เวลา 10.30 น.วันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566 ที่สำนักงานคณะกรรมการการเลือกตั้งจังหวัดนครราชสีมา นายธนภัทร ชองรัมย์ ว่าที่ผู้สมัคร สส.พรรครวมไทยสร้างชาติ เขตเลือกตั้งที่ 2 จังหวัดนครราชสีมา พร้อมแกนนำประกอบไปด้วย นายอรรคชา พรหมสูตร,นายศักดา ศรีพรหม,นายประยงค์ ดอกสันเที๊ยะ, นายธิติวุฒิ  ตั้งก้องเกียรติ,นายสุรวิช โคตรคันทา,นางกาญจนา บุญมีศิริทิพงศ์,นางอุบลวรรณ์ วิศวนาวิน สมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติส่วนหนึ่งจากเขตต่างๆเดินเข้ายื่นหนังสือเพื่อสนับสนุนการแบ่งเขตการเลือกตั้งของกรรมการการเลือกตั้งประจำจังหวัดนครราชสีมา โดยมี พ.ต.ท.ระพีพงษ์ จิรพัฒนาลักษณ์ ผอ.กกต.จังหวัดนครราชสีมาออกรับหนังสือสนับสนุน

นายธนภัทร์ ชองรัมย์ กล่าวกับผู้สื่อข่าวว่า หลัง กตต.โคราชประกาศแบ่งเขตเลือกตั้งใหม่ทั้ง 16 เขต รวม 3 แบบเพื่อให้ประชาชนได้ร่วมกันแสดงความคิดเห็นความเหมาะสม เพื่อให้มีการเลือกในแบบใดแบบหนึ่งในการเลือกตั้งที่จะมาถึงตามรัฐธรรมนูญฉบับแก้ไขเพิ่มเติมฯ ตนและสมาชิกพรรครวมไทยสร้างชาติได้พากันลงพื้นที่ทั้ง 16  เขตเลือกตั้ง รับฟังความคิดเห็นส่วนใหญ่พบว่าเห็นด้วยกับการแบ่งเขตของคณะกรรมการเลือกตั้ง ในรูปแบบที่ 2  ที่เป็นพื้นที่ของเขตเลือกตั้งติดต่อกัน และส่วนใหญ่เคยอยู่ในเขตเลือกตั้งเดียวกัน  มีความสะดวกในการคมนาคม จำนวนผลต่างของจำนวนราษฎรไม่เกินร้อยละสิบของจำนวนเฉลี่ยต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคนในจังหวัดอีกด้วย

“พวกตนเป็นผู้สมัครส่วนหนึ่งของสมาชิกพรรครวมไทยสร้างจึงได้เดินทางมายื่นความจำนงสนับสนุนงานแบ่งเขตของ กกต.ในรูปแบบที่ 2  เพื่อเสนอไปยังคณะกรรมการการเลือกส่วนกลางได้พิจารณา พร้อมกันนี้ก็ได้ให้กำลังใจ กกต.จังหวัดนครราชสีมา ได้ยึดหลักการแบ่งเขตตามความต้องการของประชาชน อย่าได้ตกเป็นเครื่องมือของพรรคการเมืองบางพรรคที่ต้องการเบี่ยงเบนการทำงานของ กกต.เหมือนที่เคยมีมาในอดีต”

ด้าน พ.ต.ท.ระพีพงษ์ จิรพัฒนาลักษณ์ ผอ.กกต.จังหวัดนครราชสีมา กล่าวว่า หลังจากครบกำหนดการรับฟังความคิดเห็นของประชาชน( 13 กพ.66) กกต.จังหวัด จะได้มีการรวบรวมความเห็นและข้อเสนอแนะทั้งหมดจากทุกช่องทาง มาประชุมสรุปและประมวลผลความเป็นไปได้  จากนั้นก็จะแจ้งไปยัง กกต.ส่วนกลาง ให้มีการพิจารณาเป็นขั้นตอนสุกท้ายก่อนประกาศเป็นราชกิจานุเบกษา ให้มีผลบังคับในในการเลือกตั้ง

“สำหรับเหตุผลประกอบการเสนอแนะการแบ่งเขตเลือกตั้งที่ 2  มีข้อดี ๑.เป็นพื้นที่ของเขตเลือกตั้งติดต่อกัน และส่วนใหญ่เคยอยู่ในเขตเลือกตั้งเดียวกัน ๒. มีความสะดวกในการคมนาคม ๓. รูปแบบอาจคล้ายรูปแบบที่ ๑ แต่ปรับเขต ๕ เขต ๑๐ และ เขต ๑๖ ๔. แต่ผลต่างจำนวนราษฎรไม่เกินร้อยละสิบของจำนวนเฉลี่ยต่อสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหนึ่งคนในจังหวัด ๕. มีผลต่างระหว่างเขตเลือกตั้งมากที่สุดร้อยละ ๓.๔๕ และน้อยที่สุดร้อยละ -๒.๔๙ ๖. สรุปผลต่างระหว่างเขตเลือกตั้งเท่ากับ ๕.๙๔ ส่วนข้อเสียก็คือการแบ่งพื้นที่อำเภอจำนวน ๘ อำเภอ” ผอ.กกต.โคราช

สำนักข่าว MC.news.com รายงาน