พื้นที่โฆษณา

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด –19  วันพฤหัสบดีที่ 23 กันยายน 2564 พยยอดผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มขึ้นรวม 13,256 ราย จำแนกเป็น  ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 10,620 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 2,143 รายผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 478 รายผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 15 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,495,750 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้าน 13,829 ราย หายป่วยสะสม 1,352,936 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษา 128,367 ราย  เสียชีวิต 131 ราย

พื้นที่โฆษณา

ส่วนสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลกเมื่อวานนี้ วันพุธที่ 22 กันยายน 2564 เวลา 10.00 น. มียอดผู้ติดเชื้อรวม 230,313,402 ราย มีอาการรุนแรง 98,115 ราย แพทย์รักษาหายแล้ว 207,033,398 ราย มีผู้เสียชีวิต 4,722,750 ราย อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด  1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 43,242,302 ราย  2. อินเดีย จำนวน 33,530,077 ราย  3. บราซิล จำนวน 21,247,667 ราย  4. สหราชอาณาจักร จำนวน 7,496,543 ราย  5. รัสเซีย จำนวน 7,313,851 ราย  สำหรับประเทศไทย 🇹🇭 อยู่ในอันดับที่ 29 จำนวน 1,511,357 ราย

พื้นที่โฆษณา

สำหรับการฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติในประเทศไทย ขณะนี้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 รายงานว่า ➕ จำนวนการได้รับวัคซีนสะสม (28 ก.พ. – 21 ก.ย. 2564)รวม 46,023,016 โดส ใน 77 จังหวัด📄 ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 21 กันยายน 2564 มียอดฉีดทั่วประเทศ 811,915 โดส   ฉีดเข็มที่ 1 จำนวน 300,033 ราย ฉีดเข็มที่ 2 จำนวน 511,087 ราย  ฉีดเข็มที่ 3 จำนวน 795 ราย  จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม จำนวน 29,501,110 ราย(จำนวนผู้ได้รับวัคซีนทั้งหมด)จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม จำนวน 15,899,158 ราย(จำนวนผู้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์)จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม จำนวน 622,748 ราย

พื้นที่โฆษณา

สำหรับการเยียวยาประชาชนจากสถานการณ์โควิด-19 ที่ประชุม ครม. วันที่ 21 กันยายน 2564โดย ครม. มีมติเห็นชอบในหลักการและขยายมาตรการบรรเทาภาระค่าไฟฟ้าและค่าน้ำประปา อนุมัติงบกลาง ปี 64 รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นจำนวน 27,005.66 ล้านบาท เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ดังนี้

พื้นที่โฆษณา

 1) วงเงิน 2,018 ล้านบาท เพื่อขยายระยะเวลามาตรการบรรเทาภาระค่าน้ำ/ค่าไฟ ตั้งแต่เดือนตุลาคม 2564 – กันยายน 2565 (12 เดือน) -กรณีใช้ไฟฟ้าไม่เกิน 50 หน่วย/เดือน ติดต่อกัน 3 เดือน ให้สิทธิค่าไฟฟ้าฟรี ตามมาตรการที่มีอยู่ในปัจจุบัน กรณี ใช้ไฟฟ้าเกิน 50 หน่วย/เดือน ให้ใช้สิทธิตามมาตรการนี้ในวงเงิน 315 บาท/ครัวเรือน/เดือน กรณีใช้เกินวงเงินที่กำหนด ผู้มีบัตรสวัสดิการแห่งรัฐเป็นผู้รับภาระค่าไฟฟ้าทั้งหมด ครอบคลุม 1.9 ล้านครัวเรือน โดยประมาณ เพื่อสนับสนุนค่าน้ำประปา วงเงิน 100 บาท /ครัวเรือน /เดือน ในกรณีใช้น้ำประปาเกิน 100 บาท แต่ไม่เกิน 315 บาท ยังคงได้รับการสนับสนุนในวงเงิน 100 บาท โดยส่วนเกินต้องชำระด้วยตนเอง และกรณีการใช้น้ำประปาเกิน 315 บาท ผู้มีบัตรฯ รับภาระในการชำระค่าน้ำประปาเองทั้งหมด ครอบคลุมประมาณ 186,625 ครัวเรือน

พื้นที่โฆษณา

2) วงเงิน 18,815 ล้านบาท สนับสนุน ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง และการเพิ่มเบี้ยความพิการ-ค่าใช้จ่ายในครัวเรือน สำหรับค่าซื้อสินค้าอุปโภค/บริโภคที่จำเป็น สินค้าเพื่อการศึกษา และวัตถุดิบเพื่อการเกษตร จากร้านธงฟ้าประชารัฐและร้านอื่นๆ โดยผู้มีสิทธิที่มีรายได้เกินกว่า 30,000 บาท แต่ไม่เกิน 100,000 บาท/ปี ได้รับ 200 บาท/คน/เดือน ในส่วนผู้มีสิทธิที่มีรายได้ ไม่เกิน 30,000 บาท/ปี ได้รับ 300 บาท/คน/เดือน และได้รับส่วนลดค่าก๊าซหุงต้ม 55บาท/คน/3 เดือน-ค่าใช้จ่ายในการเดินทาง อาทิ ค่าโดยสาร ขสมก. ระบบ e-Ticket /รถไฟฟ้า บขส. รถไฟ อย่างละ 500 บาท/คน/เดือน-เบี้ยความพิการ จำนวน 1,000 บาท/คน/เดือน อีกด้วย

3) วงเงิน 1,642 ล้านบาท ดำเนินโครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (รอบใหม่) เพื่อรองรับกระบวนการลงทะเบียนรอบใหม่ โดยจะเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับการรับลงทะเบียนของหน่วยรับลงทะเบียน และค่าใช้จ่ายในการผลิตและบริหารจัดการบัตรฯ  และ 4) วงเงิน 4,530.66 ล้านบาท สำหรับจัดสรรสวัสดิการแบบไม่มีกำหนดระยะเวลาสำหรับผู้มีรายได้น้อย ภายใต้โครงการลงทะเบียนเพื่อสวัสดิการแห่งรัฐ (รอบใหม่) เพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้มีบัตรฯ และเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 อาจทำให้ผู้สมัครรอบใหม่มีจำนวนเพิ่มขึ้น การช่วยเหลือลดอัตราค่าน้ำ/ค่าไฟ ตลอดจนบัตรสวัสดิการแห่งรัฐ เป็นส่วนหนึ่งของกองทุนประชารัฐสวัสดิการเพื่อเศรษฐกิจฐานราก โดยมุ่งให้ความช่วยเหลือประชาชนผู้มีรายได้น้อย

#ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 #ศูนย์ข้อมูลCOVID19 #ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ 

สำนักข่าว MC.news.com รายงาน