พื้นที่โฆษณา

“วิเชียร”ผวจ.โคราช ลุยโครงการโคราชไม่ท่วมไม่แล้ง เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม  และปัญหาภัยแล้ง เพื่อแก้ไขปัญหาครบวงจร โดยมีสำนักงานป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดนครราชสีมา, ศูนย์ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยเขต 5 กองพันทหารราบ มทบ.21, สำนักจัดการป่าไม้ที่ 8 ,  เทศบาลนครนครราชสีมา, โครงการส่งน้ำและบำรุงรักษาลำตะคอง และการไฟฟ้าส่วนภูมิภาคจังหวัดนครราชสีมา ดำเนินการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำในลำตะคอง ตั้งแต่มิตรภาพซอย 4 ถึง โรงพยาบาลมหาราช   รวมบูรณาการดำเนินโครงการนี้ตั้งแต่วันที่ 5 มีนาคม2565 ที่ผ่านมา

พื้นที่โฆษณา

โดยทุกหน่วยงานได้นำอุปกรณ์และเครื่องมือเข้าดำเนินงาน ประกอบด้วย เรือท้องแบนพร้อมเครื่องยนต์ 4 ลำ   เลื่อยยนต์ 5 เครื่อง  รถกระเช้า 2 คัน รถบรรทุกพร้อมเครน 1 คัน  เรือกำจัดผักตบชวา 1 ลำ  มีด และเลื่อยมือ 20 ชุด พร้อมกำลังพล 100 คน  ร่วมกันกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำ ในลำตะคองจากชุมชมมิตรภาพ ซอย 4 ถึงโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา  รวมระยะทาง 7,300 เมตร   รวมทั้งทำการรื้อฝายกั้นน้ำ  รื้อท่อระบายน้ำ รื้อสะพานที่ชำรุด  ในลำตะคองและลำบริบูรณ์  จำนวน 5 จุด เพื่อเป็นการเพิ่มประสิทธิภาพการไหลของน้ำภายในลำตะคองและลำบริบูรณ์

พื้นที่โฆษณา

นายวิเชียร  จันทรโณทัย  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  ลงพื้นที่ชุมชนสำโรงจันทร์  เขตเทศบาลนครนครราชสีมา  เพื่อติดตามความคืบหน้าในการดำเนินการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำภายในลำน้ำลำตะคอง ตั้งแต่ช่วงชุมชมมิตรภาพ ซอย 4 ถึง บริเวณโรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา  ตามโครงการโคราชไม่ท่วมไม่แล้ง เพื่อแก้ไขปัญหาน้ำท่วม  และปัญหาภัยแล้ง เพื่อให้สามารถระบายน้ำได้อย่างสะดวกไม่ติดขัดสิ่งกีดขวางไม่ว่าจะเป็น  วัชพืช ผักตบชวา  สะพานและฝายเก่า 

พื้นที่โฆษณา

นายวิเชียร  จันทรโณทัย  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  กล่าวว่า ขณะนี้ได้สั่งการให้ทุกอำเภอดำเนินการกำจัดสิ่งกีดขวางทางน้ำในทุกลุ่มน้ำของจังหวัดนครราชสีมา  เพื่อให้น้ำในทุกลุ่มน้ำสามารถไหลได้อย่างสะดวกรวดเร็ว   ทั้งนี้สถานการณ์ภัยแล้งล่าสุดในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา ทั้ง 32 อำเภอของจังหวัด พบ มีอยู่ 8 หมู่บ้าน ใน 6 อำเภอ ที่ต้องมีการแจกจ่ายน้ำให้กับประชาชนเนื่องจากพื้นที่ทั้ง 8 หมู่บ้านนั้น ไม่มีคลองชลประทานหรือแหล่งน้ำ  และจากสถานการณ์น้ำในอ่างเก็บน้ำทั้งขนาดใหญ่และขนาดกลาง ที่มีน้ำกว่าร้อย ละ 80 ของความจุ ทำให้ในช่วงหน้าแล้งปีนี้ทางจังหวัดสามารถปล่อยน้ำให้เกษตรกร สามารถทำนาปรัง  กว่า 120,000 ไร่ ได้อย่างเต็มที่ ทุกลุ่มน้ำ 

“อย่างไรก็ตามถึงแม้ว่าน้ำจะมีเพียงพอต่อการบริโภค-อุปโภค รวมถึงการทำการเกษตรในพื้นที่ที่มีคลองชลประทาน  แต่ก็อยากจะวิงวอนขอให้ช่วยกันใช้น้ำอย่างประหยัด และใช้อย่างรู้คุณค่า ไม่ใช้อย่างฟุ่มเฟือย  เพราะช่วงที่ผ่านมาเราเคยผ่านประสบการณ์ขาดแคลนน้ำมาแล้ว จึงควรใช้น้ำให้คุ้มค่ามากที่สุด”  นายวิเชียร กล่าว

Cr: ปชส.นม. ทีมข่าว MC.news.com รายงานจากจังหวัดนครราชสีมา