พื้นที่โฆษณา

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด 19 หรือ ศบค. รายงานสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด –19วันเสาร์ที่ 4 กันยายน 2564 พบผู้ติดเชื้อโควิด-19 รวม 15,942  ราย จำแนกเป็นติดเชื้อใหม่   15,665 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง  277รายผู้ป่วยสะสม   1,236,219  ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)หายป่วยกลับบ้าน  20,351 รายหายป่วยสะสม  1,079,891 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน)ผู้ป่วยกำลังรักษา  155,134 ราย เสียชีวิต 257 ราย

พื้นที่โฆษณา

ส่วนสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ทั่วโลกเมื่อวานนี้ วันศุกร์ที่ 3 กันยายน 2564 เวลา 10.00 น. ยอดผู้ติดเชื้อรวม 219,956,335 ราย  มีอาการรุนแรง 104,722 ราย  แพทย์รักษาหายแล้ว 196,595,478 ราย  เสียชีวิต 4,557,084 ราย อันดับประเทศที่มีผู้ติดเชื้อสูงสุด  1. สหรัฐอเมริกา จำนวน 40,513,018 ราย 2. อินเดีย จำนวน 32,902,345 ราย 3. บราซิล จำนวน 20,830,712 ราย 4. รัสเซีย จำนวน 6,956,318 ราย 5. สหราชอาณาจักร 󠁧󠁢󠁥󠁮󠁧󠁿 จำนวน 6,862,904 ราย โดยที่ประเทศไทย อยู่ในอันดับที่ 29 จำนวน 1,249,140 ราย

พื้นที่โฆษณา

สำหรับการฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติในประเทศไทยขณะนี้มีจำนวนการได้รับวัคซีนสะสม  (28 ก.พ. – 2 ก.ย. 2564)รวม 34,292,537 โดส ใน 77 จังหวัด ภาพรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 2 กันยายน 2564 ยอดฉีดทั่วประเทศ 865,074 โดส เข็มที่ 1 : 394.608 ราย เข็มที่ 2 : 468,104 ราย เข็มที่ 3 : 2,362 ราย จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 24,542,140 ราย (จำนวนผู้ได้รับวัคซีนทั้งหมด) จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 9,152,799 ราย (จำนวนผู้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์) จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 597,598 ราย

พื้นที่โฆษณา

มีรายงานเมื่อ 1 ก.ย.64 ว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) จัดให้เชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ Mu หรือ B.1.621 เป็นสายพันธุ์ที่ต้องให้ความสนใจ (Variant of Interest) ลำดับที่ 5 เนื่องจากมีความเสี่ยงที่จะสามารถต้านทานวัคซีนได้ โดย WHO วิตกกับการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 สายพันธุ์ Mu ที่เพิ่มขึ้นในอเมริกาใต้และยุโรป เฉพาะอย่างยิ่งในโคลอมเบียและเอกวาดอร์ รวมทั้งพบในญี่ปุ่นแล้วด้วย โดย WHO จะศึกษาความสามารถในการแพร่ระบาดและความรุนแรงของเชื้ออย่างใกล้ชิดต่อไป 

พื้นที่โฆษณา

#ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 #ศูนย์ข้อมูลCOVID19 #ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ 

สำนักข่าว MC.news.com รายงาน