พื้นยที่โฆษณา

สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.)เผย 3 กรณี เกิดผลข้างเคียงกับนักเรียนที่ฉีดวัคซีนโควิด สามารถยื่นเรื่องรับเงินช่วยเหลือทันที หากมีอาการป่วย และเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร จ่ายไม่เกิน 4 แสนบท  ส่วนอาการข้างเคียงไม่พึงประสงค์จะมีอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก รู้สึกเหนื่อย ใจสั่น เป็นลมหมดสติ  บางราย อาจมีอาการปวดจุกแน่นท้องด้านขวาบน หรือลิ้นปี่ และในบางราย อาจมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ  อาการเหล่านี้มักเกิดเร็ว หลังได้รับวัคซีน เฉลี่ยจะแสดงอาการในวันที่ 3-7 วัน !! ยอดการติดเชื้อวันนี้มีจำนวนลดลงอยู่ที่ 11,200 ราย เสียชีวิต  113  ราย หายป่วย  10,087 ราย!!

พื้นยที่โฆษณา

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด –19วันพฤหัสบดีที่ 7 ตุลาคม 2564รวม 11,200 ราย จำแนกเป็นผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 9,996 รายผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 1,046 รายผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 138 รายผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 20 รายผู้ป่วยสะสม 1,649,434 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)หายป่วยกลับบ้าน 10,087 รายหายป่วยสะสม 1,524,431 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)ผู้ป่วยกำลังรักษา 109,022 รายเสียชีวิต 113 ราย

พื้นยที่โฆษณา

ส่วนสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลกเมื่อวานวันพุธที่ 6 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น. มียอดผู้ติดเชื้อรวม 236,593,653 ราย  มีอาการรุนแรง 85,299 ราย  แพทย์รักษาหายแล้ว 213,721,839 ราย มีผู้เสียชีวิต 4,831,604 ราย จัดอันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด   1. สหรัฐอเมริกา ติดเชื้อจำนวน 44,781,200 ราย   2. อินเดีย ติดเชื้อ จำนวน 33,870,385 ราย   3. บราซิล ติดเชื้อจำนวน 21,499,074 ราย   4. สหราชอาณาจักร ติดเชื้อ จำนวน 7,967,985 ราย   5. รัสเซีย ติดเชื้อ จำนวน 7,637,427 รายประเทศไทย ติดเชื้ออยู่ในอันดับที่ 26 จำนวน 1,667,097 ราย

พื้นยที่โฆษณา

 ศูนย์ข้อมูลCOVID19 ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ MOPH-IC มีจำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. – 5 ต.ค. 2564) มีการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนไปแล้วรวม 56,656,247 โดส ใน 77 จังหวัด ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 5 ตุลาคม 2564 ยอดฉีดทั่วประเทศ 734,804 โดส  ฉีดเข็มที่ 1 จำนวน  262,362 ราย  ฉีดเข็มที่ 2 จำนวน  433,665 ราย  ฉีดเข็มที่ 3 จำนวน  38,777 ราย จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 33,505,887 ราย จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 21,595,916 ราย จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 1,554,444 ราย

พื้นยที่โฆษณา

กรณีที่รัฐบาลมีนโยบายฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับเด็กนักเรียน อายุ 12 ปีขึ้นไป โดยมีเป้าหมาย 5,048,000 รายทั่วประเทศ เริ่มต้นฉีดเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 64 เป็นวันแรก โดยเป็นวัคซีนชนิด mRNA ผลิตโดย บริษัท ไฟเซอร์ ร่วมกับ บริษัท ไบโอเอ็นเทค เพื่อเป็นการให้วัคซีนครอบคลุมประชากรทุกกลุ่มอายุ ที่สามารถรับการฉีดวัคซีนได้ ลดอัตราการป่วยรุนแรง และเสียชีวิต รวมทั้ง สร้างภูมิคุ้มกันให้กับประเทศได้ ตามที่รัฐบาลมีนโยบายฉีดวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ให้กับเด็กนักเรียน อายุ 12 ปีขึ้นไป โดยมีเป้าหมาย 5,048,000 รายทั่วประเทศ เริ่มต้นฉีดเมื่อวันที่ 4 ต.ค. 64 เป็นวันแรก โดยเป็นวัคซีนชนิด mRNA ผลิตโดย บริษัท ไฟเซอร์ ร่วมกับ บริษัท ไบโอเอ็นเทค เพื่อเป็นการให้วัคซีนครอบคลุมประชากรทุกกลุ่มอายุ ที่สามารถรับการฉีดวัคซีนได้ ลดอัตราการป่วยรุนแรง และเสียชีวิต รวมทั้ง สร้างภูมิคุ้มกันให้กับประเทศได้

พื้นยที่โฆษณา

ที่ผ่านมา คณะทำงานจัดทำแนวทำงานวินิจฉัย และรักษาโรคกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบภายหลังการได้รับวัคซีน mRNA ซึ่งประกอบด้วยสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ ราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย สมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย และกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค ได้จัดทำคำแนะนำ ภายหลังการได้รับวัคซีนป้องกันโควิด-19  บางรายอาจมีอาการภาวะไม่พึงประสงค์ คือ มีอาการเจ็บหน้าอก หายใจไม่สะดวก รู้สึกเหนื่อย หายใจแล้วรู้สึกเจ็บหน้าอก ใจสั่น เป็นลมหมดสติ บางราย อาจมีอาการปวดจุกแน่นท้องบริเวณด้านขวาบน หรือลิ้นปี่ และในบางราย อาจมีคลื่นไฟฟ้าหัวใจผิดปกติ อาการแสดงเหล่านี้มักเกิดเร็วหลังได้รับวัคซีน เฉลี่ยจะแสดงอาการในวันที่ 3-7 วัน 

พื้นที่โฆษณา

โดยสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้วางหลักเกณฑ์ 3 กรณี เกิดผลข้างเคียงกับนักเรียนที่ฉีดวัคซีนโควิด ให้ยื่นเรื่องรับเงินช่วยเหลือได้หากมีอาการป่วยที่  1. ต้องรักษาอาการป่วยต่อเนื่อง จ่ายไม่เกิน 1 แสนบาท  2. สูญเสียอวัยวะหรือพิการจนมีผลต่อการดำรงชีวิต จ่ายไม่เกิน 2.4 แสนบาท   3. กรณีเสียชีวิตหรือทุพพลภาพถาวร จ่ายไม่เกิน 4 แสนบาท  โดยให้ยื่นเรื่องขอรับเงินช่วยเหลือกับสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ที่ โรงพยาบาลที่ฉีด,สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) หรือที่สำนักงาน สปสช.สาขาเขตพื้นที่ทั้ง 13 เขต ภายใน 2 ปีนับแต่วันที่ทราบความเสียหาย โดย คณะอนุกรรมการฯ จะเร่งพิจารณาให้แล้วเสร็จโดยเร็ว ซึ่งในกรณีที่ผู้ยื่นคำร้องไม่เห็นด้วยกับผลการวินิจฉัย ก็มีสิทธิยื่นอุทธรณ์ต่อเลขาธิการ สปสช. ได้ภายใน 30 วันนับแต่วันที่ทราบผลการวินิจฉัย

สอบถามเพิ่มเติม สายด่วน สปสช. 1330 ดาวน์โหลดแบบคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น กรณีได้รับความเสียหายจากการรับวัคซีนป้องกันโควิดได้ที่ https://www.nhso.go.th/

#ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ#ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 #ศูนย์ข้อมูลCOVID19 #ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ 

สำนักข่าว MC.news.com รายงาน