พื้นที่โฆษณา

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด –19วันเสาร์ที่ 18 กันยายน 2564 รวมผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มอีก 14,109 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากระบบเฝ้าระวังฯ 11,892 ราย ผู้ป่วยจากการค้นหาเชิงรุก 1,357 ราย ผู้ป่วยภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 854 ราย ผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 6 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,434,038 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) แพทย์รักษาหายป่วยกลับบ้าน 13,280 ราย รวมยอดรักษาหายป่วยสะสม 1,290,101 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ขณะนี้มีผู้ป่วยกำลังรักษา 130,128 ราย โดยในวันนี้มีผู้เสียชีวิต 122 ราย

พื้นที่โฆษณา

ส่วนสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลกเมื่อวานนี้ วันศุกร์ที่ 17 กันยายน 2564 เวลา 10.00 น.มียอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 รวมทั้งสิ้น  227,826,370 ราย มีอาการรุนแรง 100,955 ราย  แพทย์รักษาหายแล้ว 204,470,415 ราย 🙂 เสียชีวิต 4,683,977 ราย จัดอันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด 1. สหรัฐอเมริกา ติดเชื้อ จำนวน 42,634,054 ราย  2. อินเดีย ติดเชื้อ จำนวน 33,380,522 ราย  3. บราซิล ติดเชื้อ จำนวน 21,069,017 ราย  4. สหราชอาณาจักร ติดเชื้อ จำนวน 7,339,009 ราย  5. รัสเซีย ติเชื้อ จำนวน 7,214,520 ราย ประเทศไทย จัดอยู่ในอันดับที่ 29 ของโลก ติดเชื้อจำนวน 1,448,792 ราย

พื้นที่โฆษณา

สำหรับการฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติในประเทศไทย ขณะนี้ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 รายงานว่า มีจำนวนการฉีดวัคซีนสะสม (28 ก.พ. – 16 ก.ย. 2564) รวมทั้งสิ้น  43,342,103 โดส ใน 77 จังหวัด ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 16 กันยายน 2564 ยอดฉีดทั่วประเทศ 864,589 โดส ฉีดเข็มที่ 1 จำนวน 350,813 ราย ฉีดเข็มที่ 2 จำนวน 512,811 รายฉีดเข็มที่ 3 จำนวน 965 ราย จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม จำนวน 28,436,015 ราย (จำนวนผู้ได้รับวัคซีนทั้งหมด) จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม จำนวน 14,285,995 ราย(จำนวนผู้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์) จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม จำนวน 620,093 ราย

พื้นที่โฆษณา

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุข(สธ.)จะเดินหน้า ฉีดวัคซีนโควิด กระตุ้นเข็ม 3 ให้ประชาชน เริ่มวันมหิดล 24 ก.ย. 2564 นี้ ตั้งเป้าฉีด 1 ล้านโดส  แผนเดิมจะเริ่มฉีดเข็ม 3 เดือนตุลาคมแต่เนื่องจากขณะนี้ ไทยมีวัคซีนเพียงพอ เพราะมีการจัดซื้อเพิ่มเติมจากประเทศในยุโรปและได้รับการบริจาคมาจากหลายประเทศ จึงมีปริมาณวัคซีนที่เพียงพอ การเริ่มฉีดในวันที่ 24 กันยายน นี้ เนื่องในวันมหิดล ก็เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่องค์สมเด็จพระมหิตลาธิเบศร อดุลยเดชวิกรม พระบรมราชชนก “พระบิดาแห่งการแพทย์แผนปัจจุบัน” ที่ทรงมีคุณูปการอันใหญ่หลวงต่อปวงชนชาวไทยอย่างหาที่สุดมิได้ ในด้านการแพทย์การสาธารณสุข และเพื่อประโยชน์กับประชาชน

พื้นที่โฆษณา

นายแพทย์โสภณ กล่าวอีกว่า ขณะนี้แนวโน้มผู้ป่วยโควิด 19 ที่รักษาหายรายวันมีจำนวนเพิ่มขึ้น สูงกว่าผู้ติดเชื้อรายใหม่ สะท้อนถึงคุณภาพระบบการดูแลรักษา  ยอดผู้ป่วยสะสมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 จนถึงวันนี้รวม 1,405,374 ราย  หลายรายแม้จะหายป่วยและตรวจไม่พบเชื้อไวรัสในร่างกายแล้ว อาจจะยังมีอาการหลงเหลืออยู่  องค์การอนามัยโลก (World Health Organization : WHO) เรียกอาการที่เกิดขึ้นนี้ว่า “ภาวะลอง โควิด” (Long COVID) หรืออาการหลงเหลือของเชื้อโควิด 19 ระยะยาว ซึ่งสามารถพบภาวะนี้ได้ทั่วโลก ส่วนใหญ่จะมีอาการหลังจากหายป่วยในช่วง 1-3 เดือนแรก พบได้ร้อยละ 30-50 ของผู้ป่วยโรคโควิด 19 จึงไม่ต้องตกใจหรือกังวลใจแต่อย่างใด 

พื้นที่โฆษณา

ทางด้านนายแพทย์จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กล่าวเพิ่มเติมว่า อาการของ“ภาวะลองโควิด” แสดงออกได้ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ผู้ป่วยแต่ละรายจะมีอาการแตกต่างกัน ไม่มีลักษณะตายตัว เช่น ไอ มีไข้ ปวดศีรษะ การรับรู้กลิ่นหรือรสชาติลดลง เจ็บหน้าอก หายใจไม่อิ่ม เหนื่อยล้า ปวดข้อหรือกล้ามเนื้อ ท้องเสีย เกิดจากการที่ภูมิคุ้มกันของร่างกายลดลง และบางรายอาจมีอาการทางจิตใจ เช่น วิตกกังวล สมาธิสั้นลง หรือซึมเศร้าร่วมด้วย โดยผู้ป่วยโควิด 19 กลุ่มสีแดงหรือผู้ป่วยที่มีอาการป่วยรุนแรง จะมีโอกาสเกิดภาวะลองโควิดสูงกว่าผู้ป่วยโควิด 19 ที่มีอาการน้อย เนื่องจากอาจมีปัจจัยเรื่องความเครียดที่สะสมมาตั้งแต่ช่วงป่วยเป็นโรคโควิด 19 จึงส่งผลต่อเนื่องอาจยาวนาน 3-6 เดือนได้

“กว่าจะกลับมาเป็นปกติ  อย่างไรก็ตาม ยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่ส่งผลให้เกิดภาวะลองโควิดด้วย เช่น อายุโดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงอายุ  เรื่องเพศ โดยพบในเพศหญิงมากกว่าเพศชาย รวมทั้งผู้ที่มีโรคประจำตัวอื่นๆ ด้วย เช่น โรคหอบหืด และผู้ที่เคยเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล ซึ่งผู้ที่หายป่วยแล้วไม่ต้องกังวลใจแต่อย่างใด หากผู้ที่หายป่วยจากโรคโควิด 19 แล้วยังมีอาการที่กล่าวมา แนะนำให้พบแพทย์เพื่อหาสาเหตุที่แท้จริง เนื่องจากบางรายอาจเป็นผลจากตัวยาที่ใช้ในการรักษา หรือบางรายอาจจะมีโรคอื่น ๆ ร่วมด้วย จึงต้องมีการตรวจเพิ่มเติมและทำการรักษาให้ตรงกับปัญหาที่เกิดขึ้น  สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมที่สายด่วนกรมควบคุมโรค โทร. 1422”นายแพทย์จักรรัฐ กล่าวในตอนท้าย

#ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 #ศูนย์ข้อมูลCOVID19 #ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ 

สำนักข่าว MC.news.com รายงาน