พื้นที่โฆษณา

โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรียัน  พลเอกประยุทธ์ นายกรัฐมนตรี ได้ กำชับสร้างความปลอดภัยในสถานศึกษาทุกระดับ เน้น  6 หลัก 6 เสริม และ 7 เข้ม ป้องกันโควิด  สธ. เผยวัคซีนสูตรไขว้ Sinovac-AstraZeneca ป้องกันติดเชื้อโควิดได้ 70%  ขณะที่ประเทศญี่ปุ่นเตรียมเปิดรับนักธุรกิจและนักศึกษาจากต่างประเทศ  ส่วนบริษัท Pfizer เผยแพร่ผลการทดลองยารักษา COVID-19 ชนิดรับประทาน พบว่ายามีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงที่ผู้ติดเชื้อจะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต ร้อยละ 89 หากรับประทานยาภายใน 3 วันหลังแสดงอาการ !!ส่วนยอดติดเชื้อวันนี้  7,960 ราย หายป่วย  6,950 รายเสียชีวิต  68 ราย!!  

พื้นที่โฆษณา

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด –19 วันอาทิตย์ที่ 7 พฤศจิกายน 2564  ตรวจพบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 7,960 ราย จำแนกเป็นผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 7,307 ราย  ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 215 ราย  ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 427 ราย  ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 11 ราย  ผู้ป่วยสะสม 1,939,136 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)  แพทย์รักษาหายป่วยกลับบ้าน 6,950 ราย  รวมหายป่วยสะสม 1,822,542 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษา 98,367 ราย วันนี่มีผู้เสียชีวิต 53 ราย

ส่วนโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลกเมื่อวาน วันเสาร์ที่ 6 พฤศจิกายน 2564 เวลา 10.00 น. มียอดผู้ติดเชื้อรวม 249,849,612 ราย มีอาการรุนแรง 75,844 ราย แพทย์รักษาหายแล้ว 226,199,061 ราย มีผู้เสียชีวิต 5,053,793 ราย จัดอันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด  1. สหรัฐอเมริกา มีผู้ติดเชื้อจำนวน 47,280,449 ราย  2. อินเดีย มีผู้ติดเชื้อจำนวน 34,344,087 ราย  3. บราซิล มีผู้ติดเชื้อ จำนวน 21,862,458 ราย   4. สหราชอาณาจักร มีผู้ติดเชื้อจำนวน 9,241,916 ราย   5. รัสเซีย มีผู้ติดเชื้อจำนวน 8,714,595 ราย  สำหรับประเทศไทย มีผู้ติดเชื้ออยู่ในอันดับที่ 24 จำนวน 1,960,039 ราย

สำนักข่าวกรองแห่งชาติรายงานสถานการณ์โควิดในต่างประเทศ นายเซอิจิ คิฮาระ รองเลขาธิการคณะรัฐมนตรีญี่ปุ่น แถลงว่าญี่ปุ่นจะเปิดรับนักธุรกิจ นักศึกษา และผู้ฝึกงานด้านเทคนิคจากต่างประเทศ ให้เดินทางเข้าประเทศใน 8 พ.ย.64 โดยนักธุรกิจที่ฉีดวัคซีน COVID-19 ครบโดสแล้วจะต้องกักตัวสังเกตอาการ 3 วัน ส่วนนักศึกษาและผู้ฝึกงานด้านเทคนิคจะต้องกักตัว 14 วัน อย่างไรก็ดี ญี่ปุ่นจะยังคงจำกัดการเดินทางเข้าประเทศของนักท่องเที่ยวต่างชาติ โดยจะทบทวนมาตรการดังกล่าวอีกครั้งภายในสิ้นปี 2564 เพื่อกำหนดแนวทางผ่อนคลายมาตรการจำกัดการเดินทางเข้าญี่ปุ่นต่อไป

บริษัท Pfizer แถลงผลการศึกษาการใช้ยารักษา COVID-19 ชนิดรับประทาน Paxlovid ซึ่งพัฒนาโดยบริษัท Pfizer พบว่า ยามีประสิทธิภาพในการลดความเสี่ยงที่ผู้ติดเชื้อจะต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล หรือเสียชีวิต ร้อยละ 89 หากรับประทานยาภายใน 3 วันหลังแสดงอาการ โดยบริษัทจะเสนอผลการศึกษาต่อองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ เพื่อขออนุมัติการใช้ยาดังกล่าวในเร็ว ๆ นี้ อนึ่ง ยา Paxlovid เป็นยารักษา COVID-19 ชนิดรับประทานตัวที่ 2 ที่พัฒนาในสหรัฐฯ หลังจากบริษัท Merck ขออนุมัติการใช้ยา Molnupiravir จากองค์การอาหารและยาของสหรัฐฯ เมื่อ 11 ต.ค.64

พื้นที่โฆษณา

สำหรับประเทศไทยรายงานจากศูนย์ข้อมูลCOVID19 ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ MOPH-IC มีจำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. – 5 พ.ย. 2564) รวม 79,517,972 โดส ใน 77 จังหวัด   โดยภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 5 พฤศจิกายน 2564 มียอดฉีดทั่วประเทศ 861,848 โดส   เป็นการฉีดเข็มที่ 1 จำนวน 290,945 ราย    ฉีดเข็มที่ 2 จำนวน  537,716 ราย  ฉีดเข็มที่ 3 จำนวน  33,187 ราย จำนวนผู้ได้รับวัคซีน  เข็มที่ 1 สะสม : 43,694,336 ราย จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 33,263,737 ราย จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 2,559,899 ราย

พื้นที่โฆษณา

โฆษกกระทรวงสาธารณสุขแจ้งว่า คณะอนุกรรมการสร้างเสริมภูมิคุ้มกันโรค มีการประชุมเมื่อวันที่ 4 พฤศจิกายนที่ผ่านมา รับทราบถึงประสิทธิผลการป้องกันการติดเชื้อ จากการใช้งานจริงโดยใช้ฐานข้อมูลห้องปฏิบัติการสถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) ของผู้รับบริการเขต กทม. และข้อมูลการฉีดวัคซีนในระบบหมอพร้อมเมื่อเดือนกันยายน 2564 พบว่า แอสตร้าเซนเนก้า 2 เข็ม ป้องกันติดเชื้อ 54% สูตรไขว้ซิโนแวค-แอสตร้าเซนเนก้า ป้องกันติดเชื้อ 70% ถือว่ามีประสิทธิผลน่าพอใจ และเป็นอีกเหตุผลหนึ่งที่ กทม.ลดการระบาดได้ดีสำหรับสัปดาห์หน้าจะมีวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าส่งมอบอีก 2 ล้านโดส ซึ่งเป็นไปตามแผน และปลายเดือนนี้จะส่งครบตามที่กำหนด และไฟเซอร์ส่งเพิ่มอีก 6 ล้านโดส ดังนั้น สัปดาห์หน้าจะมี 8 ล้านโดส และได้รับการประสานจากประเทศจีนว่าจะบริจาคซิโนแวคให้ประเทศไทยอีก 1.5 ล้านโดส

นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ติดตามผลการเปิดการเรียนการสอนในรูปแบบปกติของนักเรียนทุกระดับชั้น ภายใต้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19  กำชับกระทรวงศึกษาธิการและกระทรวงสาธารณสุข เน้นมาตรการลดความเสี่ยงในการแพร่ระบาด สร้างความปลอดภัยแก่นักเรียนทุกระดับชั้น พร้อมเดินหน้าฉีดวัคซีนให้นักเรียนและบุคลากรการศึกษาให้ครอบคลุมมากที่สุด – 6 มาตรการหลัก (DMHT-RC) ได้แก่ เว้นระยะห่าง สวมหน้ากาก ล้างมือ คัดกรองวัดไข้ ลดการแออัด

และทำความสะอาด – 6 มาตรการเสริม ได้แก่ ดูแลตนเอง ใช้ช้อนกลางส่วนตัว ทานอาหารปรุงสุกใหม่ ลงทะเบียนเข้า-ออก สำรวจตรวจสอบ และกักกันตนเอง  – 7 มาตรการเข้ม 1.ประเมิน TSC+ (Thai Stop COVID+) และรายงานผลผ่าน MOE COVID 2. กิจกรรมแบบกลุ่มย่อย (Small Bubble) 3.จัดระบบให้บริการอาหารตามหลักสุขาภิบาลอาหารและหลักโภชนาการ4. อนามัยสิ่งแวดล้อม ตามเกณฑ์มาตรฐาน 5. แผนเผชิญเหตุ และมีการซักซ้อม (School Isolation)6. ควบคุมดูแลการเดินทางจากบ้านไปโรงเรียน (Seal Route) 7. School Pass สำหรับนักเรียน ครู และบุคลากรในสถานศึกษา

#ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ#ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 #ศูนย์ข้อมูล COVID19 #ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ 

สำนักข่าว MC.news.com รายงาน