พื้นที่โฆษณา

ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19 แถลงยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันจันทร์ที่ 16 สิงหา คม 2564 รวม 21,157 ราย จำแนกเป็นติดเชื้อใหม่ 20,499 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ/ที่ต้องขัง 658 ราย ผู้ป่วยสะสม 899,451 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) หายป่วยกลับบ้าน 20,984 ราย หายป่วยสะสม 682,220 ราย (ตั้งแต่ 1 เมษายน) ผู้ป่วยกำลังรักษา 210, 934 ราย เสียชีวิต 182 ราย

พื้นที่โฆษณา

มีรายงานถึงจำนวนการฉีดวัคซีนสะสมตั้งแต่ (28 ก.พ. – 14 ส.ค. 2564) ซึ่งรวมทั้งสิ้น 23,476,869 โดส ใน 77 จังหวัด โดยรวมยอดฉีดวัคซีน วันที่ 14 สิงหาคม 2564 💉ยอดฉีดทั่วประเทศ 284,378 โดสแยกเป็น

1⃣ เข็มที่ 1 : 183,092 ราย

2⃣ เข็มที่ 2 : 40,104 ราย

3⃣ เข็มที่ 3 : 61,182 ราย

จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม : 17,879,206 ราย(จำนวนผู้ได้รับวัคซีนทั้งหมด)จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 2 สะสม : 5,073,672 ราย(จำนวนผู้ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์)จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม : 523,991 ราย

นอกจากนี้กรมควบคุมโรคได้แนะ “ผู้ป่วยโควิด 19 ที่รักษาครบ 14 วัน”อาการหายดีและกลับบ้านแล้ว ให้คงปฏิบัติป้องกันโรคต่อเนื่อง ไม่จำเป็นต้องแยกกักตัว !!

พื้นที่โฆษณา

นายแพทย์โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข กล่าวถึงสถานการณ์โรคโควิด 19 ว่า โรคยังคงแพร่ระบาดต่อเนื่อง ต้องเร่งค้นหาผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้สัมผัสเชื้อที่อยู่ในบ้านและชุมชน เพื่อนำเข้าสู่ระบบการดูแลรักษา ป้องกันไม่ให้แพร่กระจายเชื้อ สำหรับผู้ป่วยโควิด 19 ที่ได้รับการรักษาจนหายป่วยแล้ว และแพทย์อนุญาตให้ออกจากโรงพยาบาล กลับไปพักฟื้นหรือกักตัวต่อที่บ้านตามหลักเกณฑ์ของกรมการแพทย์ ขณะนี้มีวันละกว่า 20,000 รายทั่วประเทศ โดยยอดสะสมตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน 2564 – 13 สิงหาคม 2564 มีผู้หายป่วยจากโรคโควิด 19 รวม 640,130 ราย

พื้นที่โฆษณา

นายแพทย์โอภาสกล่าวต่อว่า ผู้ที่หายป่วยและได้ออกจากโรงพยาบาลหลังเข้ารับการรักษาจนครบ 14 วัน หรือกลับมากักตัวที่บ้านจนครบ 14 วัน จัดว่าเป็นผู้ที่พ้นระยะการแพร่เชื้อ และอยู่ในระยะที่ร่างกายฟื้นตัว ไม่จำเป็นต้องแยกกักตัวหรือแยกจากคนอื่นแล้ว สามารถทำงานได้ตามปกติ ซึ่งผู้ที่เคยติดเชื้อจะมีโอกาสติดเชื้อซ้ำได้ แต่ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นหลัง 3 เดือนไปแล้ว จึงจำเป็นต้องได้รับการฉีดวัคซีนในภายหลังด้วย อย่างไรก็ตามขอให้ยังคงต้องปฏิบัติดูแลสุขอนามัยตามคำแนะนำของกรมควบคุมโรค เพื่อป้องกันการรับเชื้อเข้าสู่ร่างกายจนกว่าสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 จะยุติ ดังนี้

1.สวมหน้ากากอนามัยหรือหน้ากากผ้าตลอดเวลาเมื่อต้องอยู่ร่วมกับผู้อื่น เว้นระยะห่างทางสังคม

2.ล้างมือด้วยสบู่และน้ำเป็นประจำ หรือใช้เจลแอลกอฮอล์ สเปรย์แอลกอฮอล์ 70% ถูมือให้ทั่วถึง ก่อนรับประทานอาหาร และภายหลังเข้าห้องน้ำ ห้องส้วม หรือหยิบจับสิ่งของต่างๆ

3.ไม่ใช้อุปกรณ์รับประทานอาหารและแก้วน้ำร่วมกับผู้อื่น

4.ดื่มน้ำสะอาดมากๆ รับประทานอาหารปรุงสุกใหม่ สะอาด ให้ครบ 5 หมู่ โดยเฉพาะผักผลไม้ที่มีวิตามินซีสูง แต่หากมีอาการท้องเสียหรืออาเจียนให้ งด อาหารย่อยยากและอาหารประเภทนมหรือผลไม้สด

5.นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ เพื่อให้ร่างกายได้ซ่อมแซมตัวเอง งดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ งดสูบบุหรี่ หรือยาเสพติดทุกชนิด เพื่อลดการทำลายอวัยวะภายใน ทำให้สุขภาพอ่อนแอลงได้

ระหว่างที่พักฟื้นอยู่บ้าน ขอให้สังเกตตนเอง  หากมีอาการป่วยเกิดขึ้นใหม่ เช่น มีไข้สูง ไอมาก มีอาการเหนื่อยหอบ แน่นหน้าอก หายใจไม่สะดวก เบื่ออาหาร เป็นต้น อาการที่กล่าวมาอาจเกิดมาจากหลายสาเหตุ ทั้งอาจเป็นเชื้อไวรัสโควิด 19 หรือติดเชื้อชนิดอื่นๆ ได้ ขอให้รีบติดต่อที่สถานพยาบาลเดิมที่เคยรักษา หรือโทรปรึกษาสายด่วนกรมควบคุมโรค 1422 และหากต้องไปสถานพยาบาล ให้สวมหน้ากากอนามัยระหว่างเดินทางตลอดเวลา

ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข

#ศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด19

#ศูนย์ข้อมูลCOVID19

#ฉีดวัคซีนหยุดเชื้อเพื่อชาติ

มานะ แย้มจะบก บก.สำนักข่าว MC.news.com รายงาน