พื้นที่โฆษณา

วันที่ 27 พฤษภาคม 2565 เวลา 15 00 น.พระสีหราชสมาจารย์มุนี รองเจ้าคณะจังหวัดนครราชสีมา ได้ประธานพิธีเจิมเปิดเนตร หัวหมื่นพระอนุวัฒน์ราชนิยม”เทพเจ้าโชคลาภแห่งสยาม ยี่กอฮง” ประจำพิพิธภัณฑ์ยี่กอฮงโคราช ณ อุทธยานพ่อปู่เจ้ายี่กอฮง  ณ.สำนักพิธภัณฑ์เลขที่  888 อุทยานยี่กอฮง ตำบลชัยมงคล อำเภอเมืองจังหวัดนครราชสีมา โดยมีพระเกจิอาทิครูบากฤษณะ อินทวัณโณ อาศรมสวนพุทธศาสตร์บ้านโตนด ,หลวงตาแป๊ะ วัดสว่างอารมณ์,หลวงปู่อุดมทรัพย์ วัดเวฬุวันธรรมวิหาร, พระครูปลัดภูมิปัญญา ญาณสัมปันโน วัดป่าแสงธรรมพรหมรังษี ,หลวงปู่บุญหลาย วัดโนนทรายทอง,หลวงปู่โชค สำนักสงฆ์หลวงปู่โชค พร้อมคณะสงฆ์ พุทธาเทวาภิเษก นับเป็นพิธีมหามงคลที่ยิ่งใหญ่

พื้นที่โฆษณา

พร้อมกันนี้นายวิเชียร จันทรโณทัย  ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา  เป็นประธานพิธีฝ่ายฆราวาส ร่วมอากงศักดิ์ชายพร้อมทายาทสกุลเตชะวณิช คณะศิษย์ยานุศิษย์สายต่างประเทศจากจีนมาเลเซียและไต้หวันและคนไทย ที่เคารพและศรัทธาในพ่อปู่เจ้ายี่กอฮง จำนวนมาก ที่ได้ร่วมประกอบพิธีเบิกเนตรองค์พ่อปู่ประดิษฐาน ณ พิพิธภัณฑ์  นอกจากนั้นในพิธีมหามงคลนี้ ได้มีการปลุกเสกข้าวสารจำนวน 25 ตัน เพื่อนำไปแจกให้กับประชาชนด้อยโอกาสและยากไร้ ในพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา โดยคณะกรรมการเหล่ากาชาดจังหวัดนครราชสีมา ,หน่วยงานองค์กรต่างๆ ร่วมเป็นตัวแทนรับข้าวสารและ ร่วมพิธีในโอกาสนี้

พื้นที่โฆษณา

สำหรับประวัติของ”ยี่กอฮง”นั้นเกิดในประเทศจีน เป็นชาวจีนแต้จิ๋ว ในมณฑลกวางตุ้ง ใน พ.ศ. 2392 บิดาชื่อนายแต้ซีแซ กับนางเซียะ เมื่ออายุ 16 ปี ได้เดินทางเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภารของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โดยได้เข้าทำงานเป็นเสมียนโรงบ่อนของพระยาภักดีภัทรากร (เล่ากี้ปิง) และตั้งปณิธานว่าจะประกอบอาชีพค้าขายในสยามตลอดชีวิต โดยตั้งหลักฐานอยู่ในพระนคร เปิดร้านค้าขายผ้าอยู่ที่หัวมุมสี่กั๊กพระยาศรี ด้านถนนบำรุงเมือง

ต่อมาได้ขยายกิจการค้าไปหลายจังหวัด เช่น กำแพงเพชร ตาก และเชียงใหม่ในช่วงรัชสมัยรัชกาลที่ ๖ ท่านประกอบอาชีพค้าขายจนสร้างโรงสีข้าว ประกอบธุรกิจส่งออก จนมีฐานะมั่นคง ตามประวัติเล่าไว้ว่า ท่านยี่กอฮง ได้มาปลูกบ้านอยู่ที่ย่านพลับพลาไชย หน้าวัดคณิกาผล ท่านยี่กอฮง ได้ประกอบกิจการค้าหลายอย่าง แต่ที่ได้สร้างฐานะให้ท่านจนรุ่งเรืองก็คือ การเป็นเจ้าภาษีโรงต้มกลั่นสุรา โรงบ่อนเบี้ย โรงหวย กอขอ

ต่อมาเมื่อมีการออกพระราชบัญญัติเลิกอากรบ่อนเบี้ย และหวย กอขอ ท่านจึงได้หันไปประกอบกิจการค้าอื่น ๆ ด้วยสำนึกในพระมหากรุณาธิคุณ ท่านจึงมีความคิดที่จะช่วยเหลือประเทศชาติ ยี่กอฮงท่านได้มีส่วนในการบริจาคทรัพย์สินและได้สร้างสาธารณประโยชน์ไว้อย่างมากมาย เช่น ถนน, สะพานฮงอุทิศ สะพานนิยมนฤนาถ สะพานอนุวัตน์วโรดม, โรงเรียนวัดสะพานสูง (โรงเรียนโยธินบูรณะ), โรงเรียนป้วยเองหรือโรงเรียนเผยอิง เมื่อ พ.ศ. 2463, ศาลเจ้าเก่าถนนทรงวาด, ศาลเจ้าไต้ฮงกง, ก่อสร้างท่าน้ำฮั่วเซี้ยม, ริเริ่มก่อตั้งโรงพยาบาลเทียนฟ้า เป็นต้น

 ท่านเป็นผู้ริเริ่มก่อตั้งมูลนิธิป่อเต็กตึงขึ้น โดยชักชวนเหล่าพรรคพวกเพื่อนฝูงในสมัยนั้น มาร่วมกันสร้างมูลนิธิช่วยเหลือผู้ยากไร้ตกทุกข์ได้ยากและสนับสนุนทุนการศึกษาให้แก่เด็กที่เรียนดีแต่ยากไร้ อีกทั้งยังเป็นผู้มีส่วนในการรณรงค์หาเงินเข้าสภากาชาดไทยอย่างมากมาย รวมถึงได้บริจาคเงิน 10,000 บาทในการก่อสร้างโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โดยได้เป็นสมาชิกกิตติมศักดิ์หมายเลข 9 พร้อมทั้งยังเป็นผู้ชักชวนเพื่อนฝูงคหบดีรวบรวมกันบริจาคเงินซื้อ “เรือรบหลวง พระร่วง”ถวายแด่พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เพื่อเข้าประจำการในกิจการป้องกันประเทศชาติของกองทัพเรือโดยท่านนำร่องบริจาคทรัพย์เป็นเงิน 10,000.00 บาท รวมถึงการส่งเงินไปช่วยสร้างเขื่อนที่ประเทศจีน ทำให้ชาวจีนรอดชีวิตจากน้ำท่วมทุกปีเป็นจำนวนมาก

ทีมข่าว MC.news.com รายงานจากจังหวัดนครราชสีมา

(เรื่องที่เกี่ยวข้อง)

พระอนุวัฒน์ราชนิยม (ฮงเตชะวณิช)https://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9E%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B8%AD%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A7%E0%B8%B1%E0%B8%92%E0%B8%99%E0%B9%8C%E0%B8%A3%E0%B8%B2%E0%B8%8A%E0%B8%99%E0%B8%B4%E0%B8%A2%E0%B8%A1_(%E0%B8%AE%E0%B8%87_%E0%B9%80%E0%B8%95%E0%B8%8A%E0%B8%B0%E0%B8%A7%E0%B8%93%E0%B8%B4%E0%B8%8A)