ประชุมสภา อบจ.โคราชนัดสุดท้ายก่อนปิดสมัยประชุม นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.โคราช ในฐานะหัวหน้าฝ่ายบริหาร เข็นญัตติขอกันเงินโครงการต่างๆ ทั้งหมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้าง -วัสดุครุภัณฑ์กว่า 223โครงการ เม็ดเงินกว่า 547ล้านบาท ที่ต้องเอาไปพัฒนาในปี 2567 เพื่อไม่ให้งบประมาณตกไป ไม่รวมโครงการของ สปสช.ที่อุดหนุนโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ที่โอนมาสังกัด อบจ.จำนวนหลายล้านบาท  สมาชิกสภาตรวจสอบเข้มข้น เนื่องจากเกรงจะเกิดปัญหาหลังการลงมติเห็นชอบ “อดุลย์ อยู่ยืน” ส.อบจ.เมือง วิงวอนสภาฯผ่านไปยังฝ่ายบริหาร ให้เร่งทำโครงการที่เหลือให้แล้วเสร็จโดยเร็ว เพื่อผลประโยชน์ของประชาชนทั้ง 32 อำเภอ ชี้เหตุโครงการล่าช้า เป็นปัญหามาจาก “คน”

วันที่28กันยายน 2566 ที่สภาองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา(สำนักงานช่าง)ต.มะเริง อ.เมือง นครราชสีมา ได้จัดให้มีการประชุมสภาสมัยสามัญ สมัยที่ 2 ครั้งที่ 6 ประจำปี 2566 นัดสุดท้ายโดยมีนายรักชาติ กิริวัฒนศักดิ์ ทำหน้าที่ประธานสภาฯ มีหัวหน้าฝ่ายบริหารโดยการนำของนางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.โคราช พร้อมรองนายกฯ และสมาชิกสภาจำนวน 45 คน รวมทั้งข้าราชการ หัวส่วนงานต่างๆในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา โดย นายรักชาติกล่าวว่า ฝ่ายบริหารได้มีการแต่งตั้งนายพัฒฑิพงษ์ สิทธิเวชสวรรค์ เป็นรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมาแทนตำแหน่งที่แล้วตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน ที่ผ่านมา

จากนั้นประธานสภาแจ้งที่ประชุมต่อไปว่า จังหวัดนครราชสีมาได้พิจารณาเห็นชอบกับร่างข้อบัญญัตงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเติมประปี 2566 ฉบับที่ 2 จำนวน 213 ล้านบาท ท่านผู้ว่าราชการจังหวัดได้ประกาศใช้เป็นกฎหมายเรียบร้อยแล้ว นอกจากนั้น อบจ.โคราชยังได้มีการประกาศแผนการดำเนินงานเกี่ยวกับงบประมาณปี 2566แก้ไขครั้งที่10 และแผนพัฒนาเพิ่มเติมครั้งที่ 8 ซึ่งประกาศเมื่อวันที่ 5กันยายน 2566 รวมทั้งประกาศใช้แผนพัฒนา 5 ปี 2566-2570 ที่มีการเปลี่ยนแปลงครั้งที่ 7 พ.ศ.2566 ที่ประกาศเมื่อวันที่ 7กันยายน 2566

สำหรับวาระที่สำคัญคือการกันเงินโครงการต่างๆของโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพ ที่ย้ายเข้ามาสังกัด อบจ.โคราชทั้งหมด 182แห่ง แต่มีจำนวน 6 แห่ง ที่ยังอยู่ในระหว่างการดำเนินโครงการจึงมีความจำเป็นต้องใช้มติของสภาเพื่อกันเงินงบประมาณออกไปใช้จ่ายตามโครงการต่างๆในปีหน้า ตามระเบียบของกระทรวงมหาดไทยและกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งมีบัญชีโครงการที่จัดซื้อครุภัณฑ์ และบัญชีสิ่งปลูกสร้าง โดยบรรดาสมาชิกได้มีการตรวจทานรายละเอียดอย่างเข้มข้น เพื่อป้องกันไม่ให้มีการเกิดการผิดพลาด และมีปัญหาในอนาคตหลังจากมีการลงมติเห็นชอบ

นายเจษฎา พิทยาภรณ์ ส.อบจ.อำเภอด่านขุนทด เขต 1 ได้ลุกขึ้นสอบถามและทักท้วงรายการในบัญชีครุภัณฑ์ และสิ่งก่อสร้างรายการหนึ่ง ซึ่งมีรายละเอียดไม่ตรงกับที่ฝ่ายบริหารได้แจ้งมาในเอกสาร  บางส่วนมีการขาดหาย และขอตรวจสอบจากเพื่อนสมาชิกก็เป็นเหมือนกัน จึงขอถามไปยังประธานผ่านไปยังฝ่ายบริหารว่าข้อเท็จจริงคือย่างไร ทั้งนี้เพื่อความชัดเจน อย่างไรก็ตามฝ่ายบริหารก็ไม่สามารถที่จะหาคำตอบในทันที ต้องใช้เวลาในการค้นหา ขณะที่นายอดุลย์ อยู่ยืน ส.อบจ.อำเภอเมือง เขต2 ได้อภิปรายเกี่ยวกับการกันงบค่าเสื่อมบัญชีครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบล ว่าอ่านดูแล้วค่อนข้างสับสน และได้เสนอให้สภาพักการประชุม20นาที เพื่อให้ฝ่ายบริหารได้หาคำตอบมาชี้แจงกับสมาชิก ประธานสภาจึงสั่งพักการประชุม

ต่อมานายวีระชาติ ทุ่งไผ่แหลม รองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา ได้ชี้แจงว่า การดำเนินงานงบค่าเสื่อมบัญชีครุภัณฑ์และสิ่งก่อสร้างโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพประจำตำบลนั้น เกิดจากโครงการนี้ได้ดำเนินการก่อนที่จะถ่ายโอนมาสังกัด อบจ.โคราช โดยเป็นงานคั่งค้างมาหลายปี เมื่อเข้ามาสังกัด อบจ. จึงต้องมีการดำเนินการตามขั้นตอนใหม่ให้เป็นไปตามระเบียบ เริ่มตั้งแต่การเขียนแบบ การจัดตั้งงบประมาณ ให้เป็นไปตามราคากลางฯลฯ การนำเสนออาจดูสับสนแต่ก็สามารถทำความเข้าใจได้ ส่วนเรื่องของตัวเลขและรายละเอียดไม่ตรงกันก็มีสาเหตุมาจากการจัดพิมพ์เอกสารที่มีการตกหล่นไป  ต่อมาสมาชิกสภาได้ลงมติเห็นชอบอนุมัติในทุกญัตติที่ฝ่ายบริหารได้ร้องขอ

ที่ฮือฮาที่สุดก็คือญัตติ เรื่องขออนุมัติกันเงินกรณีก่อหนี้ผูกพัน ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2566 ซึ่งนายกมลศักดิ์ เกษเมธีการุณรองนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา เป็นผู้นำเสนอต่อที่ประโดยเป็นเงินงบประมาณที่จัดทำโครงการแล่งเป็นสองส่วน เป็นงบประมาณจัดซื้อครุภัณฑ์จำนวน 85โครงการ เงินงบประมาณ 155,182,230บาท ส่วนที่สองเป็นหมวดค่าที่ดินและสิ่งก่อสร้างจำนวน 138โครงการ เงินงบประมาณ392,061,206.92บาท รวม223โครงการ ยอดเงินงบประมาณรวมกันสูงถึง 547,243,436.92 บาท โดยขอกันเงินและโครงการทั้งหมดไปดำเนินการในปีงบประมาณ2567

นายอดุลย์ อยู่ยืน ส.อบจ.อำเภอเมือง เขต 2 งบประมาณทั้งสองส่วน ตนได้มีการร้องขอต่อฝ่ายบริหารเพื่อตรวจสอบดูโครงการและงบประมาณต่างๆที่ต้องมากันเงินในวันนี้ ซึ่งก็ได้รับความกรุณาต่อท่านนายก อบจ.ได้ให้ดูทั้งหมด ซึ่งก็ได้ดูถึงรายละเอียดของระยะเวลาการดำเนินโครงการตลอดปีที่ผ่านมาทั้งหมดว่ามีปัญหาติดขัดอย่างไร ที่ต้องทำให้เกิดความล่าช้าจนต้องมีการกันเงินงบประมาณที่ตกค้างข้ามปี โดยนายอดุลย์ได้อภิปรายเสนอแนะพร้อมจัดทำรายละเอียดเปรียบเทียมปีต่อปี แบบสถิติเป็นตัวเลขเป็นพารากราฟ ให้เพื่อนสมาชิกในสภาได้ดูติดตามไปด้วยความสนใจยิ่ง

โดยสรุปนายอดุลย์กล่าวว่า รู้สึกเห็นใจนายกที่ตั้งใจจริงในการทำงานเพื่อพัฒนาโคราช เปรียบไปแล้วก็เหมือนหัวหน้าฝีพายในการแข่งเรือ หากได้ลูกทีมที่ไม่ตั้งใจขยันขันแข็งช่วยกันจ้ำช่วยกันพาย งานที่จะสำเร็จสู่เป้าหมายคงเป็นไปได้ยาก หากไม่มีการแก้ปัญหาเจ้าหน้าที่และคนทำงาน ซึ่งถ้าหากไม่เพียงพอก็ควรจะเพิ่มเติมให้เต็ม ในเมื่อคนพร้อม เงินงบประมาณพร้อม ก็ไม่น่าจะมีปัญหาต้องล่าช้า จึงอยากวอนให้สภาผ่านไปยังฝ่ายบริหารคือนายกขอให้รีบเร่งดำเนินการโครงการต่างๆที่ตกค้างให้แล้วเสร็จในปี 2567เพื่อผลประโยชน์ของคนโคราชทั้ง 32 อำเภอ

นางยลดา หวังศุภกิจโกศล นายก อบจ.โคราช กล่าวว่า ต้องขอบคุณสมาชิกที่เอาใจใส่กับงบประมาณและโครงการต่างๆตลอดปีงบประมาณที่ผ่านมา  ฝ่ายบริหารก็ได้พยายามอย่างเต็มที่ในการแก้ไขปัญหาโครงการและงบประมาณตกค้าง ถ้าจะดูกันตามตัวเลขและข้อเท็จจริงแล้วจะเห็นได้ว่า มีปริมาณการตกค้างลดลงกว่าปีและสมัยที่ผ่านๆมาเป็นอย่างมาก อย่างไรก็ตามต้องขอขอบคุณสมาชิกที่อภิปรายเสนอแนะ ถือว่ามีประโยชน์เป็นอย่างที่จะรับไปรีบเร่งดำเนินการจนไม่มีการตกค้างในอนาคต จากนั้นสมาชิกได้ยกมือลงมติเห็นกับการกันเงินงบประมาณและโครงการทั้งหมดที่ร้องขอ

สำนักข่าว MC.news รายงานจากจังหวัดนครราชสีมา