พื้นที่โฆษณา

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในวันวันอังคารที่ 24 สิงหาคม 2564 พบยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ทั่วประเทศรวม 17,165 ราย จำแนกเป็นติดเชื้อใหม่ 16,973 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 192 ราย ผู้ป่วยสะสม 1,055,088 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) แพทย์รักษาหายป่วยกลับบ้าน 20,059 ราย รวมยอดหายป่วยสะสม 854,403 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) และมีผู้ป่วยกำลังรักษา 192,334 ราย ยอดเสียชีวิตวันวาน 226 ราย

พื้นที่โฆษณา

กรมควบคุมโรครายงานถึงอัตราผู้ป่วยโควิด เสียชีวิต  เมื่อวันที่ 23 ส.ค. 64ที่ผ่านมาโดยพบผู้สูงอายุ อายุ 60 ปีขึ้นไปและ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง สูงถึง 93% และอายุน้อยกว่า 60 ปี ไม่มีประวัติโรคเรื้อรัง 6% หญิงตั้งครรภ์ 1%ดังนั้นจึงต้องช่วยกันพาผู้สูงอายุ ผู้ป่วยโรคเรื้องรัง หญิงตั้งครรภ์ ไปรับวัคซีน เพื่อลดอัตราการเสียชีวิต และการป่วยรุนแรง มีรายงานการระบาดของโควิดสายพันธุ์เดลตาซึ่งระบาดเร็วเท่ากับโรคโควิดสายพันธุ์เดลตาระบาด เร็วเท่ากับโรคอีสุกอีใส (chicken pox) การฉีดวัคซีนอย่างเดียวไม่พอที่จะหยุดแพร่เชื้อ ต้องอาศัยมาตรการด้านสาธารณสุขร่วมด้วย โดยต้องใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง หลีกเลี่ยงพื้นที่แออัด

พื้นที่โฆษณา

มีรายงาน อย.ว่ารัฐบาลไม่ปิดกั้นเอกชนนำเข้าวัคซีนโควิด  โดย อย.พร้อมอำนวยความสะดวก เอกสารครบพิจารณาภายใน 30 วัน เรื่องนี้นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ถึงการนำเข้ายาหรือวัคซีนจากต่างประเทศ ว่า รัฐบาลไม่เคยปิดกั้นภาคเอกชนในการนำเข้าวัคซีนโควิด 19 สำหรับกรณีเอกชนที่ต้องการนำเข้าวัคซีนโควิด 19 เช่น โรงพยาบาลเอกชน ต้องมายื่นเป็นผู้รับอนุญาตนำหรือสั่งยาเข้ามาในราชอาณาจักรก่อน จากนั้นจึงยื่นขอขึ้นทะเบียนวัคซีนโควิด 19 อีกครั้ง ซึ่งเป็นไปตามหลักปฏิบัติสากล เนื่องจากผู้รับอนุญาตนำเข้าต้องเป็นผู้รับผิดชอบต่อคุณภาพและความปลอดภัยของวัคซีนที่นำเข้ามาในราชอาณาจักร

พื้นที่โฆษณา

“เอกชนรายใดประสงค์จะนำเข้าวัคซีนโควิด 19 สามารถดำเนินการได้ มาขึ้นทะเบียนได้ที่ อย. ทาง อย.ได้ระดมสรรพกำลังและเร่งดำเนินการพิจารณาประเมิน ทั้งด้านคุณภาพ ความปลอดภัย ประสิทธิผลและการบริหารจัดการความเสี่ยงของวัคซีน หากส่งเอกสารครบถ้วนตามที่กำหนดจะใช้เวลาในการพิจารณาไม่เกิน 30 วันผู้ที่ต้องการขึ้นทะเบียนเกี่ยวกับผลิตภัณฑ์สุขภาพหรือวัคซีนในช่วงที่มีการระบาดของโควิด 19 สามารถรับบริการหรือสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วน OSSC หมายเลข 02 -5907606 และ 02- 1148181,แอพพลิเคชั่นไลน์ : @OSSC_FDA, อีเมล: OSSC@fda.moph.go.th” นายแพทย์เกียรติภูมิกล่าว

พื้นที่โฆษณา

นิกจากนั้นกรมควบคุมโรคได้เสนอวิธีการแนะนำเมื่อเข้าไปในจุดเสี่ยงติดโควิด ในตลาด ได้แก่จุดสัมผัสร่วมกัน เช่น ห้องน้ำ โดยเฉพาะบริเวณลูกบิดประตู ควรฉีดสเปรย์แอลกอฮอล์ที่จุดสัมผัสร่วมในห้องน้ำ ก่อนและหลังใช้ทุกครั้ง ส่วนภาชนะที่ใช้ซื้อหรือใส่ข้าวของร่วมกัน หลังใช้ทุกครั้ง ควรทำความสะอาดมือด้วยสเปรย์แอลกอฮอล์ สำหรับการเดินซื้อของในตลาด ควรพกสเปรย์แอลกอฮอล์ติดตัวเสมอ ใส่หน้ากากอนามัยทับด้วยหน้ากากผ้า และหลีกเลี่ยงจุดสัมผัสร่วมกัน

#ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19

#ศูนย์ข้อมูลCOVID19

#ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ

สำนักข่าว MC.news.com รายงาน