พื้นที่โฆษณา

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด –19 วันจันทร์ที่ 27 กันยายน 2564 ตรวจพบผู้ติดเชื้อโควิด-19รายใหม่รวม 10,288 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 9,180 รายผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 969 ราย ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 127 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 12 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,543,063 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) แพทย์รักษาหายป่วยกลับบ้าน 12,494 ราย หายป่วยสะสม 1,407,975 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษา 120,156 ราย เสียชีวิต 101 ราย

พื้นที่โฆษณา

ส่วนสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลกเมื่อวานนี้ ันอาทิตย์ที่ 26 กันยายน 2564 เวลา 10.00 น. มียอดผู้ติดเชื้อรวม 232,278,968 ราย มีอาการรุนแรง 94,885 ราย แพทย์รักษาหายแล้ว 208,887,998 ราย มีผู้เสียชีวิต 4,757,346 ราย  จัดอันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด   1. สหรัฐอเมริกาติดเชื้อจำนวน 43,725,604 ราย  2. อินเดีย ติดเชื้อจำนวน 33,651,221 ราย  3. บราซิล ติดเชื้อจำนวน 21,343,304 ราย  4. สหราชอาณาจักร ติดเชื้อจำนวน 7,631,233 ราย  5. รัสเซีย ติดเชื้อ จำนวน 7,398,415 ราย  สำหรับประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 28 จำนวน 1,561,638 ราย

พื้นที่โฆษณา

รายงานการฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติในประเทศไทย ในขณะนี้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 รายงานว่า จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. – 25 ก.ย. 2564)รวมได้รับวัคซีนแล้ว 50,101,055 โดส ใน 77 จังหวัด โดยภาพรวมยอดฉีดวัคซีน ณ. วันที่ 25 กันยายน 2564 มียอดฉีดทั่วประเทศ 112,215 โดส ฉีดเข็มที่ 1จำนวน  40,659 ราย  ฉีดเข็มที่ 2 จำนวน 67,821 ราย  ฉีดเข็มที่ 3 จำนวน 3,735 ราย ยังไม่มีการฉีดเข็มที่ 4 จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 31,352,795 ราย จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 17,667,069 ราย จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 1,080,391 ราย จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 4 สะสม : 800 ราย

พื้นที่โฆษณา

เว็บไซต์ราชกิจจานุเบกษา ได้เผยแพร่ ประกาศคณะกรรมการการแพทย์ตามพระราชบัญญัติประกันสังคม เรื่อง หลักเกณฑ์ และอัตราค่าบริการทางการแพทย์กรณีคัดกรองการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) ตามแนวทางโครงการ Factory sandbox ลงนาม โดย ศาสตราจารย์คลินิกเกียรติคุณเหลือพร  ปุณณกันต์ ประธานกรรมการการแพทย์

พื้นที่โฆษณา

สาระสำคัญของประกาศ ระบุว่า เห็นชอบตามที่กระทรวงแรงงานได้จัดทำข้อเสนอโครงการนำร่องเกี่ยวกับแรงงานในสถานประกอบกิจการและโรงงานตามโครงการ Factory sandbox เพื่อจัดการโครงสร้างและกระบวนการในลักษณะ “เศรษฐศาสตร์สาธารณสุข” ที่ดำเนินการควบคู่กันระหว่างสาธารณสุขและเศรษฐกิจ โดยเฉพาะภาคการผลิตและอุตสาหกรรมการส่งออกขนาดใหญ่ อันประกอบด้วย 4 ภาคส่วน คือ ภาคส่วนยานยนต์ ภาคส่วนชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ ภาคส่วนอาหาร และภาคส่วนอุปกรณ์ทางการแพทย์ ซึ่งถือเป็นกลไกหลักที่ช่วยพยุงเศรษฐกิจของประเทศในปัจจุบัน

พื้นที่โฆษณา

โดยมีหลักการสำคัญ คือตรวจ รักษา ควบคุม ดูแล เพื่อให้การบริหารทรัพยากรที่มีอยู่อย่างจำกัดเกิดประโยชน์สูงสุดและตรงกลุ่มเป้าหมาย ให้ผู้ประกันตนในสถานประกอบการที่ดำเนินกิจการผลิตเพื่อการส่งออกสินค้าทั้ง 4 ภาคส่วนดังกล่าว ซึ่งมีลูกจ้างตั้งแต่ 500 คนขึ้นไป ในพื้นที่ 7 จังหวัดนำร่องที่เป็นพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด- ระยะที่ 1 ได้แก่จังหวัดชลบุรี จังหวัดนนทบุรี จังหวัดสมุทรสาคร และจังหวัดปทุมธานี – ระยะที่ 2 ได้แก่ จังหวัดพระนครศรีอยุธยา จังหวัดฉะเชิงเทรา และจังหวัดสมุทรปราการ ได้รับการป้องกันและควบคุมโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 (Coronavirus Disease 2019 (COVID-19)) สามารถดาวน์โหลดได้ทีjhttp://www.ratchakitcha.soc.go.th/DATA/PDF/2564/E/229/T_0032.PDF

พื้นที่โฆษณา

#ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 #ศูนย์ข้อมูลCOVID19 #ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ 

สำนักข่าว MC.news.com รายงาน