นายชูศักดิ์ ชุนเกาะ รองผวจ.โคราช (แฟ้มภาพ)
พื้นที่โฆษณา

เปิดเมืองเพื่อรับการท่องเที่ยวเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจ ยังมีความเสี่ยง เหมือนเป็นการผจญภัยกับเชื้อโรคร้าย โชคดีก็ปลอดภัย โชคร้ายก็ติดเชื้อมาสู่คนในครอบครัว ทำให้ผู้แก่ผู้เฒ่าต้องได้รับความทุกข์ทรมาน จนอาจทำให้เกิดการสูญเสีย“กรมควบคุมโรค”ได้แสดงความเป็นห่วงถึงยอดการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้น! ยังต่ำกว่าเป้าหมาย ร้อยละ 60 ทยอยส่งวัคซีนเติมคลังแต่ละจังหวัด แต่จังหวัดนครราชสีมาลุยฉีดเข็มกระตุ้นได้แค่ 30.83 % ที่ยังต่ำกว่าเป้าต้องให้ได้ 50-60% เพราะมีสถานบันเทิงบางแห่งไม่ปฎิบัติตามเงื่นไขตามที่ให้สัญญากับทางราชการ ตามเงื่อนไขที่แพลตฟอร์ม Thai Stop COVID 2Pl ได้กำหนด  มีการเปิดเกินเวลา แถมพนักงานฉีดวัคซีนไม่ครบเข็ม จึงถิอเป็นเรื่องอันตรายที่อาจระบาดซ้ำอย่างรุนแรงได้

พื้นที่โฆษณา

 โดยนายแพทย์วิชาญ ปาวัน ผู้อำนวยการโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค กล่าวถึงมีผู้เป็นห่วงเรื่องการกระจายวัคซีนโควิด 19 ไปยังโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) จะทำให้มีปัญหาวัคซีนล้นตู้เก็บในคลังโรงพยาบาลว่า การเปลี่ยนผ่านโรคโควิด 19 ไปสู่โรคประจำถิ่น หนึ่งในมาตรการที่สำคัญ คือ การให้วัคซีนทั้งเข็มปกติและเข็มกระตุ้นให้ครอบคลุมประชาชนทุกกลุ่ม (Universal Vaccination) โดยแต่ละจังหวัดต้องมีความครอบคลุมการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นไม่น้อยกว่า ร้อยละ 60 แต่จากข้อมูล ณ สิ้นเดือนพฤษภาคม 2565 มีความครอบคลุมเข็มกระตุ้นเพียงร้อยละ 41 โดยผู้ที่ครบกำหนดฉีดเข็มกระตุ้นมารับการฉีดประมาณครึ่งหนึ่งเท่านั้น คาดว่ามีผู้ที่ครบกำหนดฉีดเข็มกระตุ้น และรอรับการฉีดเข็มกระตุ้น อีกประมาณ 16 ล้านคน

พื้นที่โฆษณา
(แฟ้มภาพ)

 กระทรวงสาธารณสุขจึงมีนโยบายส่งวัคซีนโควิด 19 ทั้งซิโนแวค แอสตร้าเซนเนก้า และไฟเซอร์ ไปยัง รพ.สต. ซึ่งเป็นหน่วยบริการที่ใกล้บ้าน และให้บริการแบบ walk in ทุกจุดฉีด เพื่อให้สะดวกในการนำผู้สูงอายุ และผู้ที่มีภาวะพึ่งพิงไปฉีดวัคซีนใกล้บ้าน พร้อมทั้งเร่งสื่อสาร เชิญชวนให้มารับวัคซีนเข็มกระตุ้น รวมถึงเด็กอายุตั้งแต่ 6 ปีขึ้นไปด้วย โดยวัคซีนจำนวน 16.7 ล้านโดส สำหรับ รพ.สต. จะทยอยส่งเป็นรอบๆ ไปที่คลังวัคซีน เพียงแห่งเดียวในแต่ละจังหวัด ซึ่งอาจเป็นโรงพยาบาลประจำจังหวัดหรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด และมีการประสานตรวจสอบวัคซีนคงคลังกับแต่ละจังหวัดก่อนส่งเสมอ ส่วนการกระจายวัคซีนไปที่ รพ.สต. สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดจะจัดส่งตามศักยภาพการฉีดและความจุของตู้เย็นแต่ละ รพ.สต. จึงไม่มีปัญหาเรื่องวัคซีนจะล้นตู้เย็นอย่างที่เป็นข่าว

พื้นที่โฆษณา

สำหรับสถานการณ์การติดเชื้อในวันนี้คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด และ คณะอนุกรรมการป้องกันตอบโต้โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) ได้แถลงถึงสถานการณ์การระบาดของเชื้อโควิด-19 สายพันธ์ “โอมิครอน” ในพื้นที่ จ.นครราชสีมา ในวันที่  4 มิถุนายน พ.ศ. 2565 ติดเชื้อในพื้นที่ชุมชนจากการตรวจ   PCR + 35 ราย ราย และยังมีผลตรวจ ATK +618 ราย  รวม653 ราย แยกเป็นผู้ป่วยอาการสีเหลืองจำนวน  4 ราย และมีผู้ป่วยอาการสีเขียวจำนวน 649  ราย และ มีผู้ป่วยเสียชีวิตจำนวน 2 รายจากสถานการณ์นี้ทำให้ จ.นครราชสีมา มีผู้ติดเชื้อสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 รวม  179,877 ราย รักษาอยู่ 12,164 ราย รักษาหายสะสม 167,446 ราย เสียชีวิตสะสม 283 ราย รวมมีการเสียชีวิตตั้งแต่มีการระบาดทำให้ชาวโคราชเสียชีวิตไปแล้ว 562 ราย อย่างไรก็ตามในวันนี้ไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต

รายงานได้แบ่งผู้ป่วยติดเชื้อตามรายอำเภอ จากผลตรวจ PCR และ ATKที่มีผลเป็นบวกพบว่าวันนี้  อ.เมือง  มีผู้ป่วยติดเชื้อสูงสุดจำนวน 100 ราย รองลงไปเป็น อ.ด่านขุนทด 93 ราย ถัดไปเป็น อ.ปักธงชัย 54 ราย, อ.ปักธงชัย 50 ราย, อ.ครบุรี 39 ราย, อ.ลำทะเมนชัย 36 ราย, อ.จักราช 34 ราย, อ.ห้วยแถลง 34 ราย, อ.เมืองยาง 26 ราย, อ.สีคิ้ว 19 1ราย, อ.บ้านเหลื่อม 19 ราย, อ.ขามทะเลสอ 15 ราย, อ.สีดา 15 ราย, อ.บัวใหญ่ 14 ราย, อ.โนนแดพง 14 ราย, อ.สูงเนิน 14 ราย, อ.วังน้ำเขียว 13 ราย, อ.แก้งสนามนาง 11 ราย, อ.ขามสะแกแสง 10 ราย, อ.บัวลาย 9 ราย ,อ. โนนสูง 9 ราย, อ.โชคชัย 6 ราย , อ.เฉลิมพระเกียรติ 6 ราย, อ.ปากช่อง 4 ราย, อ.พระทองคำ 4 ราย, อ.ชุมพวง 3 ราย, อ.พิมาย 1 ราย และ อ.เสิงสาง 1 ราย

 ทีมข่าว MC.news.com รายงานจากจังหวัดนครราชสีมา