วันที่31 มกราคม พ.ศ. 2563 ที่ศูนย์การค้าเซ็นทรัลพลาซ่า นครราชสีมา  นาย วิเชียร จันทรโณทัย  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  นาย ชูเกียรติ สิงห์สูง นายกสมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย  ในพระบรมราชูปถัมภ์ ประธานกรรมการอำนวยการ จัดการแข่งขันกีฬาคนพิการทางการเคลื่อนไหวชิงแชมป์โลก 2020   นาย จุตินันท์ ภิรมย์ภักดี  ประธานกรรมการพาราลิมปิกแห่งประเทศไทย  นาย ชัชนาภ  ทองประกอบ ผู้อำนวยการฝ่ายพัฒนากีฬาเป็นเลิศ การกีฬาแห่งประเทศไทย  นาง ณฐอร อินทร์ดีศรี  ผู้เชี่ยวชาญด้านการส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิต     ได้ร่วมกันแถลงข่าวจัดการแข่งขันกีฬาคนพิการทางการเคลื่อนไหวชิงแชมป์โลก 2020   ซึ่งทางสมาคมกีฬาคนพิการแห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์  ร่วมกับจังหวัดนครราชสีมา  การกีฬาแห่งประเทศไทย  และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา  เป็นเจ้าภาพ

จัดการแข่งขันกีฬาคนพิการทางการเคลื่อนไหวชิงแชมป์โลก 2020  ( IWAS Word Games 2020 )  ระหว่างวันที่ 202 8 กุมภาพันธ์ 2563 จังหวัดนครราชสีมา   ดำเนินการแข่งขันจำนวน 11 ชนิดกีฬา ได้แก่ กรีฑา ว่ายน้ำ วีลแชร์เทนนิส จักรยาน ยิงปืน วีลแชร์ฟันดาบ ยกน้ำหนัก  แบดมินตัน เทเบิลเทนนิส วีลแชร์บาสเกตบอล และยิงธนู รวมรายการแข่งขันชิงเหรียทอง จำนวน 554 รายการ

สถานที่ใช้จัดการแข่งขันจำนวน 5 แห่ง ได้แก่ สนามกีฬาเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา 5 ธันวา 2550 การกีฬาแห่งประเทศไทย ภาค 3 จังหวัดนครราชสีมา (6 ชนิดกีฬา) ห้างเดอะมอลล์นครราชสีมา (2 ชนิดกีฬา) ห้างเทอร์มินอล 21 โคราช (1 ชนิดกีฬา) ห้างเซ็นทรัลพลาซ่านครราชสีมา (1 ชนิดกีฬา) และมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (1 ชนิดกีฬา) จำนวนนักกีฬาและเจ้าหน้าที่เข้าร่วมการแข่งขัน จำนวนประมาณ 1,143 คน จากสมาชิกทั่วโลก จำนวน 43 ประเทศ

โดยการแข่งขันครั้งนี้ ถือว่าเป็นครั้งที่ 7 ซึ่งปกติจะมีการแข่งชัน 2 ปีต่อครั้ง (ครั้งที่ 6 จัดที่เมือง ดูไบ ประเทศสหรัฐอาหรับเอมิเรต) พิธีเปิดการแข่งขันวันที่ 22 กุมภาพันธ์ 2563 และพิธีปิดการแข่งขันวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 เริ่มตรวจระดับความพิการ (Cassification) ตั้งแต่วันที่ 20 กมภาพันธ์ 2563 นักกีฬาและเจ้าหน้าที่เริ่มเดินทางเข้าที่พักตั้งแต่วันที่ 19 กุมภาพันธ์ 2563

ประโยชน์ที่ประเทศไทยจะได้รับ คือ ความภาคภูมิใจที่เป็นจุดรวมของคนพิการทางการเคลื่อนไหวทั่วโลกที่จะใช้เกมส์การแข่งขันกีฬาสร้างความแข็งแกร่ง และพลังในตัวเองออกมา แสดงให้เห็นถึงความสามารถที่จะอยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุขไม่ทำให้สังคมเดือดร้อนและเป็นภาระ สร้างแรงบันดาลใจ (nspiration) ให้แก่คนพิการทั่วไปให้ออกมาใช้กิจกรรมกีฬาในการสร้างความเชื่อมั่นจนกลายเป็นนักกีฬาหน้าใหม่เกิดขึ้นอย่างมากมาย การสร้างรายได้ในท้องถิ่นจนกลายเป็นกลไกในการส่งเสริมและสนับสนุนอุตสาหกรรมกีฬา (Sports ndustr) ได้แก่ การจับจ่ายใช้สอยจากผู้มาเยือนทั่วโลกทั้งด้านผลิตภัณฑ์ อาหาร ที่พัก และยานพาหนะ จนกลายเป็น “ธุรกิจกีฬา” (Sports Business) เกิดรายได้จากเวลาว่างในการฝึกซ้อมและหลังการแข่งขันในการไปทัศนศึกษา ท่องเที่ยว และยี่ยมชมสถานที่ต่าง ๆ ทั้งภายในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดอื่น ๆ กลายเป็น “กีฬาเพื่อการ ท่องเที่ยว” (Sports Tounism)

การจัดแข่งขั้นครั้งนี้ ก็ได้เลือกและให้โอกาสเมืองเจ้าภาพที่มีศักยภาพทางด้านกีฬา ไม่ว่าจะเป็นการสนับสนุน ส่งเสริม และการพัฒนาคนในเมืองให้รักการออกกำลังกายและเล่นกีฬา ตลอดจนการจัดกิจกรรมกีฬาในการสร้างรายได้ สร้างเศรษฐกิจภายในจังหวัดจนได้รับการเรียกขานว่า “เมืองกีฬา” (Sports City) และในการแข่งขันครั้งนี้ นักกีฬาทีมชาติไทยยังได้มีโอกาสใช้แข่งขันเพื่อสร้างอันดับโลก (Word Ranking) และคัดเลือกเพื่อได้สิทธิ์ (Qal) เข้าร่วมการแข่งชันพาราลิมปิกเกมส์ ครั้งที่ 16 ระหว่างวันที่ 25 สิงหาคม – 6 กันยายน 2563 ณ กรุงโตเกียว ประเทศญี่ปุ่นด้วย หรือที่เรียกว่า “Road To 16″ Paralympic Games Tokyo”

ทีมข่าว  มหาชน’นิวส์ ออนไลน์ รายงาน