตั้งแต่ระบบปฐมนิเทศ มีการจัดระบบส่งอาหาร  มีการจัดระบบความปลอดภัย  และมีระบบการสื่อสารระหว่างคนที่กักตัวกับทางเจ้าหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน   ( EOC ) โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ( รพ.มทส.) ตลอด 24v ชั่วโมง  โดยเฉพาะการแบ่งการสื่อสารที่มีการแบ่งเป็นกลุ่มผู้กักตัวเป็นกลุ่ม 5 คน ต่อ เจ้าหน้าที่พยาบาล 1 คน   คอยดูแลอย่างใกล้ชิด ซึ่งหากผู้ที่กักตัวมีปัญหาอะไรก็สามารถปรึกษากับทางเจ้าหน้าที่ของศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน   ( EOC ) โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ( รพ.มทส.) ได้  ซึ่งถือได้ว่าเป็นการจัดการที่ดี  ซึ่งน่าจะเป็นตัวอย่างที่ดี

พื้นที่โฆษณา

รศ.ร.อ.ดร.กนต์ธร ชำนิประศาสน์  รองอธิการบดีฝ่ายวิชาการและพัฒนาความเป็นสากล ประธานศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน   ( EOC ) โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ( รพ.มทส.) กล่าวว่า  สำหรับการจัดระบบของศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน   ( EOC ) โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ( รพ.มทส.) แห่งนี้  เริ่มจากเข้ามาแล้วจะมีการคัดกรองตรวจวัดไข้ก่อน  เพื่อประเมินว่าเป็นกลุ่มเสี่ยงหรือไม่  ซึ่งต้องแยกออกเป็น 2 กลุ่ม คือกลุ่มที่ไม่มีไข้เลยและกลุ่มที่มีอาการของระบบทางเดินหายใจมีปัญหา   และมีการคัดแยกออกไปอีกอาคารหนึ่ง ซึ่งเป็นห้องที่มีความพร้อมทุกด้าน 

“จากนั้นจึงมีการปฐมนิเทศด้วยการแจ้งให้ทราบว่า ผู้ที่เข้ามาสถานที่แห่งนี้ไม่ถูกกักขัง แต่เป็นผู้ที่แยกตัวเองออกมาจากสังคม  ซึ่งก็ต้องขอขอบคุณทุกคนด้วยที่เข้าใจวิธีการปฏิบัติ  โดยทางศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน   ( EOC ) โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ( รพ.มทส.) จะให้ความสะดวกสบายเท่าที่จะสามารถทำได้    จากนั้นจะมีการชี้แจงถึงข้อห้ามในการอยู่รวมกัน รวมทั้งการปฏิบัติตัวในการสื่อสารกัน   นอกจากนี้ทางศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน ( EOC ) แห่งนี้ ยังมีอาหารไว้บริการวันละ 3 เวลา  ซึ่งปรุงจากโรงอาหารของโรงพยาบาล หรือหากใครไม่ชอบอาหารที่จัดให้ ก็สามารถให้ญาติพี่น้องนำมาให้ก็ได้    หรือสามารถที่จะสั่งซื้อจากร้านสะดวกซื้อที่ มีจำหน่ายอยู่ที่แห่งนี้   หรือสามารถสั่งจากที่อื่นมาโดยผ่านทาง จนท.นำไปมอบให้ก็ได้  โดยขอความร่วมมือเพียงอย่าออกมาจากพื้นที่นอกห้องเท่านั้น” 

“นอกจากนี้ที่นี่ยังมีพยาบาลคอยสอบถามอาการและดูแลตลอดเวลา  มีการสื่อสารกันตลอดเสลา  และที่ผ่านมาเรียบร้อยดีแต่อาจมีเพียงบางท่านเท่านั้นที่มีอาการป่วยจากอาการอื่น เช่นท้องเสีย เป้นต้นซึ่งก็จะมีการย้ายเข้าไปที่ห้องฉุกเฉิน  ซึ่งก็เรียบร้อยดีและกลับมาให้ยาปกติแล้ว  ซึ่งขอให้มั่นใจได้ว่ามาอยู่ที่ศูนย์ปฏิบัติการภาวะฉุกเฉิน   ( EOC ) โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ( รพ.มทส.)  ท่านสบายใจได้เพระมีการดูแลเป็นอย่างดี”รศ.ร.อ.ดร.กนต์ธร กล่าว

ทีมข่าว MC.news.com รายงาน