พื้นที่โฆษณา

“วิเชียร” ผวจ.โคราช เรียกทุกหน่วยงานประชุมหารือรับมือน้ำท่วมช่วงฤดูฝน พร้อมทั้งเตรียมพร้อมแก้ปัญหาน้ำท่วม พ่อเมืองห่วงพื้นที่ท่วมซ้ำซาก  “กิติกุล” ผอ. ชลประทาน  คาดปีนี้ฝนมาเร็วและจะไปอย่างรวดเร็ว ย้ำทุกเขื่อนใหญ่เขื่อนเล็กต้องปล่อยน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุดให้เกษตรกรเร่งปลูกข้าวนาปี

พื้นที่โฆษณา

ที่ห้องประชุมท้าวสุรนารี  ชั้น 1 ศาลากลางจังหวัดนครราชสีมา  นายวิเชียร  จันทรโณทัย  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  เป็นประธานในการประชุมเพื่อวางแผนรับมือและป้องกันน้ำท่วมในพื้นที่จังหวัดนครราชสีม ในช่วงฤดูฝนที่จะมาถึงนี้ ร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น หัวหน้าสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัด  ชลประทานจังหวัด  ผู้อำนวยการโครงการบำรุงรักษาอ่างเก็บน้ำลตะคอง ลำพระเพลิง ลำแชะ และลำมูล รวมทั้ง นายอำเภอทั้ง32อำเภอของจังหวัดนครราชสีมา  เพื่อหารือถึงแนวทางรับมือกับสถานการณืน้ำท่วมที่อาจจะเกิดขึ้นในช่วงฤดูฝน

นายวิเชียร  จันทรโณทัย  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  กล่าวถึงการเตรียมความพร้อมรับมือกับสถานการณืน้ำในช่วงฤดูฝนว่า  เราได้มีการประเมินสถานการณ์น้ำกักเก็บในอ่างเก็บน้ำแต่ละแห่ง ทั้งอ่างเก็บน้ำขนาดใหญ่ 4 แห่ง และอ่างเก็บน้ำขนาดกลาง 23 แห่ง ซึ่งการเฝ้าติดตามปริมาณน้ำในอ่างแต่ละแห่งมีปริมาณน้ำกักเก็บ เฉลี่ยน ร้อย 60-70 เปอร์เซ็นต์ของความจุ อ่าง  ซึ่งสามารถพร่องน้ำออกได้ทันหากเกิดสถานการณ์พายุ ฝนตกหนัก เรื่องนี้ไม่น่าเป็นห่วง  แต่เรื่องที่เป็นห่วงคือเรื่องการระบายน้ำในพื้นที่ที่เกิดน้ำท่วมในพื้นที่ต่างๆ ได้กำชับให้มีการดูแล ซ่อมแซม เฝ้าระวังอย่างใกล้ชิดโดยเฉพาะจุดที่เคยเกิดน้ำท่วมซ้ำ

นายกิติกุล เสภาศีราภรณ์ ผู้อำนวยการโครงการชลประทานนครราชสีมา   กล่าวว่า  สถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำไม่น่าเป็นห่วงมากนัก  ปริมาณน้ำในอ่างเก็บน้ำยังอยู่ในเกณฑ์ที่สามารถควบคุมได้  การระบายน้ำในแต่ละอ่างได้มีการเน้นย้ำให้มีการระบายน้ำให้เกิดประโยชน์สูงสุด จะต้องไม่เป็นการระบายทิ้งเสียเปล่า  เนื่องจากจากรายงานของกรมอุตุนิยมวิทยา พบว่า ปีนี้ฤดูฝนจากมาเร็วและหมดเร็วกว่าทุกปี และจะเข้าสู่ฤดูหนาวเร็วเช่นกัน

“ประมาณ เดือน ตุลาคม ทำให้ปีนี้เกิดช่วงแล้งสั้น ประกอบกับปริมาณน้ำในอ่างภาพรวมทั้ง 27 อ่างของจังหวัดมีเกณฑ์น้ำกักเก็บรวม 752 ล้าน ลบ.ม.จากความจุทั้งหมด 1,216 ล้าน ลบ.ม. คิดเป็น ร้อย 61.83  ซึ่งสามารถปล่อยน้ำให้เกษตรกรสามารถทำนาปีได้ คาดว่า กลางเดือน มิย.นี้ เกษตรกรจะเริ่มทำนาปีแล้วจากสถานการณ์น้ำที่มีอยู่  ส่วนค่าเฉลี่ยปริมาณฝนตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมามีปริมาณน้ำฝนตกสะสม 297 มม”.นายกิติกุล กล่าว

Cr:ปชส.นม.ทีมข่าว MC.news.com รายงานจากจังหวัดนครราชสีมา