พื้นที่โฆษณา

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด –19  วันเสาร์ที่ 25 กันยายน 2564 ตรวจพบมีผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 11,975 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 10,651 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 1,213 ราย ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 92 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 19 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,520,422 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้าน 14,700 ราย หายป่วยสะสม 1,381,176 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)ผู้ป่วยกำลังรักษา 124,540 ราย เสียชีวิต 127 ราย

พื้นที่โฆษณา

ส่วนสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลกเมื่อวานนี้ วันศุกร์ที่ 24 กันยายน 2564 เวลา 10.00 น. พบยอดผู้ติดเชื้อรวม 231,386,985 ราย มีอาการรุนแรง 96,546 ราย แพทย์รักษาหายแล้ว 208,052,756 ราย เสียชีวิต 4,742,610 ราย  จัดอันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด  1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 43,532,491 ราย  2. อินเดีย จำนวน 33,593,492 ราย  3. บราซิล จำนวน 21,308,178 ราย  4. สหราชอาณาจักร จำนวน 7,565,867 ราย  5. รัสเซีย จำนวน 7,354,995 ราย  สำหรับประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 29 จำนวน 1,537,310 ราย

พื้นที่โฆษณา

มีรายงานสถานการณ์โควิดต่างประเทศที่ปฺดกเผยโดยสำนักข่าวกรองแห่งชาติแจ้งว่า องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ อนุมัติการใช้วัคซีนของบริษัท Pfizer เข็มที่ 3 ให้กลุ่มเสี่ยงสูง โดยนสพ.Wall Street Journal รายงานเมื่อ 22 ก.ย.64 ว่า องค์การอาหารและยาสหรัฐฯ (FDA) อนุมัติการใช้วัคซีนป้องกัน COVID-19 ของบริษัท Pfizer เข็มที่ 3 ให้ชาวอเมริกันกลุ่มเสี่ยงสูง เช่น ผู้ที่มีอายุมากกว่า 65 ปี ขึ้นไป และผู้ที่มีอาชีพเสี่ยงต่อการติด COVID-19 โดยกำหนดว่าผู้ที่รับวัคซีนเข็มที่ 3 จะต้องได้รับวัคซีนครบโดสแล้วอย่างน้อย 6 เดือน ทั้งนี้ ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (CDC) ของสหรัฐฯ จะหารือเพื่อประกาศมาตรการฉีดวัคซีนเข็ม 3 ในเร็ว ๆ นี้

พื้นที่โฆษณา

รายงานจากกัมพูชาวางยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวเพื่อเตรียมเปิดประเทศอีกครั้ง โดยสนข.Khmer Times รายงานเมื่อ 23 ก.ย.64 ว่า นายฮุน เซน นายกรัฐมนตรีกัมพูชา วางยุทธศาสตร์การท่องเที่ยวทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศเพื่อเตรียมเปิดประเทศอีกครั้ง ได้วางยุทธศาสตร์การท่องเที่ยว 4 ระดับ ได้แก่ 1) เร่งฉีดวัคซีนป้องกัน COVID-19 เพื่อให้แหล่งท่องเที่ยวปลอดภัย สร้างความเชื่อมั่นต่อนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ 2) สนับสนุนให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทุกภาคส่วนส่งเสริมรูปแบบการท่องเที่ยวที่หลากหลายผ่านโครงการเยาวชนและธุรกิจในภาคการท่องเที่ยว 3) ส่งเสริมให้หน่วยงานภาครัฐร่วมมือกับกระทรวงการท่องเที่ยวเพื่อพัฒนาทักษะแก่เยาวชนตามกลไกการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน และ 4) รณรงค์โครงการ “Cambodia safe” เพื่อแสดงให้เห็นว่ากัมพูชาให้ความสำคัญกับความปลอดภัยและความสะดวกสบายเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวในห้วงที่สามารถเปิดประเทศได้ในอนาคต

พื้นที่โฆษณา

สำหรับการฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติในประเทศไทย ขณะนี้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 รายงานว่า จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. – 23 ก.ย. 2564) รวมยอดการฉีดวัคซีนทั้งหมดมีจำนวน  47,296,431 โดส ใน 77 จังหวัด ภาพรวมการฉีดวัคซีน วันที่ 23 กันยายน 2564 มียอดฉีดทั่วประเทศ 626,896 โดส เป็นการฉีดเข็มที่ 1 จำนวน 256,541 ราย ฉีดเข็มที่ 2 จำนวน 369,868 ราย ฉีดเข็มที่ 3 จำนวน 487 ราย รวมจำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม จำนวน 29,998,440 ราย(จำนวนผู้ได้รับวัคซีนทั้งหมด) จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม จำนวน 16,673,867 ราย (จำนวนผู้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์)จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม จำนวน 624,124 ราย

พื้นที่โฆษณา

กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค เปิดเผยถึงอาการหลังการฉีดวัคซีนที่เกิดลักษณะอาการไม่พึงประสงค์ภายหลังได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ซึ่งเรียกลักษณะอาการนี้ว่าCOVID Arm คือผู้ป่วยจะมีอาการบวม แดง และเจ็บบริเวณที่ฉีดวัคซีนหรือใกล้เคียง อาจมีอาการคันร่วมด้วย บางรายอาจมีอาการแสดงอื่น ๆ ร่วมด้วยได้ เช่น ไข้ ปวดกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ เป็นต้น โดยมักเกิดอาการภายใน 7 วันหลังรับวัคซีน ส่วนใหญ่หายได้เอง

พื้นที่โฆษณา

มีรายงานจากอาการ COVID Arm หลังจากได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด 19 ชนิด mRNA ประมาณร้อยละ 1.1 ส่วนมากพบในเพศหญิงและภายหลังได้รับวัคซีนเข็มที่ 1 นอกจากวัคซีนชนิด mRNA ยังพบรายงานการเกิด COVID Arm ภายหลังการฉีดวัคซีนชนิดอื่น ๆ ด้วย เช่น AstraZeneca ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถหายได้เองภายในระยะเวลา 1 สัปดาห์ อาจใช้การประคบเย็นเพื่อบรรเทาอาการ ในผู้ที่มีอาการบวมแดง หรือคันมาก สามารถใช้ยาทากลุ่มสเตียรอยด์ หรือยากินแก้แพ้ได้ ในผู้ที่เกิด COVID Arm สามารถรับวัคซีนชนิดเดิมในเข็มถัดไปได้ ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนชนิดของวัคซีน อย่างไรก็ตาม อาจเกิดอาการซ้ำได้หลังรับวัคซีนชนิดเดิม

มีรายงานจากกระทรวงสาธารณสุข แจ้งอีกว่าจะมีประกาศปิดโรงพยาบาลบุษราคัม 30 ก.ย.64 โรงพยาบาลบุษราคัมมี 3,700 เตียงภายหลังจำนวนผู้ป่วยโควิด 19 ลดลงจากมาตรการองค์กร มาตรการส่วนบุคคล นวัตกรรมการดูแลรักษาผู้ป่วยที่บ้านและชุมชนส่งผู้ป่วยรายสุดท้ายกลับบ้านเมื่อวันที่ 20 กันยายนที่ผ่านมา สรุปยอด 130 วันดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด 20,436 ราย พร้อมขอบคุณบุคลากรและทุกหน่วยงานที่ร่วมสนับสนุนภารกิจจนประสบความสำเร็จ สำหรับผู้ติดเชื้อในกทม.และปริมณฑล จากนี้มีโรงพยาบาลสนามทั้งของรัฐและเอกชนรองรับ

#ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 #ศูนย์ข้อมูลCOVID19 #ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ 

สำนักข่าว MC.news.com รายงาน