พื้นที่โฆษณา

เฝ้าระวังอาการหลังฉีดวัคซีนนักเรียนอายุ 12-17 ปี- ภาวะกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบ- หมดสติ เป็นลม- แน่น/เจ็บหน้าอก – หอบ เหนื่อยง่าย- ใจสั่น*หากมีอาการควรรีบพบแพทย์เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที ศบค.เผยรัฐฯ ตั้งเป้าฉีดวัคซีนโควิด นักเรียน/นักศึกษา 4 ล้านคน  โดยเข็มที่ 1 ครอบคลุม 70 % ภายใน ต.ค. 64  ขณะที่บริษัท ซิลลิค ฟาร์มา แถลงยืนยันส่งมอบวัคซีน MODERNA ที่ไทยสั่งซื้อ 6.8 ล้านโดส ล็อตแรก 1.9 ล้านโดส ถึงไทยภายในไตรมาส 4 ปี 2564 ผู้ติดเฃื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นรวม 11,375 ราย เสียชีวิต 87 ราย หายป่วย  13,127 ราย!!

พื้นที่โฆษณา

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด –19 วันเสาร์ที่ 2 ตุลาคม 2564มีผู้ติดเฃื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นรวม 11,375 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 10,245 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 929 ราย
ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 184 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 17 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,597,741 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้าน 13,127 ราย หายป่วยสะสม 1,468,847 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษา 113,394 ราย เสียชีวิต 87 ราย

พื้นที่โฆษณา

ส่วนสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลกเมื่อวานนี้ันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม 2564 เวลา 10.00 น. มียอดผู้ติดเชื้อทั้งหมดรวม 234,553,899 ราย  มีอาการรุนแรง 88,633 ราย แพทย์รักษาหายแล้ว 211,351,370 ราย มีผู้เสียชีวิต 4,797,237 ราย จัดอันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุดได้แก่  1. สหรัฐอเมริกา ติดเชื้อ จำนวน 44,314,424 ราย   2. อินเดียติดเชื้อ จำนวน 33,765,488 ราย   3. บราซิล ติดเชื้อ จำนวน 21,427,073 ราย   4. สหราชอาณาจักร ติดชื้อจำนวน 7,807,036 ราย   5. รัสเซีย ติดเชื้อ จำนวน 7,511,026 ราย สำหรับประเทศไทย  จัดอยู่ในอันดับที่ 28 มีผู้ติดเชื้อจำนวน 1,615,229 ราย

พื้นที่โฆษณา

รายงานการฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติในประเทศไทย ในขณะนี้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 รายงานว่าจำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. – 30 ก.ย. 2564)รวม 53,784,812 โดส ใน 77 จังหวัด โดยภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 30 กันยายน 2564 มียอดฉีดทั่วประเทศ 2,288,728 โดส  ฉีดเข็มที่ 1 จำนวน 792,116 รายฉีดเข็มที่ 2 จำนวน 1,352,463 ราย  ฉีดเข็มที่ 3 จำนวน 144,149 ราย  และจำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 32,577,832 รายจำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 19,838,574 รายจำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 1,368,406 รายทั้งนี้ เนื่องจากมีการปรับปรุงรวบรวมฐานข้อมูลการฉีดวัคซีนที่เป็นจริง จึงมีการบันทึกข้อมูลเพิ่มขึ้น 1,700,523 โดส รวมผลการฉีดในวันนี้ 588,205 โดส รวมเป็น 2,288,728 โดส

พื้นที่โฆษณา

ศาสตราจารย์ นายแพทย์ ยง ภู่วรวรรณ โพสผ่านเฟสบุ๊กความว่า ระบุภาวะเยื่อหุ้มและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบหลังฉีดวัคซีน mRNAส่วนใหญ่มีอาการใน 1 – 7วันหลังฉีด และมักหายเองใน 1 สัปดาห์ เยื่อหุ้มและกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบจากวัคซีนโควิด ชนิด mRNA เป็นอุบัติการณ์ของการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากวัคซีนโควิดชนิด mRNA มีแนวโน้มรายงานเพิ่มขึ้น  อาจจะเป็นเพราะเฝ้าสังเกตอาการมากขึ้น โดยพบในผู้อายุน้อยมากกว่าอายุมาก เช่นในเด็ก 12 ถึง 17 ปี ผู้ชายพบมากกว่าผู้หญิง อาการเกิดหลังฉีดวัคซีนเข็ม 2  มากกว่าเข็มแรกอย่างชัดเจน การประเมินความเสี่ยงและประโยชน์จากวัคซีน ในเด็ก จึงขึ้นอยู่กับอุบัติการณ์ที่เกิดขึ้น ขณะนี้มีการรายงานที่มีตัวเลขแตกต่างกันมาก เช่นในเด็กชายอายุ 12-17 ปี  หลังการฉีดวัคซีนเข็ม 2 จากเดิมรายงาน  60 รายใน 1 ล้าน  เพิ่มขึ้นเป็นในเด็กชาย 12-15 ปี สูงถึง 162 ในล้าน และอายุ 16-17 ปี พบ 94 ในล้าน

พื้นที่โฆษณา

ส่วนใหญ่มีอาการใน 1-7 วันหลังได้รับวัคซีน แต่อาจพบได้นานถึง 6 สัปดาห์ อาการ มักไม่รุนแรงและหายได้เองภายใน 1 สัปดาห์ มีส่วนน้อยที่ต้องให้การรักษาด้วย IVIG  ผู้ป่วยที่ตรวจพบมีความผิดปกติในการทำงานของหัวใจ ประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจมักกลับมาปกติภายใน 3 เดือน แต่ยังไม่มีการศึกษาผลกระทบระยะยาว ทำไมพบในผู้ชายมากกว่าผู้หญิง ทำไมพบในเด็กมากกว่าผู้ใหญ่ ทำไมพบในการฉีดเข็ม 2 มากกว่าเข็มแรก คงต้องรอคำตอบการศึกษากลไกการเกิดโรค ในปัจจุบันกลไกการเกิดภาวะดังกล่าวยังไมทราบ  การแนะนำให้หยุดออกกำลังกายภายหลังการฉีดวัคซีน 1-2 สัปดาห์ ไม่ลดผลของการเกิดผลข้างเคียงจากวัคซีน แต่จะลดอาการที่เกิดจากการมีกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ ไม่ให้มีความรุนแรงได้

พื้นที่โฆษณา

ถึงแม้ความเสี่ยงต่อการเกิดกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบและเยื่อหุ้มหัวใจอักเสบจากวัคซีนชนิด mRNA จะพบได้น้อย แต่ยังคงต้องมีการศึกษาถึงหลักเกณฑ์การวินิจฉัย การตรวจวินิจฉัย การส่งต่อและการรักษาที่เหมาะสม ผลกระทบระยะยาวต่อประสิทธิภาพการทำงานของหัวใจ รวมทั้งการออกคำแนะนำการกลับมาการออกกำลังกายหรือพฤติกรรมตามปกติของผู้ป่วยที่มีผลข้างเคียงจากวัคซีน นอกจากนี้ควรศึกษาถึงกลไกการเกิดที่จำเพาะ ระบบภูมิคุ้มกันของร่างกาย ปัจจัยทางพันธุกรรมและประชากรกลุ่มเสี่ยง

#ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ#ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 #ศูนย์ข้อมูลCOVID19 #ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ 

สำนักข่าว MC.news.com รายงาน